22 ก.ย. 2020 เวลา 11:03 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Shutdown กับ Restart คอมพิวเตอร์ต่างกันยังไง ?
แบบไหนจะดีกว่ากัน ?
ต้องบอกว่า นี้เป็นคำถามที่เราสงสัยมานานแล้ว (จากใจคนที่ไม่ได้เชี่ยวชาญด้าน IT)
เช่น ทำไมเวลากด Restart คอมพิวเตอร์ ถึงได้เปิดใหม่นานจัง ?
ทำไม Shutdown คอม แล้วเปิดใหม่ ถึงเร็วกว่า ?
แบบนี้ถ้ากรณีที่มี Software update ต่างๆแล้วเค้าต้องการให้ Restart... เราสามารถเลือกที่จะ Shutdown ปิด-เปิดใหม่แทนได้ไหม ? จะได้ประหยัดเวลาไป.....
เราก็เลยไปหาคำตอบมาย่อยสั้นๆให้กับเพื่อนๆอ่าน เผื่อเพื่อนๆบางคนอาจมีคำถามเหมือนกับเรา
ปล. ความแตกต่างในที่นี้เราจะพูดถึงผู้ใชงานของระบบปฏิบัติการ Microsoft Window น้าาา เพราะว่าสำหรับ Mac แล้ว 2 ฟังชั่นนี้ไม่ได้แตกต่างกัน
สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันของ การ Shutdown และ Restart
- การที่ระบบคอมพิวเตอร์ต้องทำการ ออกจากสิ่งที่ทำอยู่ และ ปิดโปรแกรมทั้งหมด ก่อนที่จะเริ่มขั้นตอนใน 2 แบบนี้ได้
การ Shutdown
ทำไมถึงได้เปิดคอมใช้งานได้เร็วกว่า Restart นะ?
- ในเรื่องของการ Shutdown จะทำให้เปิดคอมพิวเตอร์ได้เร็วกว่าเนี่ย ก็เป็นเพราะ Microsoft ได้มีการเพิ่มฟังชั่นใหม่ที่เรียกว่า "Fast startup" เข้ามาใน Window 10
- และเจ้า Fast startup ที่จะทำให้เราเปิดคอมเข้ามาถึงหน้าตาของการใช้งานได้เร็วขึ้นเนี่ย ก็เกิดจากการที่คลิกปุ่ม Shutdown นั้นเอง (แล้วเปิดใหม่)
- แต่ปัญหาหลักๆของการใช้ฟังชั่น "Fast startup จากการ Shutdown" เนี่ย อาจะทำให้โปรแกรมหรือแม้กระทั่ง hardware ที่เกิดมีปัญหาอยู่แล้วก่อนการ shutdown อาจจะไม่ได้ถูกปิดลงไปด้วย
- นั้นหมายความว่า ปิด-เปิดคอมด้วยวิธีการ Shutdown ในตอนนี้ อาจไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาแล้วนั้นเอง
- สาเหตุที่ทำให้ ปิด-เปิด เร็ว ก็เพราะว่า มันแค่ทำการปิดโปรแกรมที่เพื่อนๆใช้งานอยู่ในขณะนั้น หรือเราสามารถ Force shutdown ได้ ก็คือการปิดแบบไม่ต้องสำรองไฟล์อีก แลกมาด้วยเวลาที่รวดเร็วขึ้น
- เพื่อให้เพื่อนๆนึกภาพตามง่ายๆ เราขออนุญาตเล่าเพิ่มเติมเป็นแบบนี้
การ Shutdown ใน window 10 ตอนนี้ เหมือนกับเป็นการที่เจ้าคอมพิวเตอร์ของเรานั้น งีบหลับหรือจำศีล (เค้าใช้คำว่า "hibernation") ที่สั่งการจากแก่นระบบกลางของคอมพิวเตอร์
- ยกตัวอย่างเรื่องการนอนหลับบนเก้าอี้นะแหลเพื่อนๆ สมมุติถ้าเรานอนบนเก้าอี้ด้วยท่าทางที่ผิดลักษณะ เช่นเอาก้นทับมือเอาไว้ เราอาจจะหลับได้เพราะความเหนื่อยล้า แต่ว่า....พอตื่นมา เราก็อาจจะปวดแขน ปวดหลังได้ แต่ข้อดีคือ เราก็จะลุกได้ในทันที หรือสามารถเปิดคอมทำงานต่อได้เลย ไม่ต้องขยับ
