Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ประวัติศาสตร์
•
ติดตาม
25 ก.ย. 2020 เวลา 02:43 • หนังสือ
คดีลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่๘ ส่วนที่2
เพื่อจะได้เข้าใจ ได้ง่าย ขออนุญาตเลี่ยงคำราชาศัพท์เท่าที่ทำได้นะครับ
เหตุการณ์ ช่วงเวลาที่ 9 มิถุนายน 2489 (วันเกิดเหตุลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่๘) แท้จริงเกิดอะไร ขึ้น
โพสนี้ข้าพเจ้า จงใจนำวิดิโอคลิป เหตุการณ์ดังกล่าวมาเผยแพร่อีกครั้ง เพื่อที่ต้องการให้ทุกๆท่านได้ทำความเข้าใจง่ายๆว่า ใครอยู่ที่ใหนในเหตุการณ์ลอบปลงพระชนม์ รัชกาลที่๘
สิ่งที่ต้องทราบ คือ เหตุการณ์เกิดขึ้นชั้นสอง ของพระที่นั่งฯ โดนที่ ชั้นหนึ่งมีมหาดเล็กคุ้มกันแน่นหนา อีกทั้งได้ให้ปากคำเป็นพยานกับศาลในการพิจารณาคดี โดยระบุว่าทั้งก่อนและหลังเกิดเหตุไม่มีใครเดินผ่านประตู ออกไป ทางเข้าออกเลย ดังนั้น.
คดีลอบปลงพระชนม์ รัชกาลที่๘ จึงมีโอกาส เกิดจากคนในทั้งหมด 8 คนดังนี้
1 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (บรรทมอยู่ในห้องของพระองค์)
2 ชิต สิงหเสนี (นั่งอยู่หน้าประตูห้องแต่งพระองค์)
3 บุศย์ ปัทมศริน (นั่งอยู่หน้าประตูห้องแต่งพระองค์)
4 ฉลาด เทียมงามสัจ (อยู่ห้องเสวยมุขพระที่นั่ง)
5 จรูญ ตะละภัฎ (อยู่ในห้องสมเด็จพระบรมราชชนนี)
6 คุณพระพี่เลี้ยงเนื่อง จินตดุลย์ (อยู่ในห้องสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช)
7 สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช (อยู่ในห้องเครื่องเล่น)
8 สมเด็จพระราชชนนี หรือ สมเด็จย่า (อยู่ในห้องของพระองค์)
ทันทีที่ เก้าโมงเช้า เกิดเสียงปืน ยิงปังที่ ห้องนอน รัชกาลที่๘ ... นาย ชิต สิงหเสนี และนาย บุศย์ ปัทมศริน มหาดเล็ก ซึ่งอยู่หน้าห้องนอน เป็นผู้พบศพเป็นคนแรก นายชิน สิงหเสนี วิ่งไปกราบทูลว่า "ในหลวงยิงพระองค์" รัชกาลที่ ๙ ,แม่ (สมเด็จย่า)และพี่เลี้ยงเนื่อง จึงวิ่งตามออกมาพบศพทีหลัง
(ตามคำให้การของพยานที่เข้าไปพบศพกลุ่มแรก ระบุว่าปืนอยู่ที่ข้างลำตัว บริเวณศอก หันปลายกระบอก ไปที่ปลายเท้า. หากเห็นภาพจะเข้าใจว่า มีพิรุธไม่น่าใกล้เคียงการยิงตัวตาย ตามที่ ปรีดีได้แถลงการณ์ไว้แต่แรก หลังเกิดเหตุ )
อีกทั้งคำให้การของพยานเป็นที่ชัดเจนว่า ประเด็นข่าวลือ ที่ รัชกาลที่๙ ยิงรัชกาลที่๘ นั้นไม่มีทางเป็นความจริงได้ เพราะ รัชกาลที่๙มาจากอีกฟากของอาคารและไม่ใช่คนแรกที่พบศพ
