Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อาจวรงค์ จันทมาศ
•
ติดตาม
14 ต.ค. 2020 เวลา 17:23 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
การเคลื่อนไหวของกลุ่มดาว และดาวเหนือ
#การดูดาวเบื้องต้น
ในการดูดาวเบื้องต้น ก่อนจะไปรู้จักวัตถุท้องฟ้าต่างๆว่ามีอะไรบ้าง เราควรเริ่มต้นจากการเรียนรู้ก่อนว่าวัตถุท้องฟ้ามีการเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงตำแหน่งอย่างไรเสียก่อน โดยเริ่มจากกลุ่มดาว (constellation) ซึ่งเข้าใจได้ง่ายที่สุดและสังเกตเห็นได้ทุกคืนที่ท้องฟ้าปลอดโปร่ง
กลุ่มดาวบนท้องฟ้า มีทั้งหมด 88 กลุ่ม ประกอบไปด้วยดาวฤกษ์ที่อยู่ห่างจากโลกมากเสียจนตลอดช่วงชีวิตของมนุษย์หลายชั่วคนสังเกตเห็นการเรียงตัวของมันเหมือนเดิม โดยแทบจะไม่มีความเปลี่ยนแปลงเลย
ดังนั้นในมุมมองของมนุษย์ กลุ่มดาวต่างๆจึงเป็นเหมือนจุดแสงที่ถูกตอกตรึงแน่นไว้ด้านในของเปลือกทรงกลมขนาดมหึมาที่ครอบโลกของเราไว้ ทรงกลมดังกล่าวเรียกว่า ทรงกลมท้องฟ้า (celestial sphere) ซึ่งเป็นแบบจำลองที่ใช้อธิบายการเปลี่ยนตำแหน่งของกลุ่มดาวและวัตถุท้องฟ้า ที่มนุษย์บนโลกเห็นได้เป็นอย่างดี ดังนี้
0. มนุษย์เรามีขนาดเล็กมาก
ในขณะหนึ่ง เราจึงมองเห็นทรงกลมท้องฟ้าได้เพียงครึ่งเดียวเท่ากัน ส่วนอีกครึ่งหนึ่งถูกโลกของเราบังเอาไว้ แต่เมื่อเวลาผ่านไป การหมุนของทรงกลมท้องฟ้าจะทำให้กลุ่มดาวเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ
1. เนื่องจากโลกหมุนรอบตัวเอง เราจึงสังเกตเห็นดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และกลุ่มดาว จึงขึ้นทางทิศตะวันออก และ ตกทางทิศตะวันตก
2. โลกหมุนรอบตัวเองครบรอบทุกๆ 24 ชั่วโมง กลุ่มดาวต่างๆที่อยู่บนทรงกลมท้องฟ้าจึงหมุนรอบโลกทุกๆ 24 ชั่วโมงด้วย ข้อมูลนี้มีแม้จะเรียบง่าย แต่ก็มีความสำคัญมากเพราะมันทำให้เรารู้ว่าในช่วงเวลาหนึ่งๆ เราจะเห็นวัตถุท้องฟ้าเคลื่อนที่ไปแค่ไหน เช่น ทุกๆ 1 ชั่วโมง กลุ่มดาวบนท้องฟ้าจะหมุนไป 15 องศา เป็นต้น
ส่วนดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และดาวเคราะห์ จะเปลี่ยนตำแหน่งด้วยอัตราที่แตกต่างออกไปไปเล็กน้อย แต่ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ไม่กี่วันก็อาจประมาณได้ว่ามันหมุนไปด้วยอัตราเดียวกับกลุ่มดาว
3. เมื่อจินตนาการว่าทรงกลมท้องฟ้ามีการหมุน จุดที่แกนหมุนเสียบทะลุสองจุด เรียกว่า ขั้วฟ้าเหนือ และขั้วฟ้าใต้ เป็นจุดที่กลุ่มดาวต่างๆหมุนไปรอบๆ ประเทศไทยเราอยู่ในซีกโลกเหนือ ดังนั้นเราจึงมองเห็นขั้วฟ้าเหนือ ซึ่งใกล้ๆกับขั้วฟ้าเหนือมีดาวสลัวๆดวงหนึ่งอยู่เรียกว่า ดาวโพลาริส หรือที่เรียกกันว่า ดาวเหนือ
4. การที่ดาวเหนืออยู่ใกล้ขั้วฟ้าเหนือมาก ในการดูดาวเบื้องต้นเราอาจประมาณได้ว่าตำแหน่งของดาวเหนือก็คือ ตำแหน่งของขั้วฟ้าเหนือ
5. ดาวเหนือ เป็นดาวค้างฟ้า มันอยู่ที่เดิมตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืนโดยไม่มีการเปลี่ยนตำแหน่งเลย มันจึงใช้ในการกำหนดทิศสำหรับการเดินทางได้ (ส่วนการหาตำแหน่งของดาวเหนือจะเล่าในบทความถัดๆไป)
6. ข้อเท็จจริงสำคัญเกี่ยวกับดาวเหนือคือ มันไม่ได้สว่างมากจนโดดเด่น อย่างที่หลายคนคิด
7. ตำแหน่งของดาวเหนือขึ้นอยู่กับละติจูดของผู้สังเกต
ยกตัวอย่างเช่น
- จังหวัด นราธิวาสอยู่ที่ละติจูด 6 องศาเหนือ คนที่นราธิวาสจึงสังเกตเห็นว่าดาวเหนือจึงอยู่สูงจากขอบฟ้าราว 6 องศา
- กรุงเทพฯ อยู่ที่ละติจูด 14 องศาเหนือ คนที่กรุงเทพฯจึงสังเกตเห็นว่าดาวเหนืออยู่สูงจากขอบฟ้าราว 14 องศา
- เชียงใหม่อยู่ที่ละติจูด 19 องศาเหนือ คนที่เชียงใหม่จึงสังเกตเห็นว่าดาวเหนืออยู่สูงจากขอบฟ้าราว 16 องศา
ข้อมูลดังกล่าวทำให้ดาวเหนือช่วยในการบอกตำแหน่งได้ว่า เราอยู่ที่ละติจูดเท่าใด และในการจัดกิจกรรมดูดาวนั้น หากต้องการสังเกตดาวเหนือ ก็ต้องเลือกสถานที่ที่ขอบฟ้าทางทิศเหนือไม่ถูกบดบังโดยสิ่งปลูกสร้าง ต้นไม้หรือภูเขา
8. มุมที่วัตถุท้องฟ้าขึ้นและตกทำมุมกับขอบฟ้าเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับว่าผู้สังเกตอยู่ที่ละติจูดเท่าใด
ยกตัวอย่าง เช่น กรุงเทพอยู่ที่ละติจูด 14 องศาเหนือ ดังนั้น วัตถุท้องฟ้าจะขึ้นจากขอบฟ้าทิศตะวันออก ทำมุม 90-14= 76 องศากับขอบฟ้า*
เนื้อหาที่เล่าในบทความนี้ อาจดูเป็นเรื่องง่าย แต่ในการดูดาวให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ควรลองสังเกตการเปลี่ยนตำแหน่งของกลุ่มดาว ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ด้วยตนเอง จึงจะเห็นภาพจริงๆว่าการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นนั้นมากน้อยเพียงใดกันแน่ และอาจใช้ในการกะประมาณช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์จะตกลับขอบฟ้าได้ด้วย
*จริงๆแล้วควรเข้าใจว่ามันขึ้น-ตกทำมุม 14 องศากับเส้นตั้งฉากขอบฟ้า เนื่องจากขั้วฟ้าเหนือยกตัวสูงจากขอบฟ้าขึ้นมา 14 องศานั่นเอง
18 บันทึก
32
1
10
18
32
1
10
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย