26 ก.ย. 2020 เวลา 02:29 • ครอบครัว & เด็ก
"งานบุญเดือนสิบ หรือ งานชิงเปรต"
หรือ รับ-ส่ง ตายาย
เมื่อถึงเดือนสิบ (วิธีการนับแบบไทย ตามจันทรคติ)
หรือประมาณเดือนกันยายนของทุกปี
ทางภาคใต้ของประเทศไทย จะมีพิธีกรรม
ที่สำคัญคือ "งานบุญเดือนสิบ หรือ งานชิงเปรต"
ซึ่งจะจัดขึ้นสองครั้ง
ครั้งแรก หรือ เดือนสิบหนแรก
แรม 1 ค่ำ เดือน 10 รับตายาย / รับเปรต
ครั้งที่สอง หรือ เดือนสิบหนหลัง
แรม 15 ค่ำ เดือนสอบ ส่งตายาย/ส่งเปรต
ตามคติความเชื่อช่วงเวลานี้
สวรรค์ นรก โลกมนุษย์จะเชื่อมต่อกัน
ดวงวิญญาณบรรพบุรุษในแต่ละภพภูมิ
จะถูกปล่อยให้กลับมาพบลูกหลาน
ในวันแรม 1 ค่ำ และจะถูกเรียกกลับไป
ในภพภูมิ ในแรม 15 ค่ำ เดือน 10
ดังนั้นลูกหลานชาวใต้จึงต้องจัดพิธี
เซ่นไหว้ หรือที่เรียกว่า ไหว้ตายาย
โดยบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ก็ไปอยู่ในที่ๆแตกต่างกัน
บ้างก็ไปจุติบนสวรรค์ บ้างก็ปกปักษ์ดูแลรักษา
ลูกหลานที่บ้านเรือน บ้างก็อยู่ในนรก
หรือแม้แต่ไปเป็นเปรต ซึ่งการไหว้บรรพบุรุษนี้
เป็นการไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับ
ในทุกจำพวก ตั้งแต่ต่ำสุดจนถึงสูงสุด
โดยไม่เลือกปฏิบัติ เพราะทุกดวงวิญญาณ
จะดีจะร้ายก็คือบรรพบุรุษของลูกหลานทั้งสิ้น
ก่อนวันทำบุญจะมีกิจกรรมที่ต้องทำล่วงหน้า
3 วัน
วันแรก ทำขนมเจาะหู
วัตถุดิบมาจากแป้งข้าวจ้าว ผสมแป้งข้าวเหนียว
นวดให้เข้ากันกับน้ำตาลที่มาจากต้นตาลโตนด
ขนมเจาะหู
วันที่สอง ทำ ต้ม ข้าวต้ม
เป็นการผัดข้าวเหนียวกับน้ำกะทิ
สำหรับต้ม เอาข้าวเหนียวที่ผีดแล้ว
ใส่ในใบกะพ้อ มัดเป็นรูปสามเหลี่ยม
ส่วนข้าวต้มเอาข้าวเหนียวนั้น
ห่อกล้วยน้ำว้า และห่อด้วยใบตอง
นึ่งจนสุก
ต้ม ข้าวต้ม
วันที่สาม วันทำบุญ
จะนึ่งไก่ เป็นเครื่องไหว้
รวมถึงแกง หน่อไม้ผัดกุ้ง
แกงคั่วส้ม ไข่พะโล้ ผัดหมี่ ฯลฯ
หลังจากกิจกรรมวันที่ 3 (เช้ามืด)
ในการเตรียมข้าวแกง ของเซ่นไวห้แล้ว
ช่วงเช่าจะมีการไหว้ตายาย
ในบ้าน ซึ่งมีความเชื่อว่า บรรพบุรุษ ส่วนนึง
ที่เป็นคูหมอโนราห์ คูหมอตายาย เมื่อเสียชีวิตแล้ว
จะสิงสถิตอยู่ในบ้าน ซึ่งแต่ละบ้านจะมีห้องตายาย
