29 ก.ย. 2020 เวลา 05:50 • ธุรกิจ
เบื้องหลังความสำเร็จของ Zoom! และทิปการใช้ Zoom อย่างปลอดภัย
ในช่วงล็อคดาวน์โควิดที่ผ่านมาเชื่อว่าเพื่อน ๆ ชาวออฟฟิศ ตลอดจนนักเรียน นักศึกษาคงจะคุ้นเคย หรือ คุ้นหูกับแอฟฟลิเคชั่นที่ช่วยให้การประชุมรวมกลุ่มแช๊ตออนไลน์ทำได้สะดวกรวดเร็ว แอฟฯพระเอกที่ว่านั่น คือ Zoom นั่นเอง
Zoom เป็นแอฟ ฯ ที่ใช้ในการประชุม Vdo Conference ผ่าน Internet และการสัมมนาออนไลน์ใช้ได้ทั้งกับ PC และ โทรศัพท์มือถือ ด้วยความที่มันใช้ง่าย รองรับได้หลายระบบปฏิบัติการ แถมให้ภาพและเสียงที่คมชัด แอฟ ฯ ก็ไม่สะดุด ที่สำคัญที่สุด คือ ค่าใช้บริการที่ถูกกว่าเมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่าง Skype ของ Microsoft หรือ Hangouts ของ Google Zoom จึงเป็นแอฟ ฯ ที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว จน Zoom กลายเป็น “ยูนิคอร์น” หรือ บริษัท Startup ที่มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว สามารถเพิ่มมูลค่าของบริษัทให้มีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยใช้ระยะเวลาเพียง 4 ปีเท่านั้น !
แต่เพื่อน ๆ ทราบหรือไม่ว่าผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ Zoom นั้น เป็นอดีตวิศวกรชาวจีนที่ อพยพไปทำงานในสหรัฐ ในช่วงปลายทศวรรษที่ 90 เรื่องราวของเค้า ตลอดจนความสำเร็จของแอฟลิเคชั่น Zoom เป็นที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ผู้เขียนจึงอยากเล่าเรื่องราวเหล่านี้ให้เพื่อน ๆ ลองฟังกันดูนะคะ
ภาพ Zoom โดย Jason Johnston
ผู้ก่อตั้งแอฟฯ Zoom มีชื่อว่า Eric S. Yuan เค้าเป็นชาวจีนแผ่นดินใหญ่โดยกำเนิด Yuan เกิดที่เมืองไท่อัน มลฑลชานตง ทางภาคตะวันออกของจีน Yuan จบปริญญาตรี ด้าน คณิตศาสตร์ประยุกต์ และ ปริญญาโทด้าน วิศวกรรมธรณี ในช่วงวัยรุ่นเค้ามีความฝันว่า อยากจะประดิษฐ์ โปรแกรมวีดีโอคอล เพราะบ้านที่เค้าอยู่ห่างจากบ้านของแฟนสาวถึง 10 ชั่วโมงหากเดินทางด้วยรถไฟ (ไกลมาก ๆ) นี่อาจจะเป็นสิ่งที่จุดประกายความฝันของเค้าซึ่งต่อมาได้กลายเป็นแอฟฯ Zoom ที่ฮิตติดเทรนด์ในขณะนี้ก็ได้
หลังจากจบโท Yuan ก็ย้ายเข้าไปทำงานในกรุงปักกิ่ง ต่อมาในปี 1995 เค้าได้มีโอกาสฟังสุนทรพจน์ของ Bill Gate ในระหว่างที่ถูกส่งไปฝึกงานที่ญี่ปุ่น สิ่งนี้สร้างแรงบรรดาลใจให้ Yuan อยากไปทำงานที่ Silicon Valley เค้าได้ใช้ความพยายามอย่างมากในการที่จะให้ได้งานในอเมริกา Yuan ในขณะนั้นพูดภาษาอังกฤษได้เพียงเล็กน้อย แต่ในที่สุดหลังจากที่เค้าใช้ความพยายามถึง 9 ครั้ง ในการสมัครวีซ่าของอเมริกา Yuan ก็ประสบความสำเร็จ เค้าได้งานในตำแหน่งวิศวกรของบริษัท WebEx หนึ่งในบริษัท Startup รุ่นแรก ๆ ด้าน Web Conference เค้าได้ย้ายไปเริ่มชีวิตการทำงานที่อเมริกาในปี 1997