นาย ชิต สิงหเสนี และนาย บุศย์ ปัทมศริน สองมหาดเล็กเป็นผู้พบศพคนแรก กลายเป็นผู้ต้องสงสัยคนแรกๆ เพราะ เป็นคนที่เฝ้ามิให้ใครเข้าไปข้างในห้องนอนได้ หากทีใครเดินเข้าไป บุคคลทั้งสองย่อมต้องรู้ เพราะประตูทางเข้าอื่นถูกปิดตาย อีกทั้งสองมีพฤติกรรม ส่อไปถึงความ ความไม่จงรักภักดี และมีเจตนาที่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติ. เช่น
ตามที่ปรากฎในบางส่วนของเอกสารข้อพิจารณาความอาญา ในชั้นฎีกา. หมายเลข ที่ 1544/2497 ระบุเอาไว้ว่า
- นายมี พาผล(พยาน) เบิกความยืนยันว่า “เช้าวันหนึ่งก่อนเสด็จสวรรคต ขณะที่นายมีกำลังอยู่เวรบนพระที่นั่งชั้นบน นายชิตได้มาคุยด้วย ตอนหนึ่งนายชิตพูดขึ้นว่า "แปลกใจ ทำไมในหลวงจึ่งจะเสด็จกลับในวันที่ 13 ฝรั่งเขาถือ" นายมีตอบว่า "ท่านไม่ทรงถืออย่างฝรั่ง เพราะท่านเป็นไทย ท่านก็เสด็จได้" นายชิตว่า "ท่าจะไม่ได้เสด็จน่ะนา" นายมีว่า ก็โหรให้ฤกษ์แล้ว ท่านก็คงจะเสด็จ นายชิตพูดในที่สุดว่า ท่านจะไม่ได้เสด็จนา
1
หลังจากให้การที่ศาลกลางเมืองแล้วสักสองสามวัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันได้รับสั่งให้นายมีเข้าเฝ้า ทรงซักถามว่า ได้รู้เรื่องอะไร ให้เล่าถวาย นายมีจึ่งกราบบังคมทูลให้ทรงทราบถึงข้อความที่นายชิตพูดคุยกันดั่งที่กล่าวมาแล้ว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันได้พระราชทานพระกระแสรับสั่งเป็นพยานว่า ภายหลังสวรรคตแล้วสองสามอาทิตย์ นายมี พาผล เคยกราบทูลว่า นายชิตพูดว่า วันที่ 13 จะเสด็จกลับไม่ได้
ตามคำพยานหลักฐานที่กล่าวมานี้เป็นอันฟังได้ว่า นายชิตได้พูดเช่นนั้นจริง เป็นการพูดยืนยันความรู้จริงอย่างใดอย่างหนึ่งมา ไม่ใช่เป็นการแสดงความคิดความเห็น พูดออกมาโดยความแน่ใจและอดใจไว้ไม่อยู่ เป็นข้อที่ส่อให้เห็นว่า เพราะนายชิตได้ล่วงรู้เหตุร้ายซึ่งจะบังเกิดขึ้นภายในระยะเวลาอันใกล้ มั่นใจในความสำเร็จตลอดปลอดโปร่ง ด้วยความอิ่มใจและทะนงใจจึ่งกล้าเผยข้อความออกมาเป็นนัยเพื่อแสดงความศักดิ์สิทธิ์ของตนว่า เป็นคนรู้ความสำคัญอันลี้ลับ”
ข้อพิจารณา ความผิดของนายชิต ยังระบุอีกว่า “ วันที่ 9 มิถุนายน 2489 เวลากลางวัน ภายหลังที่ถูกปลงพระชนม์แล้ว นายชิตบังอาจเพทุบายเอาปลอกกระสุนปืนหนึ่งปลอกส่งให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยกล่าวเท็จว่า เก็บได้ใกล้พระแท่นบรรทมในขณะถูกประทุษร้าย ประสงค์จะให้เจ้าหน้าที่หลงเชื่อไปในทางที่เป็นเท็จว่าเป็นปลอกกระสุนปืนที่ได้ยิงในวันนั้นจากปืนกระบอกหนึ่งซึ่งวางอยู่ใกล้พระกรเบื้องซ้าย และเพื่อจะให้หลงเชื่อต่อไปว่าทรงใช้ปืนกระบอกนั้นประทุษร้ายพระองค์ท่านเอง ความจริงปืนกระบอกนั้นหาได้ใช้ยิงในวันนั้นไม่ และไม่ใช่กระบอกที่ใช้ประทุษร้าย ทั้งนี้ โดยนายชิตรู้อยู่แล้วว่าเป็นเท็จ ด้วยเจตนาช่วยพรรคพวกให้พ้นอาญา และปกปิดมิให้ความปรากฏว่าได้มีผู้ประทุษร้ายพระองค์ท่าน เหตุเกิด ณ พระที่นั่งบรมพิมาน”
“ส่วนนายบุศย์ จำเลย นั้น แม้โจทก์จะมิได้สืบถึงข้อพิรุธนานาประการอย่างเช่นนายชิต แต่การที่นายบุศย์มีหน้าที่อยู่เวรคอยเฝ้าอารักขาพระองค์ท่ายอย่างใกล้ชิดขณะยังไม่เสด็จจากพระแท่นบรรทม นับว่า เป็นหน้าที่อันสำคัญอย่างยิ่ง และผู้ร้ายเข้าออกจะต้องผ่านทางระเบียงหลังที่นั่งอยู่ แต่นายบุศย์มิได้ทำการขัดขวางป้องกันหรือเอะอะโวยวายขึ้น หรือแม้จะสมมติว่า ผู้ร้ายจะเข้าออกทางห้องทรงพระสำราญได้ ก็ปรากฏว่า ทางห้องทรงพระสำราญติดกับเฉลียงด้านหลัง มีช่องโค้งโล่งสองช่อง ไม่มีบานประตู จากที่นายบุศย์นั่งอยู่ นายบุศย์ก็ย่อมแลเห็นได้เพราะอยู่ในระยะใกล้ชิดกัน อีกประการหนึ่ง เมื่อเสียงปืนดังขึ้นในห้องพระบรรทมในขณะที่ทรงบรรทมอยู่ นายบุศย์ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงก็มิได้เข้าไปดูให้เห็นเหตุการณ์ว่าเป็นอย่างไร กลับอ้างในชั้นสอบสวนว่า ไม่กล้าเข้าไป เพราะกลัวจะถูกหาว่ายิงในหลวง”
“การกระทำหรืองดเว้นกระทำของนายชิต นายบุศย์ จำเลยทั้งสอง เช่นนี้ ไม่มีทางให้วินิจฉัยเป็นอย่างอื่น นอกจากจะฟังว่า จำเลยทั้งสองคนนี้อย่างน้อยก็เป็นผู้สมรู้ร่วมคิดในการลอบปลงพระชนม์ด้วย”
ต่อมา เฉลียว ปทุมรส อดีตราชเลขานุการในพระองค์ ก็เป็นอีกหนึ่งที่ถูกข้อกล่าว ที่สมรู้ร่วมคิดกับ นาย ชิต สิงหเสนี และนาย บุศย์ ปัทมศริน
ตามที่ปรากฎในบางส่วนของเอกสารข้อพิจารณาความอาญา ในชั้นฎีกา. หมายเลข ที่ 1544/2497 ระบุเอาไว้ว่า
นายเฉลียว ปทุมรส จำเลย มีข้อที่ควรวิเคราะห์ดั่งต่อไปนี้
(๑) เป็นคนสนิทชิดชอบของนายปรีดี เป็นคนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ เดิมรับราชการอยู่ในกรมไปรษณีย์โทรเลข หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้โอนไปรับราชการในกองตรวจคนเข้าเมือง กรมตำรวจ แล้วโอนไปรับราชการในกรมสรรพสามิต จน พ.ศ. ๒๔๘๐ ลาออก ในปีนั้นเอง เข้ารับราชการในสำนักพระราชวัง ตำแหน่งหัวหน้าแผนกคลัง แล้วเลื่อนขึ้นเป็นเลขานุการสำนักพระราชวัง ต่อมา เลื่อนเป็นรองเลขาธิการพระราชวัง พ.ศ. ๒๔๘๗ ย้ายไปดำรงตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์ ทั้งนี้ เป็นด้วยทางการเมืองเข้าไปครอบงำราชการในสำนัก
