2 ต.ค. 2020 เวลา 09:06 • การศึกษา
พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ 2560
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์คืออะไร
พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มีเพื่อกำหนดความผิดในการกระทำที่มี“ระบบคอมพิวเตอร์” เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์นี้ เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์วางตัก คอมพิวเตอร์พกพา แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือ และสมาร์ทโฟน รวมถึงระบบต่าง ๆ ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบควบคุมไฟฟ้า น้ำประปา ธนาคาร ฯลฯ
       เราต่างใช้อุปกรณ์เหล่านี้ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม แน่นอนว่าย่อมมีกลุ่มหรือบุคคลที่ใช้เครื่องมือเหล่านี้ในการกระทำความผิด หรือกระทำความผิดผ่านระบบเหล่านี้ เช่น ขโมยข้อมูล ป่วนข้อมูลและระบบให้เสียหาย การกระทำเหล่านี้ถือเป็นเรื่องใหม่ทุกวันนี้คนจำนวนมากใช้อินเทอร์เน็ตเป็นดังห้องสมุดขนาดใหญ่
โดยสรุปแล้ว ทุกวันนี้เราเลี่ยงไม่พ้นระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่รอบตัวเรา และนั่นทำให้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์เป็นกฎหมายที่ใกล้ตัวเรามากเช่นกัน
ความผิดที่เข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ.
·       การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ
·       การเปิดเผยข้อมูลมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์
ทีผู้อื่นจัดทําขึ้นเป็นการเฉพาะ
·        การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
·        การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
·        การทําให้เสียหาย ทําลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม
·       ข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
·        การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์
·        การจําหน่ายชุดคําสั่งทีจัดทําขึ้นเพื่อนําไปใช้เป็นเครื่องมือ
ในการกระทําความผิด
·        การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทําความผิดอื่น
·       การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ทีเป็นภาพของบุคคล
ผู้ให้บริการที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.
1.  ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์
2. ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
“ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
- ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์
หรือให้เช่าบริการโปรแกรมประยุกต์ (Host Service
Provider)
- ผู้ให้บริการข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่าน application ต่างๆ
ทีเรียกว่า content provider เช่นผู้ให้บริการ web board หรือ
web service เป็นต้น
ข้อมูลของผู้ใช้บริการ
ผู้ให้บริการทังทีเสียค่าบริการหรือไม่ก็ตาม ต้องเก็บข้อมูลเท่าทีจําเป็น เพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้ ไม่ว่าจะเป็นชื่อนามสกุล เลขประจําตัวประชาชนUSERNAME
หรือ PIN CODE ไว้ ไม่น้อยกว่า 90 วันนับตังแต่การใช้บริการสิ้นสุดลงหากผู้ให้บริการไม่ได้เก็บข้อมูลผู้ใช้บริการไว้ถือว่าทําผิดและอาจถูกปรับสูงถึง 50,000 บาทรวมถึงเว็บบอร์ดทังหลาย ซึงมีผู้มาโพสเป็นจํานวนร้อย -พัน รายต่อวัน เว็บมาสเตอร์ และผู้ดูแลโฮสติงหรือผู้ทําอาชีพเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อาจเสียงต่อการระมัดระวังข้อความเหล่านั้น
พระราชบัญญัตินี้  จะมีผลกระทบกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ตโดยทั่วไปเพราะหากท่านทําให้เกิดการกระทําความผิดทางคอมพิวเตอร์(ไม่ว่าจะบังเอิญหรือตังใจ)ก็อาจจะมีผลกับท่าน และทีสําคัญ คือผู้ให้บริการซึงรวมไปถึงหน่วยงานต่างๆทีเปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่ผู้อื่นหรือกลุ่มพนักงาน นิสิต นักศึกษาในองค์กรผู้รับผิดชอบมีหน้าทีดูแลอย่างรอบคอบในฐานะ "ผู้ให้บริการ"
