ข้อ 29. สมาชิกหรือผู้ใช้ประโยชน์ในที่ดินแปลงจัดสรร ที่มีความประสงค์จะดัดแปลงแก้ไข หรือต่อเติมตกแต่งสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งกำแพงรั้ว ที่กั้นพื้นที่ในแปลงจัดสรร จะต้องส่ง
1.แบบก่อสร้าง และระยะเวลาที่ใช้ในการก่อสร้างต่อเติม โดยการต่อเติมสิ่งก่อสร้างจะต้องไม่กระทบต่อโครงสร้างของระบบสาธารณูปโภค หรือบริการสาธารณะของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และควรมีระยะเว้นจากผนัง ภายนอกอาคาร ถึงแนวเขตที่ดินแต่ละด้านโดยรอบตามที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด
2.ใบอนุญาตให้ทำการต่อเติมสิ่งก่อสร้างของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง กรณีการต่อเติมที่จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการ
3.ชื่อบริษัท หรือผู้รับเหมาทำการต่อเติมสิ่งก่อสร้าง และรายชื่อพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ที่จะเข้ามาทำการต่อเติมสิ่งก่อสร้างทุกคน โดยไม่มีข้อยกเว้น
ให้เจ้าหน้าที่นิติบุคคล หรือคณะกรรมการตรวจสอบก่อนดำเนินการ และจะอนุญาตได้ต่อเมื่อได้ตรวจสอบแล้ว เห็นว่าไม่กระทบกระเทือนต่อโครงสร้างและงานระบบต่าง ๆ รวมถึงระบบสาธารณูปโภค และบริการสาธารณะ และ / หรือ ไม่ฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบ ของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
ข้อ 30. เจ้าของบ้านมีหน้าที่ตรวจดุแบบให้ถี่ถ้วนว่าการก่อสร้าง ต่อเติมอาคารจะต้องไม่ล้ำเข้าไปในที่สาธารณะหรือต้องห่างเขตที่ดินไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด เจ้าบ้านมีหน้าที่ทำความเข้าใจกับเพื่อนบ้านและต้องได้รับอนุญาตจากเพื่อนบ้านเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในภายหลัง
ข้อ 31.ก่อนเริ่มดำเนินการก่อสร้างไม่น้อยกว่า 15 วัน เจ้าของบ้านต้องได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างต่อเติมเจ้าหน้าที่นิติบุคคล และนิติบุคคลจะอนุมัติให้ก่อสร้างต่อเติมได้เมื่อตรวจสอบแล้วเห็นว่าการก่อสร้างต่อเติมนั้นไม่มีผลกระทบต่อโครงสร้างของระบบสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ หรือทรัพย์สินส่วนกลางใดๆ ของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร รวมทั้งไม่เป็นการฝ่าฝืน ระเบียบข้อบังคับ หรือเป็นอุปสรรคต่อการรักษาความปลอดภัยของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และไม่เป็นผู้ที่ค้างชำระค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคประจำเดือน โดยแจ้งผลการอนุมัติ หรือไม่อนุมัติการก่อสร้างต่อเติม ให้ทราบ ภายใน 15 วัน
ข้อ 32. เมื่อได้รับอนุมัติให้ดำเนินการแล้วการดำเนินการตามข้อ 31. สมาชิกหรือผู้ใช้ประโยชน์ที่ดินแปลงจัดสรรจะต้องวางเงินค้ำประกันหรือ แคชเชียร์เช็คสั่งจ่าย นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ศุภาลัย วิลล์ กรุงเทพ-ปทุมธานี โดยจะคืนเงินค้ำประกัน หรือแคชเชียร์เช็ค ภายใน 15 วัน ซึ่งได้วางหลักเกณฑ์อัตราค่าวางเงินค้ำประกันไว้ดังนี้
ในกรณีมีการก่อสร้างอาคารบนที่ดินเปล่าต้องวางเงินประกันในอัตรา20,000 บาท
ในกรณีมีการรื้อถอนต่อเติมอาคารหรือก่อสร้างรั้วต้องวางเงินประกันในอัตรา 10,000 บาท
ในกรณีมีการซ่อมแซมอาคารทาสีบ้านหรือจัดสวนต้องวางเงินประกันในอัตรา 3,000 บาท
ข้อ 33. กำหนดให้คณะกรรมการ เป็นผู้กำหนดระเบียบปฏิบัติเพิ่มเติมนอกเหนือจากระเบียบนี้ เพื่อให้การปฏิบัติงานของผู้รับเหมา ช่าง หรือคนงาน เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่รบกวนต่อสมาชิกข้างเคียง และสมาชิกอื่น และไม่ทำให้สาธารณูปโภค และการบริการ สาธารณะชำรุดเสียหาย และกำหนดให้เจ้าหน้าที่ นิติบุคคลเป็นผู้ควบคุมให้เป็นไปตามระเบียบ ดังต่อไปนี้
(1)ห้ามมิให้ทำงานที่เกิดเสียงดังเกินเป็นเวลานาน ซึ่งจะเป็นการรบกวนสมาชิกข้างเคียง และทำงานได้ในวันจันทร์-วันเสาร์ เวลา 08.00-17.00 น. ห้ามเข้าในวันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
(2)ไม่อนุญาตให้ผู้รับเหมา ช่าง หรือคนงาน เข้ามาพักอาศัยภายในหมู่บ้าน และบริเวณภายในบ้านของสมาชิก เนื่องจากรบกวนการพักอาศัยของสมาชิกโดยทั่วไป และอาจก่อให้เกิดปัญหาในการรักษาความปลอดภัยได้
(3)การเข้า -ออก ในแต่ละวันของผู้รับเหมา ช่าง และคนงานทุกคน จะต้องมีการแลกบัตรประจำตัวที่ทางราชการออกให้ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวข้าราชการ และใบอนุญาตขับขี่ เป็นต้น และจะต้องถ่ายสำเนาบัตรดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่ง พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง ส่งให้แก่สำนักงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรก่อนเข้ามาทำงานในหมู่บ้าน ด้วย
(4)ห้ามก่อกองไฟหุงต้มอาหาร หรือทำให้เกิดควันไฟ หรือเปิดวิทยุ โทรทัศน์เสียงดังรบกวนสมาชิกข้างเคียง
(5)ห้ามคนงานเดินเพ่นพ่าน หรือไปจับกลุ่มคุยกันหรือเมียงมองหรือสนิทสนมกับสาวใช้บ้านอื่นและห้ามเล่นการพนันหรือดื่มสุรา
(7) ห้ามคนงานนำสัตว์เลี้ยงเข้ามาในหมู่บ้าน
(8) ให้คนงานทำงานบริเวณพื้นที่ด้วยความสงบ มิให้ก่อความเดือดร้อนใด ๆ ถ้าหากได้รับแจ้งจากสมาชิกบ้านข้างเคียงว่าคนงานได้ก่อความเดือดร้อนเป็นที่รำคาญ หรือส่อเค้าในทางทุจริตใด ๆ ทั้งปวง เจ้าหน้าที่นิติบุคคลมีอำนาจไม่ให้บุคคลเหล่านี้ เข้าทำงานในหมู่บ้านได้
