26 ก.ย. 2020 เวลา 10:04 • ความคิดเห็น
Analytical skill ทักษะการวิเคราะห์ หนึ่งในคุณสมบัติที่จำเป็นในโลกยุคดิจิตอล
A no.2
เมื่อครั้งที่แล้วผมได้พูดถึง A ตัวแรกของคุณสมบัติคนพันธุ์ A ไปแล้วนะครับ ถึงเวลาของ A ตัวที่ 2 นั่นคือ Analytical skill คุณสมบัติที่จำเป็นอีกตัว
Analytical Skill คือ ความสามารถในการคิดจำแนกแจกแจงองค์ประกอบต่าง ๆ ของข้อมูล หรือ ปัญหาต่าง ๆ ออกเป็นประเด็นย่อย ๆ ในหลาย ๆ แง่มุม รวมถึง หาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้น แล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างเป็นระบบ ซึ่งการพัฒนาทักษะนี้ต้องพัฒนาด้วยการฝึกฝนให้เป็นคน ช่างสังเกต ช่างถาม ช่างค้นหา ช่างคิด ช่างวิเคราะห์ สรุปก็คือ เมื่อใดที่มีวัตถุประสงค์ที่ต้องการหาข้อสรุป การประเมินผล และ การตัดสินใจ เมื่อนั้นจำเป็นต้องมีการคิดเชิงวิเคราะห์เข้ามาช่วย เพื่อให้เกิดความเข้าใจ รู้ที่มาที่ไป รู้ข้อเท็จจริง รู้ถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ เพื่อประเมินแนวโน้มต่าง ๆ ในเรื่องนั้นๆก่อนนำไปสู่การสรุป
โลกยุคใหม่ที่เขามักพูดกันว่า Data is a King / Data is The New Oil ประเด็นนี้น่าสนใจนะครับ เพราะ บริษัทใดที่มีข้อมูลจำนวนมาก และ หลากหลาย จะมีความได้เปรียบและมีศักยภาพในการแข่งขันที่สูงขึ้น และ ถ้าบริษัทเหล่านั้น มีความสามารถในการนำข้อมูล Big data มาวิเคราะห์เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ เพิ่มคุณค่าให้ทั้งลูกค้า และ ธุรกิจ ยิ่งจะทำให้มีศักยภาพในการเติบโตแบบก้าวกระโดด ได้เปรียบในการแข่งขันอย่างมากในโลกยุคนี้
ผมขอยกตัวอย่างเพื่อให้ทุกท่านเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น อย่างเช่น GRAB บริษัทเทคโนโลยีสัญชาติสิงคโปร์ ที่ให้บริการเรียกรถ, แท็กซี่, วินมอเตอร์ไซค์, ส่งพัสดุ และ สั่งอาหาร ผ่านทางแอปพลิเคชันบนมือถือ (On Demand) โดยมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนที่ว่า ต้องการให้การเดินทางเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น และเนื่องจากเป็น On Demand Platform จึงทำให้มีข้อมูลที่มากมายมหาศาลไหลเข้ามาในธุรกิจ ซึ่งจุดนี้เองทำให้ GRAB มีโอกาสได้จัดเก็บข้อมูลที่ได้มาอย่างเป็นระบบ เพื่อนำมาวิเคราะห์ต่อยอดทางธุรกิจ จนเกิดเป็นธุรกิจย่อย เช่น Grab Financial group เพื่อช่วยเสริมด้านการเงินทุนสำรองสำหรับพาร์ทเนอร์ที่กำลังเจอปัญหา หลังจากที่วิเคราะห์ข้อมูลแล้วทราบว่า ปัญหาความฉุกเฉินเรื่องเงินเป็นสิ่งที่พาร์ทเนอร์ทุกด้านของ GRAB ต้องการ
ถ้ามามองอีกตัวอย่างที่หลายท่านคงคุ้นเคยกันดี เพราะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใกล้ตัว นั่นคือ Lazada ที่ใช้ Big DATA มาช่วยในการผลักดันยอดขายให้กับธุรกิจ ที่ทุกท่านน่าจะเคยเจอบ่อย ๆ คือ ส่วน Recommendation ใน Application เช่น ถ้าคุณซื้อของชิ้นนี้แล้ว ก็ควรจะซื้อชิ้นนี้เพิ่มด้วย จุดนี้เองทำให้ยอดขายเกิดจากการที่ลูกค้าถูกผลักดันโดยการแนะนำให้ซื้อนั่นเอง หรือแม้แต่การ Personalize Page ที่สร้างมาเพื่อลูกค้าคนนั้น ๆ ว่าเขาสนใจสินค้าประเภทไหน? และสินค้าไหนบ้าง? ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่ลูกค้าสนใจเพื่อเพิ่มโอกาสทางการขายอีกหนึ่งวิธีนั่นเอง