ผู้ใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต
ในฐานะบุคคลธรรมดาไม่ควรกระทําในสิงต่อไปนี้เพราะอาจจะทําให้ “เกิดการกระทำความผิด"
1.    ไม่ควรบอก passwordแก่ผู้อื่น
2.     อย่าให้ผู้อื่นยืมใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เคลื่อนทีเพื่อเข้าเน็ต
3.    อย่าติดตังระบบเครือข่ายไร้สายในบ้านหรือทีทํางานโดยไม่ใช้มาตรการการตรวจสอบผู้ใช้งานและการเข้ารหัสลับ
4.    อย่าเข้าสู่ระบบด้วยuser ID และ password ทีไม่ใช่ของท่านเอง
5.     อย่านํา user ID และ passwordของผู้อื่นไปใช้งานหรือเผยแพร่
6.    อย่าส่งต่อซึงภาพหรือข้อความหรือภาพเคลื่อนไหวทีผิดกฎหมาย
7.     อย่า กด "remember me"หรือ "remember password"ทีเครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะและอย่า log-in เพื่อทําธุรกรรมทางการเงินทีเครื่องสาธารณะ
8.    อย่าใช้ WiFi (Wireless LAN)ทีเปิดให้ใช้ฟรีโดยปราศจากการเข้ารหัสลับข้อมูล
ความผิดอาญาตามพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์
1. เจ้าของไม่ให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขา แล้วเราแอบเข้าไปดู
    เจอคุก 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. แอบไปรู้วิธีการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเค้า แล้วบอกให้คนอื่นรู้      เจอคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. ข้อมูลของเขา เขาเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ดีๆ แล้วแอบไปล้วงข้อมูลของเขาออกมา 
   เจอคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. เขาส่งข้อมูลหากันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบส่วนตั ว แล้วเราทะลึ่งไปดักจับข้อมูลของเขา     เจอคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
5. ข้อมูลของเขาอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเขา เราดันมือบอนแก้    เจอคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน100,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
6. ระบบคอมพิวเตอร์ของเค้าทำงานอยู่ดีๆ เราดันยิง packet หรือ message หรือ virus หรือtrojan 
    หรือ worm หรืออะไรก็ตามเข้าไปก่อกวนจนระบบเขาเดี้ยง     เจอคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
7. เขาไม่ได้อยากได้ข้อมูลหรืออีเมลล์จากเราเลย เราก็ทำตัวเซ้าซี้ส่งให้เขาซ้ำๆ อยู่นั่นแหล่ะ จนทำให้      เขาเบื่อหน่ายรำคาญ       เจอปรับไม่เกิน100,000บาท 
8. ถ้าเราทำผิดข้อ 5. กับ ข้อ 6. แล้ว
    ทำให้เราๆ ท่านๆ บุคคลทั่วไปเกิดความเสียหาย จำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 200,000บาท
    ก่อความเสียหายต่อความั่นคงของประเทศ เศษรฐกิจ และสังคม จำคุกตั้งแต่ 3 - 5 ปี และปรับตั้งแต่ 60,000บาท                ถึง300,000บาท และถ้าทำให้ใครตายก็จะปรับโทษเป็น  จำคุกตั้งแต่ 10ปีถึง 20ปี
9. ถ้าเราสร้างซอฟต์แวร์เพื่อช่วยให้ใครๆทำเรื่องแย่ๆใน ข้อข้างบนได้      เจอคุกไม่เกินปีนึง หรือปรับไม่เกิน 20,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
10.โป๊,โกหก, ปลอมแปลง,กระทบความมั่นคง,ก่อการร้าย, และส่งต่อข้อมูลทั้งๆที่รู้ว่าผิดตามที่กล่าวมาข้างต ้น 
    เจอคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
11. ใครเป็นเจ้าของเว็บ แล้วสนับสนุน/ยอมให้เกิดข้อ 10. โดนเหมือนกัน เจอคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เท่ากับคนที่ทำเลย
12. ใครอยากเป็นศิลปินข้างถนน ที่ชอบเอารูปชาวบ้านมาตัดต่อแล้วเอาไปโชว์ผลงานบนระบบคอมพิวเตอร์ให้ใครต่อใครดู เตรียมใจไว้เลยมีสิทธิ์โดน
เจอคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
13. เราทำผิดที่เว็บไซต์ซึ่งอยู่เมืองนอก แต่ถ้าเราเป็นคนไทย อย่าคิดว่ารอด โดนแหงๆ ฝรั่งทำผิดกับเรา แล้วอยู่เมืองนอกอีกต่างหาก เราเป็นคนไทย ก็เรียกร้องเอาผิดได้เหมือนกัน .
โฆษณา