Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ยิปซี สำนักพิมพ์
•
ติดตาม
27 ก.ย. 2020 เวลา 01:30 • ประวัติศาสตร์
ทำไมชาวไอริชถึงถูกมองว่า 'ขี้เมา'
'ใบโคลเวอร์' (leaf clover)
'เซนต์แพทริค' (Saint Patrick)
'เลปริคอน' (Lepricon)
สามสิ่งนี้คือภาพที่เรามักนึกถึงประเทศไอร์แลนด์
แต่อีกภาพพจน์ของชาวไอริชที่มักถูกล้อเลียนกันบ่อยคือ ‘นักดื่ม’ หรือ ‘ขี้เมา’
แม้ปัจจุบันอาจถูกยกไปเล่นเป็นเรื่องตลกบ่อยครั้ง แต่จุดกำเนิดของภาพลักษณ์เช่นนี้กลับแฝงไปด้วยความร้ายกาจของสังคมแองโกลแซ็กซัน (กลุ่มชนเชื้อสายอังกฤษ) ในศตวรรษที่ 19 ซึ่งมองชนกลุ่มอื่นว่าต่ำต้อยกว่าตน
หากจะพูดจริงๆ แล้ว ภาพเหมารวม (Stereotype) ของชาวไอริชขี้เมานี้เป็น
วาทกรรมทำนอง ‘โง่-จน-เจ็บ’ ที่แสดงถึงมุมมองของชาวแองโกล-อเมริกันหรือ
ชาวอังกฤษที่ร่ำรวยต่อชนชั้นแรงงานชาวไอริช
ย้อนกลับไปช่วงยุค 1840 เป็นสมัยที่ไอร์แลนด์เกิดทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ (Irish Potato Famine) หลังมันฝรั่งที่ปลูกกันเป็นหลักต้องถูกทำลายโดยเชื้อรา มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนั้นนับล้าน โดยที่ทางการอังกฤษกลับจัดการปัญหาอย่างเชื่องช้า
ผู้คนจำนวนมากจึงเลือกจะบากหน้าไปยังสหรัฐอเมริกาเพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ แต่การ
จะเดินทางไปนั้นต้องใช้ต้นทุนพอสมควร ชาวไอริชจึงต้องยอมทำสัญญากับนายหน้าแลกกับการเป็นแรงงานชดใช้หนี้ (Indentured servitude) แถมอคติต่อ
ชาวคาทอลิกในสหรัฐอเมริกาก็ยังรุนแรง พวกเขาถูกมองว่าเป็นคนต่างชาติอันตรายที่จะนำศาสนาใหม่มาครอบงำอเมริกา
ใบประกาศรับจ้างสมัครงานมักจะมีข้อความว่า “พวกไอริชไม่ต้องมาสมัคร” (No Irish need apply) คนที่ชดใช้หนี้หมดจึงไม่เหลือทางเลือกมากนักนอกจากไปเป็นแรงงานหรือยอมถูกกดค่าแรง ด้วยเหตุนี้ชาวไอริชจึงไม่อาจตั้งตัวได้ง่ายในโลกใหม่
ที่เต็มไปด้วยชนแองโกลแนวคิดเดิมๆ
แต่เหตุผลที่ภาพลักษณ์ 'ติดเหล้า' มักพ่วงไปกับชาวไอริชยังเป็นที่ถกเถียงกัน
บางแหล่งกล่าวว่ากฎหมายอังกฤษและอเมริกาบางแห่งยังทำให้ผู้มึนเมาในที่
สาธารณะยามค่ำคืนมีความผิด ชาวไอริชที่ไปดื่มย้อมใจตอนค่ำคืนหลังตรากตรำ
มาทั้งวันจึงมักโดนจับ แม้ชาวอังกฤษหรือแองโกลอเมริกันโดนจับเหมือนกัน แต่พวกเขามีฐานะมากกว่า จึงสามารถหาทางเลี่ยงได้ดีกว่า
ในขณะที่ชาวไอริชนั้นไม่มีเงินมากพอไถ่ตัวเองได้ จึงต้องโดนจับบ่อยครั้ง และด้วย
ความที่คนเมามักจะมีโอกาสทะเลาะวิวาทกันบ่อยกว่า ยิ่งเป็นชาวไอริชที่ไปนั่งดื่ม
ร้านเดียวกับคนเชื้อสายแองโกลก็คงไม่แปลกใจที่เวลาเมาต้องมีการปะทะกันบ้าง
ตรงจุดนี้เองที่อาจเป็นต้นกำเนิดของอีกภาพลักษณ์ ‘ชอบต่อยตี’ จนเกิดคำพูดต่อๆ
กันว่าพวกไอริชมักเมาเหล้าชกต่อยกันจนถูกตำรวจจับบ่อยครั้ง
ชาวแองโกลอเมริกันจึงเกิดวาทกรรมดูถูกดูแคลนว่า เหตุผลที่ผู้อพยพชาวไอริชยัง
ยากจนอยู่ เพราะพวกเขาเอาแต่ติดเหล้า ทั้งๆ ที่สังคมอเมริกันในยุคนั้นเองปิด
โอกาสไม่ให้ชาวไอริชได้เงยหน้าอ้าปากเพียงเพราะพวกเขานับถือศาสนาคนละ
นิกาย
แนวคิดเรื่องชนแองโกลแซ็กซันผู้เหนือกว่าชาวไอริชที่เป็นเผ่าพันธุ์ด้อยกว่าที่กำเนิดมาจากอังกฤษก็มีผลเช่นกัน ภาพวาดล้อเลียนยุคเดียวกันจากทั้งอเมริกาและอังกฤษมักวาดภาพชาวไอริชให้ดูเหมือนมนุษย์วานร ขณะที่ชาวแองโกลแซ็กซันกลับดู
สง่างาม
แม้จะมีส่วนจริงที่ชาวไอริชชื่นชอบเบียร์เป็นชีวิตจิตใจ แต่การกล่าวว่าพวกเขา
‘ขี้เหล้า’ คงจะไม่แฟร์นัก
งานวิจัยจากไอร์แลนด์ในยุค 1970 ของนักสังคมศาสตร์ จอยซ์ ฟิทซ์แพทริค (Joyce Fitzpatrick) แห่งมหาวิทยาลัยคอลเลจดับลิน (UCD) กลับตีพิมพ์งานวิจัยสะเทือน
สังคมว่า โดยเฉลี่ยชาวไอริชในไอร์แลนด์นั้นดื่มแอลกอฮอล์น้อยกว่าชาวอังกฤษที
เป็นต้นกำเนิดความเชื่อเหมารวมนี้เสียอีก งานศึกษาหลายชิ้นหลังจากนั้นก็เห็นพ้องกับข้อสรุปของฟิทซ์แพทริคเช่นเดียวกัน
หากเทียบผลสำรวจของ WHO จากปี 2004 เรื่องปริมาณการบริโภคเอธิล
แอลกอฮอล์เพียวๆ โดยผู้คนในแต่ละประเทศ กลับพบว่าไอร์แลนด์ติดอันดับ 2 เรื่องการดื่มเบียร์ด้วยปริมาณ 9.24 ลิตรต่อคน เป็นรองจากเช็คโกสโลวาเกียที่ดื่มใน
ปริมาณ 9.43 ลิตรต่อคน แถมยังนำหน้าเยอรมนีที่ขึ้นชื่อว่าเป็นเจ้าแห่งเบียร์ แต่เมื่อพิจารณาการจัดอันดับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทอื่นๆ อย่างไวน์ หรือ สุรา
ประเทศไอร์แลนด์กลับไม่ติด 20 อันดับแรกด้วยซ้ำ
ภาพลักษณ์เหมารวมว่าชาวไอริชขี้เมาเช่นนี้ จึงเป็นผลมาจากวัฒนธรรมชนชั้น
ปกครองที่กดขี่ชนกลุ่มหนึ่งจนขาดโอกาส วาทกรรมดังกล่าวจึงเป็นเพียงเครื่อง
มือของกลุ่มคนที่ก่อปัญหาเชิงโครงสร้างแล้วโยนความผิดให้เหยื่อของสังคมแทน.
เรื่อง อันโตนิโอ โฉมชา
ภาพประกอบ ชุติมณฑน์ ปทาน
6 บันทึก
15
4
6
15
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย