Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องวันวาน
•
ติดตาม
24 ก.ย. 2020 เวลา 03:00 • ประวัติศาสตร์
"แร้งวัดสระเกศ เปรตวัดสุทัศน์" ตำนานที่เกิดขึ้นจริง!!!
โดยเป็นเรื่องราวของ วัดสระเกศ (ภูเขาทอง) นั้น ในอดีตเคยเป็นศูนย์รวมของแร้งนับพันอันเนื่องมาจากโรคห่าระบาดเมืองในช่วงรัชกาลที่ 2 มีคนตายหลายหมื่นคนในช่วงเวลาเพียงไม่กี่วัน กลายเป็นเมืองแห่งคนตาย ทุกตารางนิ้วเต็มไปด้วยซากศพ ในอดีตวัดสระเกศ เป็นจุดที่ทางการนำศพที่ตายจากโรคห่าระบาดมารวมไว้ ทำให้เป็นจุดศูนย์รวมของแร้ง เขาจะขุดหลุมแล้วเอาศพมากองรวมกัน เพราะจำนวนศพมากมายไม่สามารถเผาได้ไหว เลยใช้วิธีให้แร้งกำจัดศพให้ และสาเหตุที่ต้องเป็นวัดสระเกศก็เพราะ เมื่อสมัยก่อนนั้นมีกฎห้ามเผาศพกันในเมือง และประตูเมืองที่สามารถนำศพผ่านได้ก็มีอยู่ประตูเดียวที่เรียกกันว่า "ประตูผี" ซึ่งอยู่ใกล้กับวัดสระเกศมากที่สุดนั่นเอง
ยอดเจดีย์ภูเขาทอง วัดสระเกศ (อดีต)
ซากศพที่ตายจากโรคห่าระบาด
ซากศพที่ถูกอีแร้งกัดกิน
ประตูผี (อดีต)
ซึ่งเมื่อพูดถึงแร้งวัดสระเกศแล้ว จะไม่พูดถึงเปรตวัดสุทัศน์ ก็ไม่ได้เพราะว่ามักได้ยินพูดคู่กันเสมอ สมัยก่อนบรรยากาศแถววัดสุทัศน์จะน่ากลัวมาก ๆ มักมีคนเล่าว่าพบเห็นผีเปรตอยู่เสมอ แต่บ้างก็บอกว่า นั่นคือเงาจากเสาชิงช้า ความเชื่อแต่ครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์เกี่ยวกับเรื่องราวของเปรตแห่ง วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ที่เล่ากันว่าที่วัดแห่งนี้มักมีเปรตปรากฏกายในเวลากลางคืนเป็นที่น่ากลัวอย่างยิ่ง ประกอบกับอหิวาตกโรคที่ระบาดจนมีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมากในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 จนเผาศพแทบไม่ทัน ณ วัดสระเกศ จนมีคำกล่าวคล้องจองกันว่า "แร้งวัดสระเกศ เปรตวัดสุทัศน์"
เสาชิงช้า (อดีต)
เสาชิงช้า (ปัจจุบัน)
ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว เรื่องเล่าเปรตวัดสุทัศน์ฯนั้น มาจากภาพวาดบนฝาผนังในอุโบสถ ที่เป็นรูปเปรตตนหนึ่งนอนพาดกายอยู่ และมีพระสงฆ์ยืนพิจารณาอยู่ ซึ่งภาพนี้มีชื่อเสียงมากในสมัยอดีต เป็นที่เลื่องลือกันของผู้ที่ไปที่วัดแห่งนี้ว่าต้องไปดู
จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถ วัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหาร
อย่าลืมกดติดตาม กดไลค์ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้เขียนบทความต่อๆ ไปด้วยนะครับ แล้วก็ถ้าอยากให้เขียนเรื่องอะไร comment ไว้ได้เลยครับ 🙏🙏🙏
บันทึก
2
1
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย