25 ก.ย. 2020 เวลา 10:24 • ไลฟ์สไตล์
วิทยุสมัครเล่น วิทยุสื่อสาร
ปัจจุบันในยุคที่ทุกคนมีโทรศัพท์มือถือกัน แต่เรารู้ไหมว่าในประเทศไทยมีชมรมวิทยุสมัครเล่น กระจายอยู่ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศไทย มีสมาชิกประมาณ200,000คน
วิทยุที่เราใช้สื่อสารกันนั้นจะถูกแบ่งประเภทการใช้งาน โดยการกำหนดช่วงความถี่การใช้งานสำหรับการใช้งานในแต่ละประเภท
วิทยุสื่อสารถูกใช้งานในหลากหลายประเภท โดยหลักๆมี 3 ประเภทคือ
1.การใช้ติดต่อประสานงานทั่วไป เช่น ร.ป.ภ. เจ้าหน้าที่ Bach stageหลังเวที หรือใช้คุยเล่นอะไรก็ได้ตามแต่จะใช้กัน อย่างนี้ กรมไปรษณีย์เขาจะอณุญาติให้ใช้ความถี่ในช่วง 245 Mhz เรียกว่า CB (Citizen band) สังเกตเครื่องที่จะใช้งานมักเป็นเครื่อง Handy สีแดง กำลังส่ง 1-5 วัตต์ รัศมีส่งประมาณ 1 กิโลเมตร การสนทนากันเป็นลักษณะผลัดกันพูด คือ ฝ่ายหนึ่งพูดจบก่อน แล้วอีกคนถึงตอบกับ ไม่สามารถพูดพร้อมกันได้ เช่น อินทรีย์ดำได้ยินแล้วตอบด้วย หรือ ได้ยินแล้วเปลี่ยน (จะได้รู้ว่าให้อีกฝ่ายพูดต่อได้)
2.กิจการวิทยุสมัครเล่น อันนี้จะไม่ให้มีการใช้งานในเชิงพาณิชย์ ผู้ใช้งานในกลุ่มนี้จะเป็นไปเพื่อการพบปะติดต่อเพื่อนฝูงในที่ต่างๆ การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ซึ่งกิจการวิทยุสมัครเล่นมีอยู่ทั่วโลก ผู้ที่จะเข้าร่วมในกิจการวิทยุสมัครเล่น ต้องมีการสอบขออณุญาติจากกรมไปรษณีย์โทรเลข ข้อสอบก็จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับฟิสิกส์ อิเล็คทรอนิค กฎหมาย เบื้องต้น แล้วก็มีการตรวจสอบประวัติต่างๆ ก่อนได้รับอนุญาติ และจะได้รับชื่อเรียกขานเฉพาะ เช่น E 20 AJZ (อ่านว่า แอกควาทูซีโร่เอลเควสชูลู) ต่างจากผู้ใช้งานความถี่ CB ที่จะเรียกชื่อเทห์ๆ หรือ กวนๆ ยังไงก็ได้ โดยสังคมของนักวิทยุสมัครเล่นก็จะมีมารยาท หรือ กฎเกณฑ์ในการติดต่อกัน เพราะผู้ใช้มีอยู่ทั่วโลก
3. เป็นพวกใช้ในราชการต่างๆ เช่น ตำรวจ ทหาร หน่วยดับเพลิง ฯลฯ
ในเมืองไทยได้แบ่งนักวิทยุสมัครเล่นเป็น 3ระดับขั้น
ขั้นต้น จะได้ใช้งานช่างคลื่นความถี่ 144-146 MHz โดยจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15ปี บริบูรณ์ และผ่านการทดสอบ เมื่อได้รับใบอนุญาติก็จะเป็นนักวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น เราก็จะได้มาอยู่ในสังคมนักวิทยุสมัคร และยังมีเพื่อนคนอื่นๆอีกมากมายทั่วประเทศ รัศมีการติดต่อ จะกว้างไกลขนาดไหนก็ขึ้นอยู่กับตัวเครื่อง เสาอากาศ ฯลฯนักวิทยุจะมีความสุภาพในการพูดคุยกัน และมีการเรียกขานชื่อเฉพาะในการติดต่อทำความรู้จักกัน นอกจากนี้ยังมีโค้ดเฉพาะแทนประโยคสั้นๆ (Q cope) ด้วยเช่น QTH แปลว่า อยู่ที่ไหน
