5 ต.ค. 2020 เวลา 18:08 • สุขภาพ
รู้หรือไม่ ? อาหารเช้าอาจไม่สำคัญอย่างที่คุณคิด
เรามักจะโดนปลูกฝังกันมาว่า "อาหารเช้า" คือมื้อสำคัญที่สุดของวัน ด้วยเหตุผลว่าจะช่วยให้ความจำดี ช่วยควบคุมน้ำหนัก ลดความเสี่ยงหลายๆโรค อาหารเช้าจึงเป็นมื้อที่ห้ามอดเด็ดขาดตามชื่อ "Breakfast"ที่มาจาก "Break" หมายถึง "หยุด" และ "Fast" หมายถึง "การอดอาหาร" เมื่อรวมกันแล้วจึงเป็น "มื้อที่ต้องหยุดการอดอาหาร" นั่นเอง
สำหรับคนที่ตื่นเช้าเป็นประจำ และ ไม่ได้มีภาระอะไรในชั่วโมงเร่งด่วน อาหารเช้าก็คงไม่ใช่ปัญหา แต่สำหรับในกลุ่มวัยรุ่นไปถึงวัยทำงาน ที่ต้องรีบแข่งกับเวลาและฝ่าฟันอุปสรรคบนท้องถนน อาหารเช้าก็อาจจะเป็นเรื่องยากได้เหมือนกัน นั่นส่งผลกระทบให้เกิดความกังวลเมื่อพลาดมื้อเช้าไป
แต่งานวิจัยทางการแพทย์ล่าสุด ที่ถูกตีผมลงใน The BMJ (British Medical Journal) วารสารทางการแพทย์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก อาจชี้ให้เราเห็นว่า "อาหารเช้า" อาจไม่ได้สำคัญอย่างที่เราคิด
Monash University Australia ได้ทำการวิจัยแบบเฝ้าสังเกตุ เกี่ยวกับภาวะทางโภชนาการ ของคนหลากหลายอาชีพ อายุตั้งแต่ 20 - 74 ปี ทั้งในชาวอเมริกัน และ ชาวอังกฤษ  กว่าหกหมื่นคน โดยแยกเป็นกลุ่มประเภท 13 กลุ่ม พวกเขาพบว่ากว่า 25% ของคนเหล่านี้ เป็นคนที่ไม่ได้รับประทานอาหารมื้อเช้าเลย แต่ในทางกลับกัน พวกเขายังมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บที่ร้ายแรง เพราะเหตุนี้จึงทำให้นักวิจัยทางการแพทย์รุ่นใหม่ เกิดตั้งข้อสงสัยขึ้นมาว่า "อาหารเช้า สำคัญขนาดนั้น จริงๆรึป่าว?"
ศาสตราจาร์ย Tim Specter นักเขียน และ ศาสตราจาร์ยด้าน Genetic Epidemiology (การศึกษาทางระบาดวิทยาพันธุศาสตร์) ได้ออกมาให้ความเห็นต่อเรื่องนี้ว่า ความเชื่อเกี่ยวกับอาหารเช้า ถูกฝังหัวในคนส่วนใหญ่มาตั้งแต่วัยเด็ก รวมไปถึงโฆษณาชวนเชื่อต่างๆที่ช่วยกันตอกย้ำว่า อาหารเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุด ซึ่งงานวิจัยชิ้นล่าสุดนี้ อาจชี้ให้เราเห็นว่า แนวคิดว่าอาหารเช้าสำคัญที่สุดนั้น เป็นเพียงความเชื่อเท่านั้น
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอีกหนึ่งชิ้นเมื่อปี 2014 จากนักโภชนาการชาวญี่ปุ่น บอกเราว่า การอดอาหารเช้า ไม่ส่งผลใดๆกับอัตราการเผาผลาญพลังงานในแต่ละวัน ยิ่งไปกว่านั้น การอาหารเช้าอาจทำให้เราหิว และทำให้เรากินอาหารกลางวันมากขึ้นกว่าเดิม แต่เมื่อเทียบตามอัตราส่วนแล้ว เป็นการกินที่มากขึ้นไม่ถึง 30% ทำให้พลังงานแคลลอรี่ที่เพิ่มขึ้น ยังน้อยกว่าการกินทั้งมื้อเช้า และ มื้อกลางวัน อีกด้วย
4
อย่างไรก็ตามนะครับ งานวิจัยของ Monash University ในครั้งนี้ เป็นเพียงการวิจัยแบบ "เฝ้าสังเกตุ" ไม่ใช่ "การวิจัยเชิงทดลอง" ที่เอาคนอดอาหารเช้า มาเทียบกับคนทานอาหารเช้าเป็นประจำ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพ งานวิจัยนี้จึงไม่อาจฟันธงได้ว่า การอดอาหารเช้า ส่งผลเสียต่อสุขภาพจริงหรือไม่
โฆษณา