Yuan เป็นหนึ่งในทีมผู้บุกเบิกซอฟต์แวร์ของ WebEx บริษัทนี้ประสบความสำเร็จด้วยดีจน Cisco System ได้เข้าซื้อ WebEx ในปี 2007 Yuan ซึ่งทำงานกับ WebEx มาตลอดได้เจริญก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ เค้าได้ขึ้นเป็นรองประธานของ WebEx และทำให้บริษัทนี้มีรายได้สูงถึง $800 ล้านเหรียญสหรัฐ มีทีมวิศวกรถึง 750 คน จากที่เมื่อตอน Yuan เริ่มต้นทำงานกับ WebEx มีทีมวิศวกรเพียงแค่ 20 คนเท่านั้น
ถึงแม้บริษัทและหน้าที่การงานของเค้าจะอยู่ในช่วงขาขึ้น แต่ Yuan ตระหนักดีว่าแอฟ ฯ ของ WebEx กำลังมีปัญหา ซึ่งปัญหาที่สำคัญก็ คือ
• การเชื่อมต่อของสัญญาณไม่เสถียร
• ภาพและเสียงมีการดีเลย์
• การติดตั้งซอฟต์แวร์มีความยุ่งยาก
ในขณะนั้นเพราะมีคู่แข่งน้อยจึงทำให้ WebEx ยังคงเป็นผู้นำในตลาดอยู่ได้ Yuan ได้รับฟังปัญหาจากลูกค้าเป็นจำนวนมาก เค้าได้ถกปัญหาเหล่านี้กับผู้บริหารแต่ก็ไม่มีใครสนใจ จนในที่สุดเมื่อทนแรงกดดันไม่ไหว Yuan ก็ตัดสินใจลาออกจาก WebEx ในปี 2011 เค้านำทีมเพื่อนวิศวกรที่เห็นด้วยกับแนวทางของเค้ามาตั้งบริษัทใหม่ Yuan ได้เอาประสบการณ์ของเค้าจาก WebEx และข้อท้วงติงจากลูกค้ามาพัฒนา Video Conference แอฟ ฯ ตัวใหม่ เค้าสามารถหาเงินลงทุนเริ่มต้นในโปรเจคนี้ได้ $3 ล้านเหรียญสหรัฐ
หลังจากนั้นอีก 2 ปี แอฟลิเคชั่น Zoom ก็ได้เปิดตัวสู่ตลาดโดยเปิดตัวเป็น Video Call Conference แอฟ ฯ ต่อมา Zoom ก็ได้ออก Zoom Beta Version ในปี 2012 เมื่อทำการทดสอบจนได้ผลเป็นที่น่าพอใจแล้ว Zoom ก็ออกแอฟ ฯ รุ่นที่ใช้งานจริงในเดือนมกราคม ปี 2013 ซึ่งก็ได้รับการตอบรับอย่างดีในหมู่ผู้ใช้งาน
สิ่งที่ทำให้ Zoom ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ก็เพราะว่า
•Zoom มีลูกเล่นของแอฟ ฯ ให้ผู้ใช้งานมากกว่าแอฟ ฯ คู่แข่ง
•Zoom ให้ฟรีออฟชั่นสำหรับผู้ใช้งานระดับเบสิค โดยไม่จำเป็นต้องใส่ข้อมูลเครดิตการ์ด นอกจากนี้ยังให้ออฟชั่นฟรีสำหรับการประชุมกลุ่ม โดยสามารถมีผู้เข้าร่วมใช้งานพร้อมกันถึง 100 คน และให้เวลาประชุมกลุ่มได้ฟรีสูงสุดถึง 40 นาที สำหรับการประชุมแบบ 1:1 ก็ฟรีตลอดอีกด้วย
•Zoom ใช้ได้กับหลาย Web Browsers ไม่ว่าจะเป็น Firefox, Chrome, หรือ Safari และสามารถใช้ได้กับหลายระบบปฏิบัติการ เช่น Mac, PC, Linux, Android, และ iOS
•Zoom ใช้ Data ในการทำงานของแอฟ ฯ น้อย ดังนั้นแอฟ ฯ จึงยังคงทำงานได้ดีแม้ในที่ ๆ มีสัญญาณ Internet ต่ำ
•ที่สำคัญ คือ Zoom ยึดหลักที่ว่า การสนทนาทาง Internet จะยอมให้เกิดระยะเวลาของการดีเลย์ได้ไม่เกิน 0.15 วินาที ทั้งนี้เพื่อทำให้การพูดคุยกันผ่านแอฟ ฯ Zoom ดูเป็นธรรมชาติ อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ คือ เวลาเราพูดคุยประชุมกันผ่านออนไลน์ บางครั้งมันจะเกิดการดีเลย์จนฟังกันไม่รู้เรื่อง และระยะเวลาที่เริ่มทำให้เรารู้สึกว่าการพูดคุยกันทางออนไลน์เริ่มไม่เป็นธรรมชาติคือเวลา 0.15 วินาทีขึ้นไป ดังนั้น Zoom จึงพัฒนาให้แอฟ ฯ มีการดีเลย์ได้น้อยกว่า 0.15 วินาที
ด้วยการพัฒนาแอฟ ฯ ให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน แอฟ ฯ Zoom ได้รับความนิยมจนทำให้มูลค่าของบริษัทเพิ่มเป็น $1 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2017 และเมื่อโควิด-19 แพร่ระบาดไปทั่วโลก พนักงานบริษัทต้องทำงานจากที่บ้าน แอฟ ฯ Zoom ก็เหมือนโดนส้มหล่นใส่ กลายเป็น Video Conference แอฟ ฯ ที่ฮิตติดลมบนแซงหน้าคู่แข่ง ในเดือนเมษายน 2019 Zoom มีมูลค่าบริษัทสูงถึง $16,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในเดือนมีนาคม 2020 ตัวเลขรายได้ของ Zoom เพิ่มขึ้น 88% เมื่อเทียบกับตัวเลขรายได้ในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2019
ถึงแม้ว่า Zoom จะเติบโตอย่างรวดเร็วและทำกำไรได้งดงามแต่ปัญหาที่สำคัญของ Zoom ในขณะนี้ คือ ปัญหาด้านความปลอดภัยของข้อมูลของผู้ใช้งาน มีการรายงานว่า มีการรั่วไหลของข้อมูล Email ของผู้ใช้งาน และ ซอฟต์แวร์อาจมีช่องโหว่ให้แฮกเกอร์เข้ามาล้วงข้อมูลได้
ยิ่งไปกว่านั้นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนยังทำให้เกิดความหวาดระแวงด้านความมั่นคงของการใช้แอฟ ฯ Zoom ซึ่งมีการจ้างทีมโปรแกรมเมอร์ในจีนพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ จน CEO Eric Yuan ต้องออกมาพูดปฏิเสธข่าวลือที่เค้ามีสายสัมพันธ์กับรัฐบาลจีน
ถ้าหากจะถามว่าแอฟ ฯ Zoom มีความปลอดภัยด้านข้อมูลมากน้อยเพียงไร ? เรายังคงใช้แอฟ ฯ นี้ได้ไหม ? คำตอบก็คือ ถ้าเพื่อน ๆ ใช้แอฟ ฯ นี้เพื่อพูดคุยกับเพื่อน ประชุมงานกลุ่มโรงเรียน มันก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าข้อมูลนั้นมีความสำคัญเป็นความลับ เช่น การประชุมที่เป็นความลับของบริษัทหรือหน่วยงานของรัฐ ก็ไม่ควรเสี่ยง
ในขณะนี้ Zoom ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาด้านความปลอดภัยในการใช้แอฟ ฯ อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดีอาชญากรทางไซเบอร์ก็พัฒนาตัวเองให้ก้าวล้ำนำหน้าการรักษาความปลอดภัยเหล่านี้เช่นกัน ดังนั้นการป้องกันตนเองของผู้ใช้งานจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
ผู้เขียนได้รวบรวมวิธีการใช้งานแอฟ ฯ Zoom อย่างปลอดภัยมาฝากกัน ซึ่งได้แก่
•เปิดใช้งาน Zoom ผ่านทาง Web Browser แทนที่จะเปิดใช้งานจากโปรแกรมที่โหลดลงเครื่อง ทั้งนี้เพราะเวอร์ชั่นใน Web Browser มีการอัปเดทป้องกันด้านความปลอดภัยของข้อมูลเร็วกว่าเวอร์ชั่นที่โหลดลงเครื่อง
•เมื่อมีการจัดประชุมผ่าน Zoom ต้องให้ผู้เข้าร่วมประชุม “เข้าใช้งานด้วยการใส่ Password” ทุกครั้ง
•ให้มีการล็อคอินด้วยสองอุปกรณ์ (Two-Factor Authentication) เช่น เวลาล็อคอินทาง เครื่องคอม ฯ ก็จะมีการส่งโค้ดไปที่มือถือ แล้วเราต้องใส่โค้ดนั้นในเครื่องคอม ฯ อีกที่ถึงจะเข้าใช้งานได้
ในมุมมองของผู้เขียนคิดว่าการที่ Zoom ประสบความสำเร็จอย่างมากนั้น มีสาเหตุมาจาก 3 ปัจจัย คือ
1. การมีเป้าหมายที่ชัดเจน Yuan มีเป้าหมายว่าเค้าต้องการพัฒนา Video Call Conference ซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพสูง และก็มุ่งมั่นพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งจนทำได้สำเร็จ
2. การถือความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ Zoom ทำการพัฒนาซอฟต์แวร์โดยใส่ใจในความต้องการของลูกค้า รับฟังปัญหาและทำการปรับแก้ไขจนเป็นที่ถูกใจของผู้ใช้งาน
3. การมองการไกลไม่มุ่งหวังแต่ผลกำไรเฉพาะหน้า การที่ Zoom เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานแบบเบสิคใช้งานได้ฟรี ถือเป็นความฉลาดทางการตลาดอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้ผู้ใช้งานได้ทดลองใช้โปรแกรม นอกจากนี้การที่ไม่ขอข้อมูลบัตรเครดิตยังทำให้คนเกิดความเชื่อใจกล้าใช้โปรแกรม โดยไม่ต้องกลัวว่าข้อมูลบัตรจะรั่วไหล เมื่อใช้แล้วดีแถมยังฟรีด้วยก็จะเกิดการบอกต่อในหมู่ผู้ใช้งานจนทำให้ขยายฐานลูกค้าได้เพิ่มขึ้น จนในที่สุดก็ได้กลุ่มลูกค้าที่เป็นบริษัทและหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าที่ยอมจ่ายเงินค่าบริการเพื่อให้ได้เเพคเกจที่สูงกว่า อันเป็นที่มาของรายได้ของบริษัทในที่สุด
Zoom ยังคงพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง โดยตั้งเป้าการเป็นผู้นำในโลกการสื่อสารยุคดิจิตอล หนึ่งในโปรเจคที่ Zoom กำลังพัฒนาคือการใช้ Zoom Phone แทนที่การใช้โทรศัพท์ตามออฟฟิศที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ในขณะเดียวกันก็พยายามที่จะรักษามาตรฐานของซอฟต์แวร์ให้มีประสิทธิภาพต่อไป
แน่นอนว่าในโลกของเทคโนโลยีที่การแข่งขันสูง และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เราคงต้องจับตามองกันว่า Zoom จะพัฒนาไปในทิศทางใดเพื่อคงความเป็นผู้นำในตลาดนี้
แหล่งข้อมูล
โฆษณา