27 ก.ย. 2020 เวลา 23:55 • สุขภาพ
คุณรู้จัก ’’วัณโรค’’ ดีแค่ไหน ???
วัณโรค เมื่อเป็นแล้ว เสียชีวิตทุกรายหรือไม่
สามารถรักษาได้ใช่ไหม ??
...... จะพาทุกคนมาทำความรู้จัก เชื้อวัณโรคให้มากขึ้นกันสักหน่อย
!! รู้หรือไม่ ว่า มีหลักฐานการค้นพบเชื้อวัณโรค ร่วมกับประวัติศาสตร์มนุษย์มาร่วม กว่า 2400 ปีมาแล้ว จากการค้นพบเชื้อวัณโรค ในกระดูกสันหลังของ มัมมี่ อียิปต์
และ ฮิปโปรเครติส ที่ซึ่งเป็น บิดาแห่งการแพทย์ยุคกรีก
ฮิปโปรเครติสได้เขียนบันทึกสั้น ๆใว้ว่าเป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุด และทุกรายที่เป็นจะเสียชีวิต
ต่อมา ในปี ค.ศ. 1720 เป็นยุคที่มนุษย์ยังไม่รู้จักแบคทีเรีย ... แต่มีนักวิทยาศาสตร์และแพทย์ ชาวอังกฤษท่านหนึ่ง ได้ตั้งสมมุติฐานว่า เป็นโรคที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมากซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งติดต่อผ่านจากคนสู่คน จากผู้ติดเชื้ออยู่แล้ว
160 ปี ผ่านไป .....
ในปี ค.ศ. 1882 วันที่ 24 มีนาคม ดร.โรเบิร์ต คอช (Dr.Robert Koch) ประกาศการค้นพบสาเหตุโรควัณโรคคือเชื้อแบคทีเรีย Tubercle bacillus เป็นครั้งแรก และได้ค้นพบหลักฐานการมีอยู่จริงของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่เรียกว่าแบคทีเรีย
ซึ่งขณะนั้นวัณโรคแพร่กระจายทั่วยุโรปและอเมริกาและเป็นสาเหตุการเสียชีวิต 1 ใน 7 ของประชากรทั้งหมด การค้นพบครั้งนี้จึงช่วยเบิกทางในการคิดค้นวิธีรักษาวัณโรค
ดร.โรเบิร์ต คอช (Dr.Robert Koch)
วัณโรค ถือเป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่ง เกิดจากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก ระดับ ไมครอน
ติดต่อผ่านทางเดินหายใจ ลองลอยได้ในอากาศ (AirBrone)
........ ต่อมา
ทีมนักวิจัยที่สถาบันสุขภาพและโรคเขตร้อนแห่งสวิสเซอร์เเลนด์ (Swiss Tropical and Public Health Institute) นำโดยศาสตราจารย์เซบ้าสเตียน แก็กโน ค้นพบว่าเชื้อวัณโรคกำเนิดขึ้นในทวีปอาฟริกาอย่างน้อยเมื่อ 70,000 !! ปีที่แล้ว ศาสตราจารย์แก็กโนอธิบายว่าทำไมทีมวิจัยต้องการศึกษาประวัติของเชื้อวัณโรค
คำถามเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดของวัณโรคเพราะป็นคำถามที่ได้รับการถกเถียงมานานเเล้ว นอกจากนี้ทีมนักวิจัยเห็นว่ามีความจำเป็นที่ต้องศึกษาว่าโรคติดต่อชนิดนี้มีวิวัฒนาการมาอย่างไรจากอดีตจนถึงปัจจุบันเพราะจะช่วยสร้างความเข้าใจต่อวิวัฒนาการของโรคนี้ต่อไปในอนาคต
ศาสตราจารย์แก็กโนชี้ว่าวิวัฒนาการของมนุษย์กับวิวัฒนาการของเชื้อวัณโรคตั้งแต่ในอดีต ไม่แค่เกิดขึ้นพร้อมๆกันแต่น่าจะพูดได้ว่า "เกิดขึ้นพร้อมๆกัน" ภายในร่างกายของมนุษย์เพราะเชื้อเเบคทีเรียอาศัยทั้งบนร่างกายคนและภายในร่างกายคน แบคทีเรียช่วยให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้ !!
ลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งที่น่ากลัวของการติดเชื้อวัณโรคคือ การที่ผู้ติดเชื้อมีการติดเชื้ออยู่แต่ไม่แสดงอาการ จนกระทั่งถึงเวลาที่เหมาะสม..... ซึ่งในบางรายอาจยาวนานได้ถึง 10 ปี !!และมีเพียง 5 %ของการติดเชื้อเท่านั้นที่แสดงอาการ
และผู้ที่แสดงอาการมักมีลักษณะพิเศษ คือ สภาพร่างกายอ่อนแอ เช่น สูงอายุ ป่วยหนัก ติดโรค HIV ร่วม สูบบุหรี่ หรือใช้ยาเสพติดร่วมกัน หรือ เป็นมะเร็ง....
อ่านถึงตรงนี้ เริ่มระแวงแล้วละสิ.....
>> Mycobacterium Tubercolosis <<
( ไมโครแบคทีเรียม ทูเบอคูโรซิส)
Ziehl –Neelsen พบเชื้อ วัณโรค
เชื้อวัณโรค มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mycobacterium Tubercolosis
เป็นเชื้อแบคทีเรียขนาดเล็กมาก ระดับ ไมโครเมตร และ ตรวจพบจาก เสมหะ หรือ เนื้อเยื่อต้องสงสัย โดยการนำมาย้อมสี พิเศษ!! ย้อมแบบปรกติ จะตรวจไม่พบนะครับ
การย้อมวิธีพิเศษ เรียกว่า Ziehl –Neelsen โดยตัวชื้อจะ ติดสีแดง (Carbofuchin) รูปร่างทรงกระบอก (Rod Shape)
เชื้อชนิดนี้ชอบบริเวณที่มีอากาศ (Aerobic Bacteria) เพราะฉนั้น ผู้ป่วยเกิน 80% จะมีอาการแสดงทางปอด เช่น ไอเรื้อรังนากกว่า 3 สัปดาห์ ไอเสมหะปนเลือด หายใจหอบเหนื่อย เป็นต้น
ดังนั้น เชื้อจะแพร่ได้ทางลมหายใจ ล่องลอยได้ในอากาศ เหมือน COVID-19 แป๊ะๆ
เราจึงได้รับเชื้อผ่านการสูดอากาศลมหายใจเข้าไปในปอด และเชื้อวัณโรคจะตั้งรกรากในปอดทำให้ปอดเกิดเป็น ผังผืด(Fibrosis)
วงจรการติดต่อโรค
ลักษณะทางรังสีของผู้ป่วย วัณโรคปอด
Chest X-ray film ของ ผู้ป่วยวัณโรค
ภาพรังสีปอด ลักษณะพี่พบ คือมีฝ้าขาวในปอดซีกขวา เป็นปื้นปุยๆ สีขาว และลักษณะเป็นโพรง(Cavity) ลักษณะเด่นที่ปอดกลีบบน เนื่องจากเชื้อชอบบริเวณที่มีอากาศ
หลังจากกินยารักษา หรือหายแล้ว ปวดบริเวณดังกล่าวจะกลายเป็นผังผืดและจำไม่หายสนิท และเสียหายถาวร
อาการของผู้ป่วยวัณโรค
• ผู้ป่วยวัณโรคจะมีอาการอ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง
• เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง
• หนาวสั่น ไข้ต่ำ ในตอนกลางคืนมักจะมีเหงื่อออก
• เมื่อเริ่มป่วยในระยะแรกมักจะมีอาการไอแห้ง หลังจากนั้นจะเริ่มไอแบบมีเสมหะ เมื่อเข้านอนก็จะยิ่งมีอาการไอหนักมาก ทั้งช่วงเวลาหลังจากตื่นนอนตอนเช้าและในหลังอาหารด้วย
• อาการไอเรื้อรังจะคงอยู่เป็นเวลานานกว่า 3 สัปดาห์ บางรายที่ไอมากๆ จะมีอาการหอบด้วยหรือไอเป็นเลือดก้อนแดงๆ หรือเลือดสีดำปนออกมาพร้อมกัน
• ในรายที่เป็นเด็กอาการจะรุนแรงหนักกว่าผู้ใหญ่เพราะภูมิคุ้มกันโรคต่ำกว่า
• ผู้ป่วยบางรายที่ยังเป็นน้อยๆ อาจจะไม่มีอาการไอเลย ทว่าจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกแทน
หากมีอาการไอเรื้อรัง มีเลือดปน เบื่ออาหาร ร่างกายผ่ายผอม ควรมาพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างทันเวลา หากวินิจฉัยว่าเป็นโรควัณโรค ก็สามารถรักษาให้หายได้ หากทานยาตามแพทย์สั่งและติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง
รู้ตัวว่าเป็น อีกทีก็ แพร่ไปเป็นวงกว้างแล้วละครับ.... เหมือน COVID-19 อีกแล้ครับ
รักษาได้หรือไม่ ??