ผูกผ้าเพดาน อันเชิญบรรบุรุษ มาร่วมวง
รับประทานของคาวหวาน ที่ลูกหลานจัดเตรียม
พิธีไหว้ตายาย คูหมอโนรา
หลังจากเสน็จสิ้นพิธีกรรมการไหว้คูหมอตายาย
ในบ้านแล้ว ช่วงสายๆก็จะมีการนำของคาวหวาน
ใส่ปิ่นโตไปไหว้บรรพบุรุษที่วัด
มีการทำบุญตักบาตร ให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับ
พิธีทำบุญตักบาตรที่วัด
เมื่อพระฉันเพลเสร็จ ก็จะเป็นพิธีกรรมสำคัญ
หรือเรียกว่าเป็นไไลท์ ของงานเดือนสิบ ก็ว่าได้
นั่นคือ "การชิงเปรต"
ลูกหลานในแต่ละบ้านจะนำ ขนมเจาะหู
ต้ม ข้าวต้ม ขนมเทียน ขนมลา ข้าวพอง
ฯลฯ บ้างก็ใส่เงินไปในถุง เพื่อนำไปวางบนร้านเปรต
ที่ถูกทำขึ้นให้สูง ตามความเชื่อว่า
บรรพุรุษผู้ล่วงลับ จำพวกหนึ่งไปเป็นเปรต
ก็จะเอาของไวห้ไปใส่ในร้านเปรต
ให้บรรพบุรุษเหล่านั้น มีกิน มาเอาของเหล่านั้น
กลับไปกินในภพภูมิของตัวเอง
ร้านเปรต
หลังจากที่เปรตกินเสร็จแล้ว ก็จะโยนของที่นำไปวาง
บนร้านเปรตลงมา ให้ลูกหลานได้ไปแย่งชิงกัน
จึงเรียกกันว่า ชิงเปรต หรือ แย่งของเปรตนั่นเอง
การชน การกระแทก กันถือเป็นเรื่องปกติ
ของที่ได้จากร้านเปรต มีความเชื่อว่า
เมื่อเราเอามากินก็จะเป็นศิริมงคล
หรือแม้แต่เอาไปแขวนไว้ตามต้นไม้
ก็จะผลิดอก ออกผลอย่างงอกงาม
เมื่อเสร็จการชิงเปรต ทุกคนก็แยกย้ายกลับไป
ทำหน้าที่ของตัวเองถือเป็นการจบพิธี
ทัศนคติ ความเชื่อ ของพิธีกรรมนี้
ทำให้ลูกหลาน ได้ระลึกถึง บรรพบุรุษ
ต้นธารแห่งสายเลือดของตระกูล
ที่ผ่องถ่ายทาง DNA จากรุ่นสู่รุ่น
เป็นการย้ำเตือนความทรงจำถึง
บรรพรุรุษผู้ล่วงลับ ย้ำเตือนความผูกพันธ์
ในขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่ ย้อนภาพจำ
ในวันเก่าๆในทุกๆปี
นอกจากนี้ ถือเป็นวันเครือญาติ
ที่ลูกหลานในแต่ละที่ จะเดินทางมารวมตัวกัน
ทำกิจกรรมร่วมกัน สร้างความผูกพันธ์
ในแนบแน่นในวงศาคณาญาติมากยิ่งขึ้น
ประเพณีและวัฒนธรรมโบราณที่สืบทอด
เป็นสิ่งดีที่บรรพบุรุษได้สืบสาน
แฝงวิธีคิดมากมายอยู่ในนั้น
แต่นับวันยิ่งเลือนหายไปจากความรู้สึก
ของเด็กรุ่นใหม่
และนี่คือ "งานบุญเดือนสิบ หรืองานชิงเปรต"
ประเพณีสำคัญ แห่งดินแดนปลายด้ามขวาน
โฆษณา