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว หลายท่านน่าจะรู้สึกแบบผมกันแล้วว่า Data is a King / Data is The New Oil จริงๆ และ มันจะมีประโยชน์มาก ๆ หากเราสามารถ Analytical skill รู้จักวิธีใช้ข้อมูลเหล่านั้นมาพัฒนาธุรกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในปัจจุบันให้ได้
ตัวอย่างสุดท้ายที่ผมขอพูดถึงอาจจะเป็นภาพที่ใหญ่ขึ้นมาหน่อย นั่นคือ การเอาข้อมูล Data มาปรับเปลี่ยนสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ การเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจเพื่อไม่ให้ธุรกิจถูก Disruption หายไป นั่นคือ RS ที่แรกเริ่มคือ การดำเนินธุรกิจด้วยการทำค่ายเพลง ผลิตสื่อโทรทัศน์ ธุรกิจทีวีดิจิตัล แต่ปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อไม่ให้ถูก Disruption ด้วยการเปลี่ยนหมวดธุรกิจในตลาดหุ้นจากธุรกิจสื่อ และ สิ่งพิมพ์ เป็นธุรกิจพาณิชย์ ทำการ Re-brand ตัวเองเป็น RS Group ซึ่ง ในปัจจุบัน ธุรกิจพาณิชย์ หรือ RS Mall สามารถทำรายได้ให้กับธุรกิจคิดเป็นสัดส่วนที่ 65% ซึ่งมากกว่าธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์เสียอีก RS Mall นี่เป็นโมเดลขายของแบบไม่มีหน้าร้าน แต่ขับเคลื่อนธุรกิจด้วยการใช้ธุรกิจ Entertainment ทั้งหมดที่มีไปต่อยอดกับการขายแบบ ธุรกิจ Commerce เปลี่ยนจากผู้ชม และ ผู้ฟังให้เป็นลูกค้าที่สามารถซื้อสินค้าได้ RS Mall ยังวางระบบหลังบ้านที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการขายสินค้าเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่การสั่งซื้อสินค้า การจัดส่งสินค้า แล การใช้ AI มาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลภายหลังการขาย ซึ่งโมเดลนี้เองทำให้ RS Mall มีฐานลูกค้ามากกว่า 1.4 ล้านราย โดยกลุ่มลูกค้าหลักเป็นกลุ่มที่มีอายุมากกว่า 40 ปีซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อค่อนข้างสูง และ มีแนวโน้มในการกลับมาซื้อสินค้าซ้ำ ทำให้ภายในครึ่งปีแรก RS Mall มี ยอด New High และ คาดว่ามีแนวโน้มจะมียอดขายที่สูงขึ้นได้อีก ตามที่ เฮียฮ้อ แสดงวิสัยทัศน์ไว้ว่าจะปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจ RS ให้เป็น Data driven company
สรุปได้ว่า นี่คือตัวอย่างของธุรกิจที่ดี ที่สามารถ Transformation ตัวเอง ก่อนการถูก Disruption ด้วยการสร้างโอกาสใหม่ให้กับธุรกิจตัวเองได้ดียิ่งกว่าเดิม นับเป็นหนึ่งในกรณีศึกษาที่ควรจะเรียนรู้ในเรื่องของการปรับตัวทางธุรกิจด้วยการใช้ Analytical skill ที่ยอดเยี่ยมเลยทีเดียวครับ
ครั้งหน้ารออ่าน A คุณสมบัติตัวที่สามถัดไปนะครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา