21 ก.ย. 2020 เวลา 05:30 • สิ่งแวดล้อม
ตึกสูงระฟ้าที่มีกระจกนับร้อยนับพันบานที่ส่วนใหญ่มักจะมีการเคลือบผิวสะท้อนแสงไว้ จะดีกว่าไหม หากสามารถกักเก็บพลังงานจากแสงนั้น มาให้หมุนเวียนใช้ในอาคารได้ ดีกว่าการทิ้งพลังงานไปเฉยๆ
นี่คือความท้าทายครั้งสำคัญของนักวิทยาศาสตร์จาก UbiQD ที่ได้พยายามทำให้หน้าต่างธรรมดาๆ ให้กลายเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญด้วยหน้าต่างโซล่าเซลล์แบบโปร่งใสโดยใช้เทคโนโลยี Quantum Dots ที่มีอยู่ในจอภาพต่างๆ
แผงโซล่าเซลล์โปร่งใสนี้เกิดจากกระจกลามิเนตสองชั้นติดกาว พร้อมกับแผง Quantum Dots ที่อยู่ตรงกลางเพื่อใช้ดูดซับแสงแดดแล้วกักเก็บพลังงานไว้ จากนั้นจึงจะถูกส่งต่อไปแปลงเป็นกระแสไฟฟ้า
เทคโนโลยีนี้ใช้ชื่อว่าไมโครกริด (Localized DC Power) เพื่อให้เหมาะสำหรับอาคารทั่วไป ไม่รบกวนโครงสร้างที่มีอยู่เดิม
หน้าต่างสามารถรองรับเซ็นเซอร์และอุปกรณ์กลไกที่ช่วยรักษาสภาพแวดล้อมภายในอาคาร ยิ่งไปกว่านั้นสีของหน้าต่างสามารถแตกต่างกันได้ โดยการย้อมรวม Quantum Dots ที่มีสีต่างกัน และในอนาคต อาจสามารถปรับแต่งความโปร่งใสของกระจกได้
ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา UbiQD ได้ร่วมมือกับ nanosys เพื่อพัฒนาฟิล์มเรือนกระจกเรืองแสงสำหรับต้นไม้ "UbiGro" โดยการเปลี่ยนให้แสงแดดสามารถเรืองแสงสีส้มได้เพื่อสร้างสเปกตรัมแสงที่เหมาะสมสำหรับพืชที่ต้องการ
โฆษณา