11 ต.ค. 2020 เวลา 01:00
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร : ฝันสลายของศิลปินและสาวกศิลปะ
วันที่ 11 กรกฎาคม 2539 ดร.พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครในขณะนั้น (ดำรงตำแหน่งปี 2539 – 2543) ได้มีมติสร้าง 'หอศิลปะร่วมสมัยแห่งกรุง
เทพมหานคร' ด้วยเงินลงทุน 300 ล้านบาท ถือเป็นหอศิลป์ร่วมสมัยแห่งแรกของ
กรุงเทพ สร้างความประหลาดใจและความปีติแก่ศิลปินน้อยใหญ่ทั่ววงการศิลปะ
ไทย เพราะกรุงเทพไม่เคยมีพื้นที่ลักษณะนี้มาก่อน เหล่าศิลปินและทางกรุงเทพมหา
นครร่วมกันวางศิลาฤกษ์ ณ เช้าวันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม 2543 ส่วนผู้ชนะประกวดการออกแบบอาคารคือ บริษัท โรเบิร์ต จี บุย แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด
แต่สัญญาณความล้มเหลวของหอศิลป์กรุงเทพก็เริ่มปรากฏ เมื่อสมัคร สุนทรเวช
ขึ้นเป็นผู้ว่ากรุงเทพฯ (ดำรงตำแหน่งปี 2543 – 2547) เขาเปลี่ยนนโยบายการ
สร้างหอศิลป์ เป็นการสร้างหอศิลป์ บวกศูนย์การค้า บวกที่จอดรถ สมการหอศิลป์
ของสมัครทำให้ศิลปินและผู้สนับสนุนศิลปะโกรธแค้น โครงการทั้งหมดจึงถูกระงับ
ในปี 2545 และกลับมาเดินหน้าต่อในปี 2548 ในสมัยของอภิรักษ์ โกษะโยธิน
(ดำรงตำแหน่งปี 2547 – 2551) โดยได้ชื่อใหม่ว่า 'หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร' มีมูลค่าการลงทุนถึง 550 ล้านบาท ใช้เวลาสร้างถึง 4 ปี และเปิดให้เข้า
ชมเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2551​​​​​​​
สัญญาณความล้มเหลวที่สอง คือปัญหาการออกแบบอาคารภายนอก เพราะ
สถาปัตยกรรมภายนอกที่ประหลาด ดูทึบทึม มีท่าทีไม่เป็นมิตรกับผู้ไปเยือน
ดูละหม้ายคล้ายเฉวียนใส่ข้าวเปลือก ไม่สื่อถึงความเป็นหอศิลป์แม้แต่น้อยเมื่อเทียบกับหอศิลป์ประเทศอื่น ทั้งยังมีเสียงประกาศตามสายในอาคารให้ผู้เข้าชมเลื่อนรถ
อยู่เนืองๆ ราวกับว่าสถานที่แห่งนี้หวนกลับสู่แนวคิด 'หอศิลป์ + ศูนย์การค้า + ที่
จอดรถ' นอกจากนี้ยังไม่มีการโฆษณาภายนอกอาคารให้ทราบถึงนิทรรศการและ
กิจกรรมต่างๆ ให้สมกับความเป็น 'หอศิลป์แห่งกรุงเทพมหานคร' ขณะที่ห้าง
สรรพสินค้าใหญ่ที่ฝั่งตรงข้ามอย่าง MBK และ Siam Discovery กลับโฆษณาอย่าง
เข้มข้นและมีชีวิตชีวามากหลายโข
สัญญาณที่สาม คือปัญหาการออกแบบภายในอาคาร ซึ่งมีสภาพเหมือนหอรถไต่ถัง ดูแล้วเวียนศรีษะ ทั้งยังมีก่อสร้างไม่เรียบร้อยราวกับรีบทำให้เสร็จโดยปราศจาก
การรักษาคุณภาพ ตัวอย่างเช่นเส้นยางที่อุดกระจกตามระเบียง รอยฉาบบนผนัง
และพื้นปูกระเบื้องยางตามห้องหับต่างๆ เริ่มโค้ง งอ หรือหลุดไปบ้างแล้ว ขณะที่การฉาบปูนจุดอื่นๆ และการวางปลั๊กไฟก็ไม่เรียบร้อย มีรอยตะปุ่มตะป่ำ นอกจากนี้พื้นที่ภายในห้องต่างๆ และทางเดินยังคับแคบ ศิลปินไม่สามารถจัดแสดงผลงานได้ได้
อย่างเต็มที่ ขณะที่ผู้ชมก็ไม่มีสมาธิกับการชื่นชมผลงาน เพราะพื้นที่แคบทำให้คน
หนาแน่นขึ้น
คงอีกนานนกว่าวงการศิลปินไทยจะได้ไปถึงฝั่งฝัน.
โฆษณา