ขั้นกลาง จะได้ใช้ช่วงความถี่ย่าน144-146 MHz ย่าน7,000 - 7,100 KHz ย่าน 14,000 - 14,350 KHz ย่าน 21,000 -21,450 KHz ย่าน 28,000 -29,700 KHz นักวิทยุขั้นนี้จะเริ่มติดต่อกับต่างประเทศแล้ว และจะใช้ Q CODE กับรหัสมอสในการติดต่อกันเป็นส่วนมาก เพราะในการติดต่อกับคนต่างประเทศภาษาที่ใช้พูดจะเป็นคนละภาษาฉะนั้นก็ต้องคล่องกับการใช้CODEตรงนี้ด้วย อย่างรหัสมอสนี้จะส่งด้วยเครื่องเคาะ จะเคาะเป็นเสียง สั้น กับ ยาว อย่างที่เห็นในหนังบ่อยๆ สัญญาณ SOS. ตัวเอสเคาะเสียงสั้น 3ครั้ง ตัวโอ เคาะเสียงยาว 3ครั้ง เวลาเคาะก็ ตูด ตูด ตูด เว้น 1วิ ตูดด ตูดด ตูดด เว้น 1วิ ตูด ตูด ตูด ตูด ตูด บางทีเจอชาวต่างชาติกว่าจะได้คุยกันรู้เรื่อง
ขั้นสูง จะใช้ช่วงความถี่ย่าน144-146 MHz ย่าน 7,000 - 7,100 KHz ย่าน 14,000 - 14,350 KHz ย่าน 21,000 -21,450 KHz ย่าน 28,000 -29,700 KHz ใช้กำลงส่งตามที่ กรมไปรษณีย์โทรเลขกำหนดสูงกว่าขั้นกลาง
เราจะเริ่มเล่นวิทยุยังไง
อย่างง่ายๆ เลยไม่ต้องสอบ เราต้องมีเงินอยู่ประมาณ 1, 000บาท ก็ซื้อพวก เครื่องhandy กำลังส่ง 1-5 watts ที่บ้านหม้อ หรือในอินเตอร์เนต จะได้วิทยุสื่อสารมา มีแบตเตอรี่ มีแท่นชาร์ต การใช้งานก็ไม่ยากเพียงแค่ กดปุ่มเปิด แล้วก็กดปุ่มหาช่องสัญญาณ มีช่องสัญญาณ 80ช่อง แล้วแต่ในกลุ่มเราเลือกใช้ช่องไหน หลังจากเลือกช่องสัญญาณแล้ว เวลาพูดกดปุ่มพูดฝ่ายตรงข้ามก็จะได้ยิน แต่ถ้ามีการใช้ช่องสัญญาณเดียวกับกลุ่มอื่นเสียงอาจไม่ชัด เราก็สามารถตั้งค่าที่จะใช้เฉพาะกลุ่มได้อันนี้เปิดดูคู่มือเอาก็แล้วกัน แต่ถ้าใช้ในวิทยุสมัครเล่น ก็ต้องไปสอบขอใบอนุญาติจากกรมไปรษณีย์ แล้วเครื่องที่เลือกใช้ก็ต้องเป็นเครื่องที่ดีหน่อย ราคา ประมาณ 10,000 บาท ส่วน Spec รุ่นต่างๆ ก็หาดูได้จากทางอินเตอร์เนตเป็นหลักเช่น https://www.facebook.com/CQMag/
กิจกรรมวิทยุสมัครเล่นมีความน่าสนใจหลายประการเช่น
1.ได้ความรู้ เกี่ยวกับเรื่องคลื่น เรื่องอิเล็คทรอนิค ถ้าคนสนใจด้านเทคนิค ก็จะมีการทดลองปรับวิทยุได้ ลองทำจริงก็จะได้ความรู้ เช่นเราสามารถส่งสัญญาณได้แค่ใน รัศมี 1-2 กิโลเมตร แต่ถ้าเราดัดแปลงเสาอากาศ ปรับแล้วจะสามารถส่งสัญญานได้ไกลทั่วทั้งจังหวัดเลย
2.ได้รู้จักเพื่อนเพิ่มมากขึ้น อย่างถ้า บางทีคนเล่นวิทยุก็จะรวมกลุ่มคนที่สนใจเรื่องเหมือนๆ กัน แลัวก็ตั้งเป็นชมรมได้
3.ได้มีโอกาสช่วยเหลือผู้อื่น
สุดท้ายก็คือความมั่นคงในการติดต่อสื่อสาร
ในสถานการณ์บางอย่างเช่น สงคราม หรือภัยธรรมชาติ อาจจะกระทบต่อระบบการสื่อสารหลัก การสื่อสารทางวิทยุสื่อสารจะเข้ามาช่วยเสริมได้ ดังเช่นในอดีตในหลวงรัชกาลที่9 ได้ทรงใช้วิทยุสื่อสารในการช่วยเหลือประชาชนในเหตุการวาตภัยครั้งร้ายแรงในหลายๆครั้ง
เมื่อกว่า50ปีที่แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9ทรงเป็นผู้บุกเบิกกิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย และหวังว่ากิจการวิทยุสมัครเล่นนี้จะยังได้รับความสนใจ สมาชิกมีความสุภาพ และมีน้ำใจดีเยี่ยม ให้ทุกคนที่เข้ามา ช่วยกันรักษาสิ่งดีๆ และมารยาทกฎเกณฑ์ ต่างๆ ที่ดีงามเอาไว้ด้วยครับ
โฆษณา