(9)ผู้รับเหมาต้องจัดหาผ้าใบมาติดตั้งเพื่อป้องกันฝุ่นละอองที่เกิดจากการทำงานมิให้ปลิวกระจายไปบ้านข้างเคียง และจะต้องระวังเศษวัสดุหล่นลงไปในบ้านข้างเคียง ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายได้ห้ามผสมปูน และวัสดุเปรอะเปื้อนบนถนนและทางเท้า หรือปล่อยให้เศษวัสดุ เช่น เหล็ก ไม้ อิฐปูน หิน ดิน ทราย น้ำปูน ไหลลงท่อระบายน้ำ และเมื่อเลิกงานในแต่ละวัน ให้เก็บทำความสะอาดเศษวัสดุไม่ให้มีบนถนน เช่น เศษเหล็ก ตะปู หรือเศษใบไม้ เป็นต้น หากไม่มีการดำเนินการทำความสะอาดเมื่อเลิกงานในแต่ละวัน คณะกรรมการนิติบุคคลสามารถหักเงินค้ำประกันความเสียหายเพื่อดำเนินการจ้างบุคคลอื่นทำความสะอาดให้เรียบร้อยได้
(10)เมื่อเสร็จงานปูนแต่ละวัน ให้ตรวจดูความเรียบร้อยของบ่อพักท่อระบายน้ำ ด้วยว่ามีหิน ทราย หรือน้ำปูน ค้างที่บ่อพักหรือไม่ ถ้ามีให้ดำเนินการเก็บกวาดให้เรียบร้อย
(12)ให้เก็บหรือกองวัสดุในบ้านของสมาชิกผู้ว่าจ้างเท่านั้น ห้ามวางวัสดุ อิฐ หิน ไม้ ปูน ทราย หรือสิ่งอื่นใดลงบนพื้นถนน หรือพื้นทางเท้า สนามหญ้า หรือบนแปลงที่ดินของบุคคลอื่น
(13)การใช้ความเร็วของยานพาหนะไม่เกิน 20 ก.ม. / ช.ม. และพาหนะจะต้องไม่มีเสียงดังเกินเกณฑ์ที่กำหนดโดยเจ้าพนักงานจราจร ไม่มีควันดำ มีสภาพการใช้งานที่สมบูรณ์
(14)การขนย้ายวัสดุ การขนวัสดุ ซึ่งทำให้เกิดความสกปรกบนพื้นถนน หรือความเสียหายกับถนน หรือสาธารณูปโภคต้องรีบดำเนินการแก้ไขให้อยู่ใสภาพเดิมทันที
(15)ห้ามนำเข้าหรือขนย้ายวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือออกในช่วงเวลายามวิกาลตั้งแต่เวลา 18.00 – 07.00 น. ของวันถัดไป และห้ามขนย้ายโดยรถบรรทุกสิบล้อขึ้นไป เพราะจะทำให้พื้นถนนทรุดเสียหาย และหากทำให้ทรัพย์สินของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรเสียหายเจ้าของรถและสมาชิกผู้ว่าจ้าง จะต้องชดใช้ค่าเสียหายเต็มจำนวนในการซ่อมแซมเพื่อให้ใช้งานได้ดีดังเดิม
(16)ต้องช่วยกันรักษาความสะอาดในบริเวณที่ก่อสร้าง รวมถึงการจัดหาถังขยะไว้ใช้งานไห้ถูกสุขลักษณะ ไม่ให้รบกวนสมาชิกข้างเคียง
(17) ผู้รับเหมาที่ทำงานจัดสวน หรือทำสนามหญ้า ห้ามทำดินลงในท่อ และจะต้องขนดินให้เข้าภายในบริเวณสถานที่ทำงานให้หมดภายในวันนั้น ต้นไม้ใบหญ้าจะต้องขนออกไปทิ้งนอกหมู่บ้าน ห้ามกองไว้ข้างถังขยะเด็ดขาด
(18) ผู้รับเหมาตัดหญ้า ตกแต่งสวน หรือผู้รับเหมาก่อสร้าง จะต้องนำเศษหญ้า ต้นไม้ กิ่งไม้ หรือวัสดุ ก่อสร้างที่เกิดจากการทำงานออกไปทิ้งนอกหมู่บ้าน ห้ามกองไว้นอกถังขยะ หรือทาง เท้าหน้าหมู่บ้านโดยเด็ดขาด
(19) การทำงานเชื่อมถนนในตัวบ้านกับถนนของหมู่บ้าน การขุดรื้อคันหิน บล็อกปูทางเท้า ต้นไม้ ต้องระวังเรื่องท่อประปา ท่อระบายน้ำ ซึ่งอาจชำรุด เสียหายได้ และจะต้องปูบล็อกทางเท้ากลับสภาพเดิม เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของหมู่บ้าน และพึงหลีกเลี่ยงการทำงานบริเวณถนนทางเชื่อมตรงกับแนวเสาไฟฟ้า ฝาบ่อพักท่อระบายน้ำ และการทำทางเข้าออกใหม่ นอกเหนือจากทางเข้าออกเดิม ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เพื่อการรักษาทัศนียภาพโดยรวมของหมู่บ้าน
(20)การทำรั้ว ต้องยึดแนวเขตเป็นหลัก ห้ามดำเนินการก่อสร้างรุกล้ำ พื้นที่ส่วนกลางของหมู่บ้านทั้งบนดิน ใต้ดิน และในอากาศ ส่วนแนวรั้วที่ติดกับแปลงที่ดินข้างเคียงทั้งด้านข้าง และด้านหลังให้ยึดแนวของขอบรั้ว เมื่อสร้างเสร็จแล้วไม่ให้เกินแนวหลักเขต และพึงระวังมิให้แนวหลักเขตเคลื่อนย้าย หรือชำรุดเสียหาย หากมีการเปลี่ยนแปลงแนวรั้วที่ติดกับแปลงที่ดินข้างเคียงจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกข้างเคียงก่อน ดำเนินการ และจะต้องแจ้งให้คณะกรรมการทราบล่วงหน้า เป็นลายลักษณ์อักษร
(21)การต่อเชื่อมท่อระบายน้ำจากตัวบ้านกับท่อสาธารณะจะต้องเชื่อมต่อและยาแนวปิดรอยเชื่อมให้เรียบร้อยเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาเกี่ยวกับดินไหลลงท่อระบายน้ำ ซึ่งอาจทำให้เกิดการอุดตันได้
(22)ในกรณีที่มีการต่อเติมอาคารติดแนวรั้ว ต้องทำรางน้ำเพื่อป้องกันน้ำกระเด็นไปทำความเสียหายให้บ้านข้างเคียง
(23)ต้องให้ความร่วมมือกับ ผู้จัดการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรเจ้าหน้าที่นิติบุคคล และพนักงานรักษา
ความปลอดภัยในกรณีที่ทางบริษัทผู้รับเหมา หรือผู้รับจ้างไม่ให้ความร่วมมือ อันเป็นการก่อให้เกิดการเสียหายกับทางหมู่บ้าน และสมาชิกโดยส่วนรวม หรือรบกวนความสุขสงบของ ผู้อื่น ทางคณะกรรมการ ต้องของดการทำงานหรือควบคุม การเข้า-ออกในหมู่บ้าน
(24)การดำเนินการตามข้อ 33. (1) - (23) หากฝ่าฝืนกฎระเบียบและข้อบังคับฉบับนี้ คณะกรรมการจะดำเนินการตาม
ข้อบังคับ และระเบียบ ตามขั้นตอน โดยจะต้องให้ผู้รับเหมาหยุดดำเนินการและชี้แจงเหตุผล ความเสียหาย พร้อมทั้งกำหนดแผนการดำเนินการ แผนการแก้ไข หรืองานซ่อมแซม และเมื่อทราบแน่ชัดว่าเกิดจากการกระทำของผู้รับเหมาหรือบริวาร ให้ผู้รับเหมาดำเนินการแก้ไขให้เรียบร้อย หากไม่ดำเนินการให้คืนสู่สภาพเดิมคณะกรรมการจะหักเงินค้ำประกัน เพื่อจัดจ้างผู้รับเหมาอื่นให้แก้ไขให้เรียบร้อย และ / หรืออาจพิจารณาห้ามมิให้ผู้รับเหมาเข้ามาทำงานในหมู่บ้านโดยเด็ดขาด และในกรณีตรวจสอบโดยแน่ชัดแล้วว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นมาจากที่ดินแปลงจัดสรร ของสมาชิก สมาชิกเจ้าของที่ดินแปลงจัดสรรดังกล่าว จะต้องยินยอมให้เจ้าหน้าที่ของนิติบุคคล เข้าทำการตรวจสอบและแจ้งรายการซ่อมแซม และสมาชิกเองจะต้องซ่อมแซมแก้ไขทรัพย์ดังกล่าว ให้กลับสู่สภาพการใช้งานได้ตามปกติ โดยค่าใช้จ่ายของสมาชิกเอง หากไม่ดำเนินการซ่อมแซม นิติ บุคคลหมู่บ้านจัดสรร จะเป็นผู้ดำเนินการซ่อมแซมและสมาชิกต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมด
(25)การใด ๆ ที่นอกเหนือจาก ข้อ33. (1) - (24) ให้อยู่ในความเห็นชอบของคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
ข้อ 34. การขอคืนเงินค้ำประกันเมื่องานต่อเติมสิ่งก่อสร้างเสร็จแล้ว เจ้าของบ้านต้องแจ้งให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรทราบเพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินส่วนกลาง ร่วมกับเจ้าของบ้านและผู้รับเหมา หากไม่ถูกต้องตามแบบที่ขออนุญาตไว้มากเกินกว่าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด หรือไม่เป็นไปตามหลักวิศวกรรมและ/หรือ ทำให้เกิดผลกระทบกับทรัพย์สินส่วนกลางของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือสมาชิกอื่น เจ้าของบ้านมีหน้าที่ต้อง ทำการแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อน
ข้อ 35.ในกรณีการก่อสร้างต่อเติมที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินส่วนกลาง หรือทรัพย์สินของสมาชิกรายอื่น เจ้าของบ้านมีหน้าที่ซ่อมแซม แก้ไขกลับคืนให้สู่สภาพใช้งานได้ดีดังเดิม
ข้อ 36. การก่อสร้างต่อเติม ที่เป็นไปตามระเบียบและไม่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินใดๆของส่วนกลางหรือทรัพย์สินของผู้อื่น ซึ่งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตรวจสอบแล้วว่าไม่มีข้อบกพร่องใดๆ หรือข้อบกพร่องแต่ได้แก้ไขแล้วตามข้อ 35. ดังกล่าว หรือหักเงินค่าเสียหายจากเงินค้ำประกันแล้วยังคงมีเงินค้ำประกันส่วนที่เหลือ ให้เจ้าของบ้านที่ยื่นขอคืนเงินค้ำประกันทั้งหมด หรือเงินค้ำประกันส่วนที่เหลือแล้วแต่กรณีได้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้ตรวจสอบความเรียบร้อยเสร็จสิ้นโดยไม่มีดอกเบี้ยแต่อย่างใด
ข้อ 37. ให้คณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์หรือแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการต่อเติมสิ่งก่อสร้างเพิ่มเติมให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของสมาชิก และนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้ โดยไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้
ข้อ 38. บทกำหนดโทษ ของการก่อสร้าง ต่อเติม ที่ไม่ถูกต้องตามแบบข้อ 35. หรือฝ่าฝืนระเบียบ และ/ หรือทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินส่วนกลางหรือทรัพย์สินของสมาชิกรายอื่น หากเจ้าของบ้านไม่ทำการแก้ไขหรือ แก้ไขแล้วยังไม่ถูกต้อง ต้องยินยอมให้นิติบุคคล
หมู่บ้านจัดสรรดำเนินการแก้ไข โดยเจ้าของบ้านเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น และให้หักค่าใช้จ่ายจากเงินค้ำประกันความเสียหาย หากเงินค้ำประกันไม่พอชำระค่าเสียหาย เจ้าของบ้านต้องชำระค่าเสียหายเพิ่มเติมให้ครบถ้วนภายใน 30 วันที่ได้รับแจ้งจากนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
ข้อ 39. กรณีเจ้าของบ้านไม่ชำระเงินค่าเสียหายเพิ่มเติมให้ครบถ้วนตามข้อ 38. และเจ้าหน้าที่นิติบุคคลได้ทวงถามแล้ว นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีอำนาจดำเนินการฟ้องร้องดำเนินคดีให้ชำระค่าเสียหาย ค่าทนามความ และค่าธรรมเนียม อื่นๆ ให้ครบถ้วน
กฎระเบียบหมวดที่ 7
การเลี้ยงสัตว์