นายเฉลียวนั้น นอกจากมีจิตใจฝักใฝ่อยู่กับนายปรีดีมาก่อนนานแล้ว เมื่อนายปรีดีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์สมบูรณ์ด้วยอำนาจตามรัฐธรรมนูญแต่ผู้เดียว นายเฉลียวก็ยิ่งมีอำนาจยิ่งขึ้น นายเฉลียวดำรงตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์ได้สามเดือน แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จนิวัติพระนคร นายทวี บุณยเกตุ รองนายกรัฐมนตรี มีคำสั่ง ลงวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๘ ว่า เพื่อให้มีความเรียบร้อยและเหมาะสม เป็นการสมควรจัดให้มีข้าราชการผู้ใหญ่ประจำพระองค์เพื่อถวายพระราชกรณียกิจและรับกระแสพระบรมราชโองการต่าง ๆ ให้เป็นที่เรียบร้อย จึ่งให้นายเฉลียวซึ่งดำรงตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์มีหน้าที่ติดต่อใกล้ชิดพระองค์อยู่แล้วปฏิบัติหน้าที่ดั่งกล่าวประจำพระองค์อีกหน้าที่หนึ่งด้วย
ด้วยเหตุเหล่านี้ นายเฉลียวจึ่งตั้งสำนักงานขึ้นอีกแห่งหนึ่งที่ตึกหน้าพระที่นั่งพระบรมพิมานภายในประตูเหล็กกล้าซึ่งน่าหวังว่า กิจการจะเป็นระเบียบเรียบร้อยและเป็นที่ปลอดภัย แต่กลับกลายเป็นสิ่งตรงกันข้าม นายฉันท์ หุ้มแพร มีความหวั่นหวาดและปรารภแก่บุคคลหลายคนว่า เกรงจะมีภยันตรายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ตระเตรียมตัวระวังเหตุการณ์อย่างเต็มที่ แต่มาตายเสียก่อนเกิดกรณีสวรรคต
(๒) ว่าถึงในหน้าที่ราชการในพระราชสำนักแล้ว นายชิตและนายบุศย์ จำเลย อยู่ในบังคับบัญชาของนายเฉลียว
ส่วนนายชิตนั้นเป็นคนชอบพอคุ้นเคยกับนายเฉลียวเป็นกันเองอย่างสนิทอีกด้วย
(๓) เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จนิวัติพระนคร ทางราชการได้จัดรถเชฟโรเลตและรถแนซถวายเป็นรถพระที่นั่งส่วนพระองค์ ถ้าจะเสด็จเป็นพระราชพิธีหรือรัฐพิธีแล้วก็ใช้รถโรลส์-รอยซ์และรถเดมเลอร์
1
วันหนึ่ง หลังจากเสด็จกลับจากหัวหิน สมเด็จพระราชชนนีจะเสด็จไปทรงซื้อของ นายฉันท์ หุ้มแพร จึ่งสั่งให้นายระวิ ผลเนื่องมาหัวหน้าแผนกพระราชพาหนะจัดรถยนต์ถวาย นายระวิขัดข้องว่า รถไม่มี ทั้งนี้ เป็นเพราะก่อนเสด็จหัวหิน รถสองคนนี้ยังอยู่ แต่เมื่อเสด็จกลับจากหัวหินแล้วปรากฏว่า รถเชฟโรเลตนั้นนายเฉลียวจัดส่งไปให้นายปรีดีใช้ ส่วนรถแนซ สำนักพระราชวังส่งไปกรมพาหนะทหารบกเพื่อซ่อมไว้ให้แขกเมืองใช้ จึ่งเป็นอันว่า รถพระที่นั่งสำหรับทรงใช้ส่วนพระองค์ไม่มี นอกจากนี้ ก็มีแต่รถที่ใช้งานพระราชพิธี กับรถมอร์ริสเป็นรถประทุนทาสีน้ำเงินใช้สำหรับท้าวนางหรือหม่อมเจ้า นายฉันท์ดูรถนั้นแล้วว่า น่าจะทรงไม่โปรด จะกลับไปกราบบังคมทูลก่อน สักครู่หนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จไปทอดพระเนตรและรับสั่งถามว่า รถคันนี้หรือที่จะจัดถวายพระราชชนนี แล้วเสด็จไปทอดพระเนตรที่โรงรถไม่ทรงโปรดรถคันใด ต่อมา นายฉันท์จึ่งไปสั่งนายระวิว่า ให้หารถที่เคยทรงมาถวายในตอนบ่ายให้ได้ นายระวิจึ่งติดต่อไปทางกรมพาหนะทหารบกได้ความว่า ยังไม่ได้รื้อเครื่อง ตอนบ่ายจึ่งนำเอาไปจอดถวายที่มุขหน้าพระที่นั่งบรมพิมาน พอสมเด็จพระราชชนนีเสด็จลง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จตามมาส่งและทรงรับสั่งว่า "รถที่ไหน ๆ ไม่มีแล้วหรือ จึ่งมาเอารถของฉันไปเสียหมด" นายระวิกราบบังคมทูลว่า ทางราชการสั่งให้เอาไปก็ขัดไม่ได้
วันนั้นเอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชกระแสรับสั่งกับพระยาชาติเดชอุดมว่า เมื่อเช้านี้ สมเด็จพระราชชนนีจะเสด็จไปซื้อของ เรียกรถไม่ได้ ถามเขาเขาว่า นายเฉลียวจัดเอาไปให้นายปรีดีใช้เพราะรถของนายปรีดีเสีย ในที่สุด ทรงรับสั่งว่า "ทำไมของอื่นจึ่งขาดไม่ได้ แต่ของฉันขาดได้ ถ้าเช่นนั้น ไฟไหม้ทำเนียบท่าช้าง ฉันมิต้องเอาวังให้อยู่หรือ เรื่องผู้คนก็เหมือนกัน เอาไปจากราชเลขาก็มี สำนักพระราชวังก็มี เมื่อต้องการจะมีทำไมไม่ตั้งขึ้นเอง"
เมื่อเกิดเรื่องรถยนต์ที่กล่าวมานี้ นายปรีดีไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับสำนักพระราชวังแล้ว การจึ่งเป็นว่า นายเฉลียวได้ใช้อำนาจหน้าที่ซึ่งตนปกครองอยู่สั่งให้จัดไปเพื่อประโยชน์ของนายปรีดี เป็นขาดความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พฤติการณ์เรื่องรถพระที่นั่งนี้ ต่อมา ได้เกิดปฏิกิริยา คือ หลังจากวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสรับสั่งกับนายระวิประมาณสิบห้ายี่สิบวัน รถแนซพระที่นั่งคันนั้นหายไปจากโรงเก็บรถในพระบรมมหาราชวังในเวลากลางคืน ทั้ง ๆ มีเวรยามเฝ้ารักษา ซึ่งน่าจะเป็นเพราะผู้ร้ายแสดงอำนาจเหยียดหยามพระองค์ท่านในการที่ทรงสนพระทัยในรถคันนี้ แต่ทั้งนี้ ใครเป็นผู้กระทำหรือสั่งการนั้นเป็นเรื่องยังไม่กระจ่าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวข้องพระราชหฤทัยมาก มีพระราชประสงค์จะพบนายปรีดี แต่พระยาชาติเดชอุดมกราบบังคมทูลว่า ได้ให้พระรามอินทรา อธิบดีกรมตำรวจ จัดการสืบหาคนร้ายอยู่แล้ว ถึงกระนั้น ยังทรงพระราชอุตสาหะไปทรงตรวจสถานที่ในคืนวันหนึ่งว่า เก็บอย่างไร และยามอยู่ตรงไหน หลังจากนั้น ยังได้ทรงเตือนถามพระยาชาติฯ อีกสองสามครั้งว่า ได้ความอย่างไรหรือยัง และได้เคยทรงถามพระรามอินทรา ในที่สุดก็หาได้ตัวผู้ร้ายไม่
เหตุการณ์ได้บังเกิดขึ้นในพระราชสำนักเกี่ยวแก่พระราชกรณียกิจแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดั่งนี้ หน้าที่นายเฉลียวจะจัดการให้ได้เรื่องราวเพราะมีสมัครพรรคพวกเป็นอันมากตลอดทั้งคนรถ แต่หาปรากฏว่า ได้นำพาเป็นกิจธุระประการใดไม่
ส่วนเรื่องที่นายเฉลียวกระด้างกระเดื่องต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น พึงเห็นได้จากอาการที่แสดงออกต่าง ๆ หลายประการดั่งเช่นจะกล่าวต่อไปนี้
(ก) นายเฉลียวนั่งรถยนต์ล่วงล้ำไปถึงพระที่นั่งบรมพิมานซึ่งเป็นพระราชฐานภายในในเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ทรงประทับ ฝืนระเบียบประเพณี บางครั้งนั่งไขว่ห้างเข้าไป ทรงทราบถึงพระเนตรพระกรรณแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชชนนีเนือง ๆ
(ข) เวลานายเฉลียวนำหนังสือไปทูลเกล้าฯ ถวาย สวมแว่นดำและสูบบุหรี่พรวดพราดขึ้นไป ไม่ได้บอกมหาดเล็กไปกราบบังคมทูลเสียก่อนตามระเบียบ ต่อเมื่อเห็นพระองค์ท่านจึ่งถอดแว่นและทิ้งบุหรี่ บางทีเมื่อถึงชั้นบนแล้วจึ่งถอดพลางเดินพลาง ชั้นบนไม่มีกระโถน นายเฉลียวก็โยนบุหรี่ทิ้งลงกับพื้น มหาดเล้กต้องคอยรีบเก็บเพราเกรงจะไหม้พรม
ขณะทูลเกล้าฯ ถวายหนังสือ นายเฉลียวไม่ปฏิบัติตามระเบียบประเพณี แทนที่จะคุกเข่ากลับยืน
ระเบียบประเพณีการเข้าเฝ้าทูลเกล้าฯ ถวายหนังสือราชการ ถ้าราชเลขาอ่านหนังสือราชการถวาย ตามธรรมดาจะต้องหมอบอ่าน ถ้าพระองค์ท่านประทับอยู่บนพระเก้าอี้ทรงพระอักษร ผู้อ่านก็จะต้องคุกเข่าเข้าไปใกล้ ๆ โต๊ะทรงพระอักษรแล้วจึ่งอ่านหนังสือราชการนั้น ส่วนนายเฉลียวเข้าไปยืนอ่านใกล้ ๆ โต๊ะทรงพระอักษร
เมื่ออ่านถวายแล้วก็จะต้องกราบบังคมทูลว่า เรื่องต่าง ๆ ที่เคยปฏิบัติมานั้นจะควรสั่งอย่างไร ถ้าทรงพระราชดำริเห็นชอบด้วยก็หมอบเขียนบันทึกในหนังสือราชการเป็นพระราชกระแสรับสั่งของพระองค์ถวายให้ทรงลงพระบรมนามาภิไธย แต่นายเฉลียวคงยืนเขียนบันทึกบนโต๊ะทรงพระอักษรนั้นเอง แล้วเลื่อนหนังสือให้ทรงลงพระบรมนามาภิไธย
(๔) (ค) นายเฉลียวเปิดวิทยุที่ตึกที่ทำงานซึ่งอยู่ตรงข้ามกับพระที่นั่งบรมพิมาน ถึงเวลาบรรทมก็ยังหาหยุดเปิดไม่ จนมีพระราชกระแสรับสั่งถามว่า ที่นั่นเขาทำอะไรกันอยู่จนดึกดื่น
(๔) การที่นายเฉลียวจำต้องพ้นจากตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์เพราะปฏิบัติตนไม่ต้องด้วยพระราชประสงค์ย่อมเป็นเหตุกระทบกระเทือนจิตใจนายเฉลียวอย่างแรง
ข้อที่นายเฉลียวว่า ไม่เสียใจเพราะไปได้รับตำแหน่งใหม่เป็นสมาชิกวุฒิสภานั้น ข้อนี้ไม่เป็นเหตุผลที่จะให้เห็นว่า นายเฉลียวจะหายโกรธเคืองพระองค์ท่าน
(๕) ได้วินิจฉัยมาแล้วว่า บุคคลผู้ที่ไปประชุมที่บ้านพลเรือตรี กระแสมีนายชิตกับนายเฉลียวด้วย
นายชิตเป็นผู้สมคบร่วมมือกับผู้ร้ายในการกระทำการปลงพระชนม์ ส่วนนายเฉลียวก็เป็นผู้ขาดความจงรักภักดีมีสาเหตุไม่พอใจในการที่ถูกออกจากตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่พอพระราชหฤทัยที่จะให้ดำรงอยู่ และนายชิตเป็นผู้ที่สนิทชิดชอบและคุ้นเคยกันเป็นอันมาก คนทั้งสองนี้กับพวกได้มาประชุมกันที่บ้านพลเรือตรี กระแส โดยไม่ปรากฏชัดว่า ประชุมกันด้วยเรื่องอะไร เป็นข้อหน้าสังเกตตประมาณหนึ่ง
(๖) โหรถวายพระฤกษ์และทางราชการได้กำหนดนัดหมายแล้วว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จต่างประเทศในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ต้องเป็นที่เข้าใจกันว่า ในหลวงจะเสด็จตามกำหนดในวันนั้นแน่เพราะมีกำหนดเป็นทางราชการแล้ว และการกำหนดเช่นนี้มิใช่เพียงวงราชการในประเทศไทย ยังเกี่ยวข้องแก่ต่างประเทศซึ่งเป็นประเทศที่จะเสด็จไปพำนักนั้นด้วย เช่น สหรัฐอเมริกา เป็นต้น ซึ่งจะต้องเตรียมการต้อนรับเพราะจะเสด็จไปในฐานะพระมหากษัตริย์องค์ประมุขแห่งชาติตามซึ่งต่างประเทศได้ทูลเชิญเสด็จไว้ ฉะนั้น การกำหนดนัดหมายจึ่งจำเป็นต้องเป็นการแน่นอน
แต่มีคนบางหมู่รู้ความจริงอย่างเที่ยงแท้ว่า ในหลวงจะไม่ได้เสด็จในวันที่ 13 นั้น
ผู้ที่ได้พูดออกมาให้ปรากฏความข้อนี้ ก็คือ
๑. นายชิต
๒. นายเฉลียว
เป็นที่น่าประหลาดว่า บุคคลผู้รู้เหตุการณ์ล่วงหน้าอย่างแม่นยำได้เกิดมีขึ้นพร้อม ๆ กันถึงสองคน และบุคคลทั้งสองนั้นก็สนิทชิดชอบกันเป็นอันมากด้วย
อีกทั้ง ก่อนหน้านี้ มีข้อเท็จจริงเรื่องหนึ่ง ที่น่าสนใจ ช่วง เมษายน พ.ศ. 2489 ก่อน คดีลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ ๘ ราวสองเดือน นายฉันท์ หุ้มแพร( นายทัศย์ สุจริตกุล)เคย เตือนรัชกาลที่๘ เรื่องการลอบวางยาพิษมาแล้ว
เมื่อชันสูตรพระบรมศพ
ก็พบว่า ไม่มีเชื้อยาพิษตามที่สงสัย แต่กลับพบรอย ยิงจากหน้าผากถึงท้ายทอยอีกทั้งเขม่ายังชี้ชัดว่าเป็นลักษณะจ่อยิงประชิด
ทั้งศาลชั้นต้น ศาลอุธรณ์ ศาลฎีกา ลงความเห็นยืนยันมั่นใจว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์. โดยตัด เรื่องการฆ่าตัวตายและอุบัติเหตุออก
จำเลยทั้งสาม ทั้งนายชิด นายเฉลียว และนาย บุศย์ ถูกพิพากษาประหารชีวิต
ส่วน นายปรีดี และ เรือเอกวัชรชัย ถูกซัดทอดแต่ หลบหนีไปยังต่างประเทศ
ปราชญ์ สามสี
https://www.facebook.com/1403156603326693/posts/2441573612818315/
2 บันทึก
5
2
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย