4 ต.ค. 2020 เวลา 10:10 • ธุรกิจ
ทำไมถึงต้องรู้เรื่องการเงิน ?
ปัญหาของเราทุกวันนี้ เกินกว่าครึ่งคือ “ปัญหาทางการเงิน” ไม่ว่าจะเป็น เงินไม่พอใช้ เป็นหนี้ หรือลงทุนสุรุ่ยสุร่าย ฯลฯ น้อยคนนักที่สนใจเรื่องการเงินของตัวเอง
ผมมีหัวใจสำคัญไม่ว่าจะเป็นธุรกิจหรือการเงินส่วนบุคคล 3 ข้อ 1.สร้างกำไร (make profit) 2.สร้างกระแสเงินสด (generate cash flow) 3.อยู่รอดได้ (stay solvency)
ผมรู้สึกว่าการสร้างบริษัท 3 ข้อที่มีเสน่ห์มาก เมื่อนำมาร้อยเรียงกับการบริหารการเงินส่วนบุคคล ก็คิดว่าประเด็นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องก็ให้เห็นภาพถึงเป้าหมายของการบริหารเงินได้เช่นกัน
-สร้างกำไร (Make profit)
ไม่ว่าจะเป็นบริษัทหรือบุคคล สิ่งที่คำนึงถึงเป็นอันดับแรก นั้นคือ “กำไร” หากบริษัทไม่มีกำไร จะทำมาหากินไปเพื่ออะไร จริงไหมครับ ?
สุดท้ายแล้วการกระทำของเราควรเพิ่มมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจ บางช่วงอาจขาดทุน เป็นเรื่องปกติ โดยภาพรวมแล้วกำไรเป็นสิ่งสำคัญ นี้เป็นสมการพื้นฐานที่จะช่วยให้คุณเข้าใจได้ง่ายๆ
กำไรสุทธิ = รายได้ - ค่าใช้จ่าย
หากรายได้มากกว่าค่าใช้จ่ายเรื่อยๆ เงินเก็บหรือกำไรสะสมเพิ่มพูน และเพิ่มมูลค่ามากขึ้นในระยะยาว
ในทางตรงกันข้าม หากรายได้ได้น้อยกว่าค่าใช้จ่าย เงินทุนก็ร่อยหรอ จนหมดตัว การสร้างกำไรจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก นำไปสู่เป้าหมายในระยะสั้นและระยะยาว
จดบันทึกทำรายรับ-รายจ่าย ที่ช่วยคำนวณว่าได้กำไรหรือขาดทุน ได้หรือขาดทุนปริมาณเท่าไหร่ และเปลี่ยนจากขาดทุนเป็นกำไรใช้เวลาเท่าไหร่
การสร้างกำไรหรือ Make Profit กำไรส่วนต่าง สะสมเพิ่มพูลเก็บไว้ เพื่อเป้าหมายในระยะสั้นและระยะยาว
-สร้างกระแสเงินสด (generate cash flow)
ธุรกิจที่ขาดทุน ก็อาจอยู่อยู่ได้เป็นสิบปี แต่ธุรกิจที่ขาดกระแสเงินสดอย่างหนักหน่วง อาจล่มสลายได้ไม่กี่เดือน
ลองจินตนาการดูครับ หากคุณเป็นมหาเศรษฐีที่เครื่องบินตกไปโผล่ประเทศใดประเทศหนึ่งในฝังแถบแอตแลนติก เงินทองหล่นหายไปในทะเลหมด ถึงแม้ว่าคุณจะมีทรัพย์สมบัติมากมายอยู่ในธนาคารประเทศบ้านเกิด แต่ตอนนี้ไม่มีเงินใช้ ก็อาจอยู่ได้ไม่กี่วัน
กระแสเงินสดคงเหลือ = กระแสเงินสดเข้า - กระแสเงินสดออก
กระแสเงินสด คือ สภาพคล่อง เป็นตัวแทนของความลืนไหลในชีวิต จะมุ่งหาแต่กำไรอย่างเดียวไม่ได้
ต้องบริหารกระแสเงินสดเช่นกัน เพื่อชีวิตจะได้ไม่ติดขัด
-อยู่รอดได้ (stay solvency)
วอลเลน บัฟเฟตต์ นักลงทุนอันดับหนึ่งของโลกเคยกล่าวว่า “น้ำลงเท่านั้น ที่ทำให้เรารู้ว่าใครบ้างที่เปลือยกายว่ายน้ำ”
ในยามที่น้ำขึ้น ถ้าเปรียบเทียบก็คือ เศรษฐกิจดี สภาพเศรษฐกิจรุ่งเรือง ไม่มีทางรู้เลยว่าใครที่กำลังประมาท เลินเล่อ แต่เมื่อใดก็ตามที่เศรษฐกิจย่ำแย่ระดับน้ำลดลงคุณจะรู้ทันทีใครเปลือยกายว่ายน้ำอยู่ หรือธุรกิจไหนที่ไม่ใช่ของจริง
ความมั่งคั่งสุทธิ = สินทรัพย์ - หนี้สิน
โดยพื้นฐานแล้วควรมีความมั่งคั่งเป็นบวกเสมอ เพราะสภาพโครงสร้างการเงินที่ดีจะช่วยให้ผ่านพ้นวิกฤตไปได้
ทั้งหมดเป็นคำตอบของคำถาม “ทำไมถึงต้องรู้เรื่องการเงิน” ก็เพราะการเงิน มันเกี่ยวข้องกับชีวิตยังไงล้ะ!
REF : MONEY LECTURE
เขียนโดย ลงทุนศาสตร์
หากชอบบทความนี้อย่าลืมกดไลค์ กดแชร์ และกดติดตามจะได้ไม่พลาดเรื่องราวดีๆมีให้ทุกวัน
#เงินเกี่ยวข้องกับชีวิต #กำไร #MONEYDAILY
โฆษณา