- เหมือนเรางีบเก็บแรงหน้าคอมตอนบ่ายเวลาทำงานน่ะนะ
- สำหรับคอมพิวเตอร์ก็ไม่ต่างกัน ถ้าเกิดเค้ามีปัญหา error อะไรมาก่อน แล้วเราแก้ปัญหาด้วยการ shutdown ให้มันจบๆไป
- แต่มันก็เป็นเพียงแค่เข้าสู่โหมดงีบหลับไปเพราะการมีฟังชั่น Fast startup นี้ละ เวลาเราเปิดคอมมาใหม่ ปัญหาทุกอย่างที่เกิดก่อนการปิดเครื่อง ก็ยังคงอยู่ตรงนั้นแหละ แลกด้วยความเร็วแทนเนอะ
การ Restart
มุมที่กลับกันของ shutdown และ เป็นสิ่งที่จำเป็นหากเรามีการลงซอฟแวร์หรือวินเดวือัพเดทใหม่
- การ Restart คือการที่คอมพิวเตอร์จะทำการปิดการใช้งานในทุกๆระบบ (รวมถึง Software และ Hardware
- และในขณะเดียวกัน ระหว่างที่ทำการ restart เจ้าคอมพิวเตอร์เองก็จะมีการแก้ไขส่วนที่ error ต่างๆ (ซึ่งก็มาจากการปิดการทำงานทุกส่วนนั้นเอง และไม่ได้มีฟังชั่น Fast start)
- ก็เลยเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณหมอคอมพิวเตอร์หลายๆคนได้แนะนำว่า ถ้าจะแก้ปัญหาเรื่องอากาคอมค้าง แฮงค์ ให้ทำการ Restart มากกว่า การ shutdown
- นั้นก็เพราะจะทำให้ process การปิดทุกๆโปรแกรมและตรวจซ่อมความเสียหายนี้ ทำให้อย่างครบถ้วนกว่า (เพราะไม่มีฟังชั่น Fast start)
แล้วถ้าอยาก Shutdown แบบไม่ต้อง Fast startup ได้ไหม ?
อยากให้การปิดคอมพิวเตอร์ทุกครั้ง คือการปิดทุกโปรแกรมจริงๆ ไม่ใช่ Hibernate mode ทำยังไง ?
- วิธีนั้นก็ง่ายมากกกก เพียงแค่เราต้องเข้าไปปิดเจ้าฟังชั่นดังกล่าว ตามภาพด้านล่างของเราเลยจ้า
- เพียงแค่นี้ คอมพิวเตอร์ของเพื่อนๆเวลา Shutdown เนี่ยก็จะเป็นการปิดทุกโปรแกรมทั้ง software hardware แล้ว
1
- แต่ก็ต้องแลกกับเวลาที่เพิ่มมากขึ้นในการปิด และเปิดในครั้งหน้านะ
เพราะว่าทุกๆการใช้งานของระบบ ก็จะต้องเริ่มเปิดขึ้นมาใหม่
- คล้ายๆกับเรานอนเหยียดตัวตรงบนเตียง พอเราตื่นแล้วจะลุก ก็อาจจะต้องมีบิดขี้เกียจบ้าง งัวเงียบ้าง เป็นปกติ แต่แลกมากับความสดชื่น :):)
จบแล้วจ้าา หวังว่าคงเป็นสาระดีดีที่นำมาให้เพื่อนๆอ่านกันนะ
คิดว่าเพื่อนๆหลายคนคงทราบกันดีแล้ว แต่เราสารภาพว่า เราพึ่งจะทราบว่ามีฟังชั่นนี้อยู่ด้วย >.<"
เวลาที่รวดเร็ว และความสะดวกสบายที่เกินไป อาจจะต้องแลกมาด้วยคุณภาพของสิ่งที่ได้ หรือประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง
ตรงนี้เราว่าไม่ได้เป็นแค่ระบบคอมพิวเตอร์อย่างเดียว แต่ถ้าเรามองถึงการทำงานของมนุษย์ก็คงเป็นแบบเดียวกัน :)
โฆษณา