....รักษาได้ครับ แต่จะขอไม่ลงรายระเอียดในเรื่อง ชื่อชนิดของยา
ปัจจุบันรักษาด้วยการกินยาสูตรพิเศษ 4 ชนิดร่วมกัน และต้องกินเป็นระยะเวลานานถึง 6 เดือน และ บางรายอาจนานถึง 12 เดือนขึ้นอยู่กับตำแหน่งการติดเชื้อและการที่เชื้อดื้อยา
ผู้ที่กินยารักษาวัณโรค จะมีลักษณะที่สังเกตุได้คือ ปัสสาวะจะมีสีส้ม ชัดเจนมาก ซึ่งเกิดจากยารักษาชื่อว่า Rifampicin
Rifampicin- Orange Urine
วิธีการป้องกันตนเองจากเชื้อวัณโรค ??
1. หากจำเป็นต้องทำงานอยู่ในสถานที่ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ให้ออกมาสูดอากาศภายนอกบ้างในระหว่างวัน
2. รักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์
3. หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคในระยะแพร่เชื้อ
4. สวมหน้ากากอนามัย เมื่อมีความเสี่ยงต่อการอยู่ใกล้ผู้ป่วยวัณโรค
5. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV
6. ลดการดื่มแอกอฮอล์ สูบบุหรี่ และอย่าใช้สารเสพติด
7. ตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
8. วัคซีน!!!
วัคซีน คือ End GAME ของการจัดการเชื้อ !!
ความสำเร็จอย่างยิ่งของมนุษย์ในการต่อสู้กับโรคติดต่อจากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก คือการมีภูมิคุ้มกัน หรือการค้นพบวัคซีนนั่นเอง
ปี ค.ศ. 1921 ถือเป็นก้าวสำคัญของมนุษยชาติ ในการพิชิต วัณโรค นั่นคือ Bacille-Calmette-Guerin แห่งสถาบันปาสเตอร์ ประเทศฝรั่งเศส โดยใช้เชื้อ Mycobacterium bovis ซึ่งได้จากฝีที่เต้านมของวัว ซึ่งเพาะเชื้อโดยคนชื่อ Nocard จึงเรียกว่า Nocard strain วัคซีนได้รับชื่อตามผู้ผลิตว่า Bacillus Calmette Guerin หรือเรียกโดยย่อว่า BCG
ได้ให้เด็กทารกแรกเกิดที่เกิดจากมารดาที่ป่วยเป็นวัณโรคกิน ซึ่งเป็นการให้วัคซีนด้วยวิธี กินเป็นครั้งแรกในโลก และผลปรากฏว่าเด็กคนนั้นไม่เคยเป็นวัณโรคเลยตลอดชีวิต !!
วัคซีน BCG เป็นวัคซีนป้องกันวัณโรคเพียงชนิดเดียวในปัจจุบัน มีใช้มานานกว่า 80 ปี และยังพบว่าใช้ได้ดี
....
>> หวังว่า จะเจอวัคซีนที่จะสยบ COVID-19 เหมือนที่สยบวัณโรค ได้เร็วในวัน <<
ส่วนประเทศไทยบ้านเรานั้น พบว่าการติดเชื้อวัณโรค ชุกชุมอยู่และ แนวโน้มสูงขึ้น
ถึงขั้นมีคำกล่าวว่า ..... เดินท่ามกลางผู้คน 10 คน หรือ เดินเข้าใน โรงพยาบาล 1 ครั้ง อาจพบผู้ป่วยวัณโรค 1คน !!
ฟังดูน่ากลัว แต่ บ่งบอกได้ดีถึงว่าบ้านเราเป็นแหล่งชุกชุมจริงๆ
ข้อมูลเก็บถึงปี 2552
ตั้งแต่มี COVID-19 ระบาดนั้น....
มีผู้เชี่ยวชาญบางท่านได้ตั้งสมมุติฐานถึงว่า เป็นเพราะว่า ประเทศแถบเอเชียตะวันออกมีภูมิคุ้มกัน เชื้อวัณโรคเป็นส่วนใหญ่ หรือไม่??...... จึงทำให้อัตราการติดเชื้อ COVID-19 ต่ำกว่าทางฝั่งยุโรป อเมริกา และถึงแม้จะติดเชื้อแล้วก็ จะไม่แสดงอาการ หรืออาการไม่รุนแรง....
จึงได้มีความพยามที่จะนำวัคซีน BCG ที่ใช้สยบ เชื้อวัณโรค มาทำวัคซีนต้าน COVID-19
อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ ยังคงเป็นเพียงสมมุติฐานที่รอการพิสูจน์ต่อไป....
References
โฆษณา