1 ต.ค. 2020 เวลา 06:49 • การเมือง
หุ่นยนต์มีแนวโน้มว่าจะฉลาดกว่าแม้กระทั่งตัวผู้สร้างหุ่นยนต์ขึ้นมาเอง?! มนุษย์จะยอมรับและรับมือได้หรือไม่? 🤖
หุ่นยนต์ที่มีแนวโน้มว่าจะฉลาดกว่าตัวผู้สร้างหุ่นยนต์ขึ้นมาเอง?! การปลดพนักงาน? มนุษย์อย่างเราจะมีพื้นที่ในสังคมหรือไม่ในอนาคต?
คำถามเหล่านี้ได้เกิดขึ้นกับหลายๆท่าน แม้กระทั่งผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีเองยังกังวล กับปัญหาที่อาจตามมาหลังทุกสิ่งอย่างได้แปลสภาพกลายเป็นอัตโนมัติทั้งหมด
Siam Management Review เองยังไม่แน่ใจเลยว่านวัตกรรมเหล่านี้ดีหรือไม่ดีอย่างไร ปัญหาที่สำคัญหลักๆเลย คือผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่แค่ในระดับองค์กร แต่เป็นในระดับสังคมประเทศและทั่วโลก
ศาสตราจารย์สตีเฟน ฮอว์คิง นักวิจัยจากเคมบริดจ์แบ่งปันความคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ในการให้สัมภาษณ์กับ The Guardian ทิ้งไว้ให้คนรุ่นหลังอย่างเราได้คิดไตร่ตรอง
“การนำเอาระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรม ทำให้แรงงานมนุษย์ถูกใช้น้อยลงเป็นจำนวนมหาศาล และยังคงดำเนินการต่อไปเรื่อยๆในอนาคต
ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคือ บุคคลชั้นกลาง ที่หาเช้ากินค่ำ เป็นที่น่าเสียดายที่คนเหล่านี้ไม่ได้ใช้คุณสมบัติ การศึกษาที่มีเขามีมาสารต่อความสร้างสรรค์ แต่กลับกลายมารับผลกระทบจากกระบวนการอัตโนมัติในจุดนี้แทน”
สตีเฟน ฮอว์คิง ได้กล่าวเสริมว่า
“ระบบอัตโนมัตินี้จะเร่งให้เกิดความไม่ทัดเทียมกันทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นในโลกของเรา อินเทอร์เน็ตและแพลตฟอร์มต่างๆช่วยให้คนกลุ่มเล็กๆ มีโอกาสทำกำไร
ในขณะที่จ้างคนจำนวนน้อยมาทำงานเพื่อลดต้นทุนการผลิต สิ่งนี้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะมันคือความก้าวหน้า แต่มันก็เป็นการทำลายสังคมด้วยเช่นกัน”
Siam Management Review เริ่มจะมองเห็นความซับซ้อนของปัญหาที่เกิดขึ้นกับสังคมสมัยใหม่ ดังที่ผู้เชี่ยวชาญได้อธิบายแบ่งแยกออกเป็น สามเฟสคือ
เฟสที่ 1. การสร้างงาน
ในขณะที่ปัญญาประดิษฐ์และระบบอัตโนมัติจะนำไปสู่การปลดพนักงานประมาณ 2 ล้านคน
ในช่วงเวลาเดียวกันงานใหม่ก็ผุดขึ้นมาเช่นเดียวกัน ในขณะที่จำนวนพนักงาน ประมาณ 4 ล้านคนได้งานทำ
อันเป็นผลพวงจากการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ ในยุคดิจิตอลที่ทำให้มีตำแหน่งงานใหม่ๆเกิดขึ้นเช่นเดียวกัน ~ ข้อมูลจาก World Economic Forum
เรามีตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมมาให้ดูกัน:
ในช่วงปี 2013 - 2016
บริษัท Amazon เปิดตัวหุ่นยนต์ 1,000, 15,000, 30,000 และ 45,000 (ตัวเลขตามลำดับ) เพื่อเข้ามาใช้ดำเนินกิจการ
กล่าวอีกนัยหนึ่งพนักงานจำนวนมากได้ถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์ แต่ในช่วงเวลาเดียว ก็มีอัตราการจ้างงานพนักงานอีก 100,000 คน
เพราะคนเหล่านี้มีคุณสมบัติพร้อมลงตัวกับรูปลักษณะงานที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา และสามารถทำงานร่วมกับเทคโนโลยีได้
เฟสที่ 2. การถูกปลดออกจากงานไปตลอดกาล
ปัญหาหลักอันสำคัญคือ ผู้ที่ถูกปลดออกจากงานเบื้องต้นขาดคุณสมบัติที่จะทำงานต่อ
ซึ่งเป็นกลุ่มคนวัยทำงานจำนวนหนึ่งที่ยังมีอายุขัยการทำงานอีกหลายสิบปีก่อนจะได้ใช้เกษียณจากชีวิตการทำงาน
นั้นหมายความว่ารัฐจะมีค่าใช้จ่ายทางประกันสังคมมากขึ้นเพื่อรองรับผู้ตกงาน และนอกเหนือไปกว่านั้น มนุษย์ยุคใหม่อย่างเราๆ มีอายุขัยที่เพิ่มขึ้น
ซึ่งมีคำถามตามมาว่า รัฐจะสามารถรับภาระที่จะคุ้มครองดูแลประชาชนตั้งแต่ตกงานไปจนถึงวันเกษียณได้หรือไม่
สำหรับผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในยุคอุตสาหกรรมใหม่ จำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมใหม่อยู่เรื่อยๆ และอย่างจริงจังเพื่อให้น่าดึงดูด และสอดคล้องกับความต้องการของนายจ้าง
ดังนั้นคงต้องเป็นน่าที่ของรัฐแล้วค่ะว่าจะสามารถจัดสรรเงินกองทุนสนับสนุน และปฏิรูปการศึกษาของประเทศให้ดียิ่งขึ้นได้อย่างไร ปัญหานี้เกิดขึ้นได้แม้กระทั่งประเทศที่พัฒนาแล้วระดับต้นๆของโลก
พัฒนารูปแบบการจัดหาเงินให้ประชาชน คนตกงาน สามารถสมัครเข้ารับการอบรมใหม่ได้โดยไม่ต้องประสบปัญหาหนี้สิน หรือส่งผลกระทบน้อยที่สุดต่อครอบครัวของเขาเหล่านั้น
ในขณะเดียวกันเมื่อประชาชนกำลังศึกษาอยู่ ก็มีความท้าทายของสังคมผุดขึ้นมาอีก คือเราจะต้องเผชิญกับตัวเลขการว่างงานที่ยังคงสูง และรัฐมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอีก
ดังงนั้นปัญหาการว่างงาน และปัญหางบรายจ่ายของรัฐ ทั้งสองอย่างนี้ไม่สมดุลกัน อันเป็นปัญหาโลกแตกจริงๆเลยนะค่ะ
Photo: Kevin Casey
อีกก้าวถัดไป
หลายๆคนคงคุ้นเคยกับฟังก์ชั่น Siri ของ Apple ซึ่งคุณสามารถส่งข้อความ / คำสั่งไปยัง iPhone หรือ iWatch ได้
Amazon และ Google ก็ได้พัฒนาสิ่งนี้ไปอีกขั้นด้วยโซลูชัน Alexa และ Google Home ที่คุณสามารถป้อนคำถามในเชิงซับซ้อน และรับสั่งให้เชื่อมต่อกับบริการในแอปพลิเคชั่น อื่นๆ เช่นเล่นเพลงโปรด เปิดวิดีโอ สั่งซื้อสินค้า ฯลฯ
เฟสที่ 3. ความฉลาดอัจฉริยะมากขึ้น
ความท้าทายประการที่สามของปัญญาประดิษฐ์และระบบอัตโนมัติ AI นอกเหนือจากการปลดปล่อยแรงงานและความไม่เท่าเทียมกันให้กับในสังคมแล้วนั้น
แนวโน้มที่เป็นไปได้ว่าปัญญาประดิษฐ์ AI จะพัฒนาตัวเองให้มีความฉลาดมากกว่าผู้ที่สร้างมันขึ้นมา
ภาษาทางด้านเทคนิคเรียกว่า Technological Singularity สิ่งที่น่าสนใจคือเจ้าเครื่องจักรและเทคโนโลยีจะมีการพัฒนาไปเร็วมากกว่าที่มนุษย์เราจะตามทันได้และเราต้องตกอยู่ภายใต้เทคโนโลยีที่ฉลาดกว่าเรามาก
นี่เป็นหน้าที่หลักอันสำคัญของผู้บริหารที่ต้องรับผิดชอบสำรวจปัญญาประดิษฐ์และระบบอัตโนมัติว่ามีความหมายอย่างไรในการสร้างมูลค่าให้กับลูกค้าและเจ้าของกิจการ
แม้ว่าเทคโนโลยีดังกล่าวอาจเหมาะกับธุรกิจ สร้างรายได้ แต่ Siam Management Review (SMR) ไม่แน่ใจว่าผลที่ตามมาโดยรวมแล้วจะเป็นอย่างไรสำหรับสังคม และประเทศชาติ
ความกังวลนี้ไม่ได้เกิดขึ้นตามลำพังค่ะ แต่ยังมีผู้เชี่ยวชาญดังหลายๆท่าน เช่น Stephen Hawking, Elon Musk และ Bill Gates เป็นสามเสียงสำคัญที่เป็นผู้ริเริ่ม ยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาอภิปราย เมื่อต้นปี 2017
เป็นไปได้ที่ท่านผู้อ่านหลายๆท่านอ่านมีวิสัยทัศน์ที่แตกต่างออกไปจากผู้เชี่ยวชาญทั้งสามนี้
คอมเม้นท์แลกเปลี่ยนทัศนคติกันได้ค่ะ เช่นเดียวกับ Professor Brynjolfsson กับ MacAfee, MIT ทั้งสองบุคคลที่ positive ต่อวิวัฒนาการ AI ที่ดำเนินอย่างต่อเนื่องไปสู่ในอนาคตค่ะ
Siam Management Review
กด Follow เพื่อติดตามบทความก่อนใคร
กดไลท์ Like 👍🏼 เพื่อเป็นกำลังใจ
กดแชร์ 📲 เพื่อแบ่งปันความรู้
คอมเม้นท์ 👩🏻‍💻เพื่อให้ฟีดแบคกับเรา
ช่องทางการติดตาม:
โฆษณา