22 ก.ย. 2020 เวลา 11:00 • ไลฟ์สไตล์
ตอนนี้เราคงได้ยินข่าวสารในประเทศจากหลากหลายแวดวงที่ค่อนข้างมีความตึงเครียดอยู่ไม่น้อย
วันนี้เราเลยมาพร้อมกับกฎข้อที่ 6 ในการหยุดวิตกก่อนที่ความกังวลจะกระทบต่อชีวิตคุณ
จงอย่ากังวลกับอดีตที่ผ่านไปแล้ว
กฎข้อที่ 6 “อย่ากังวลกับอดีต”
ไม่ว่าใครก็ต้องเคยมีอดีตที่ดีและเลวร้าย ไม่ว่าจะเป็น การสูญเสียคนรัก การประสบความสำเร็จหรือความล้มเหลวก็ตาม ซึ่งความกังวลเหล่านี้ทำให้คุณอาจจะยึดติดและจมอยู่กับอดีต บางคนอาจจะยังยึดติดกับอดีตที่สวยงามที่วันนี้อาจจะไม่มีสิ่งนั้นแล้ว หรือ บางคนก็ฝังใจกับความล้มเหลวในอดีตจนไม่สามารถก้าวข้ามผ่านอดีตเหล่านั้นไปได้ สิ่งเหล่านั้นนำไปสู่ “ความกังวลกับอดีต” ความกังวลกับอดีตเหล่านั้นเกิดขึ้นเพราะคุณอาจจะพยายามหลีกหนีความจริง กลัวว่าจะทำไม่ได้ หรือ กลัวการสูญเสีย เพราะฉะนั้นการรับมือและการจัดการความกังวลจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับทุกคน
.
ความกังวลกับอดีตนั้นเป็นเป็นความกังวลที่ไล่ล่าคุณ ธรรมชาติของคนเรานั้นมีทั้งสุขและทุกข์ปะปนกันไป แต่สิ่งที่อัศจรรย์นั้นคือความทุกข์นั้นฝังใจมากกว่าและมันยังสามารถกัดกินความสุขได้ ความทุกข์ของคนเรานั้นเกิดจากการคิดถึงและไม่ปล่อยวางกับอดีตที่เกิดขึ้น ซึ่งนำมาสู่การย้ำคิดย้ำทำที่ทำให้คุณไม่ก้าวผ่านอดีตที่เลวร้ายไปเพื่อไปสู่อนาคตที่สดใสและงดงามกว่า
.
การจัดการกับความกังวลจากอดีตสามารถจัดการได้โดยสังเกตจาก 3 ข้อ ดังนี้
1. ความรู้สึก
การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยการเก็บความรู้สึกส่วนตัวเอาไว้ไม่บอกใครเป็นวิธีที่ทำได้แต่ไม่ควรบ่อยเพราะการเก็บความรู้สึกเอาไว้คนเดียวทำให้เราแบกความกังวลและความกดดันเอาไว้คนเดียว สุดท้ายแล้วถ้าคุณไม่ได้ระบายมันออกมาอาจจะทำให้เกิดการระเบิดอารมณ์ที่รุนแรงออกมาหรือภาวะซึมเศร้าได้ เพราะฉะนั้นเราควรรู้สภาพอารมณ์ตามจริงของเรา เช่น วันนี้โกรธเพื่อนร่วมงานก็คือโกรธ แต่เราต้องยอมรับมันว่าเป็นธรรมชาติและต้องอยู่ในอารมณ์เช่นนี้ได้บ้าง เมื่อเราเข้าใจอารมณ์ของตนเองแล้วเราก็จะมีสติมากขึ้น
2. ความคิด
ธรรมชาติของคนเรานั้นความกังวลเกิดขึ้นเพราะกลัวในความไม่แน่นอน มนุษย์เราจึงกังวลในความทุกข์ที่ว่าในอนาคตเราจะประสบความสำเร็จเหมือนในอดีตหรือไม่ หรือ เราอาจจะล้มเหลวซ้ำเหมือนในอดีตก็เป็นได้ การนึกกังวลถึงเรื่องเก่าๆในอดีตเป็นเวลานานนั้นจะส่งผลเสียต่อทั้งร่ายกายและจิตใจ ดังนั้นเราจึงต้องเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับความกังวลกับอดีตและหยุดยั้งความทุกข์เหล่านั้นให้ได้เพราะความกังวลจะส่งผลเสียต่อชีวิตของคุณ คุณสามารถรับมือกับสิ่งเหล่านี้โดยการไม่เก็บไว้คนเดียว การระบายออกมากับเพื่อนหรือคนที่รู้ใจเราสามารถช่วยให้คุณคลายกังวลและก้าวผ่านความทุกข์ไปได้ การคิดแบบกลางๆ ไม่บวกไม่ลบเกิดไป สิ่งที่สำคัญที่สุดคือเราต้องมีสติไม่คิดฟุ้งซ้านเกินความจริง การคิดมากเกินไปจะทำให้เรายังยึดติดกับอดีต การคิดเชิงบวกจึงช่วยเราคลาบกังวลกับอดีต
3. พฤติกรรม
คุณเคยไหมที่ใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปีเพื่อทำใจลืม หรือ ยอมรับความจริงอะไรบางอย่างเป็นเดือนหรือเป็นปี การปรับพฤติกรรมจึงเป็นวิธีที่ดีที่จะช่วยให้คุณ พฤติกรรมและกิจวัตรประจำวันของตัวคุณนั้นมีผลต่อความคิดของตัวคุณเองมาก เช่น คุณอาจจะเคยมีความเครียดและกังวลเมื่อนั่งเฝ้าความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นบนหน้าจอโทรศัพท์มือถือ ว่าวันนี้หุ้นจะขึ้นหรือลง คุณสามารถคลายความกังวลนี้ได้โดยการเปลี่ยนกิจกรรมที่คุณทำซ้ำๆในแต่ละวัน เช่น ออกไปสังสรรค์กับเพื่อนฝูงบ้าง หรือ หากิจกรรมใหม่ๆทำเพื่อลดความกังวล
.
#HowtoStopWorryingandStartLiving
#DaleCarnegie #DaleCarnegieTH
โฆษณา