Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อาจวรงค์ จันทมาศ
•
ติดตาม
11 ต.ค. 2020 เวลา 01:40 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
โลกของการรับกลิ่นและอวัยวะสำคัญๆที่เกี่ยวข้อง
(เรียบเรียงโดย ปณิตา ฤทธาภรณ์)
การรับรู้กลิ่นเป็นการตอบสนองต่อสารเคมีที่กระจายอยู่ในอากาศ
สารเหล่านี้กระตุ้นเซลล์รับความรู้สึกในเยื่อบุผิวที่มีชื่อเรียกว่า ‘Olfactory mucosa’ ที่อยู่บริเวณเพดานของโพรงจมูก เยื่อบุผิวนี้มีพื้นที่ประมาณ 5 ตารางเซนติเมตร ส่วนที่เหลือเป็นเยื่อบุผิวทั่วไปที่ไม่มีตัวรับกลิ่น เรียกว่า ‘respiratory mucosa’
ตำแหน่งของเซลล์รับกลิ่นนั้นอยู่ใกล้กับสมอง แต่เป็นบริเวณที่มีการไหลเวียนของอากาศไม่ดี ทำให้บ่อยครั้งที่เราต้องการระบุกลิ่นหรือที่มาของกลิ่น เราจำเป็นต้องสูดกลิ่นแรงๆ อย่างไรก็ตาม ประสาทสัมผัสในการรับกลิ่นนั้นมีความไว มันสามารถตรวจพบโมเลกุลของกลิ่นที่มีความเข้มข้นต่ำมากๆได้ ส่วนใหญ่แล้วมนุษย์สามารถแยกแยะกลิ่นที่แตกต่างกันได้ 2,000 ถึง 4,000 กลิ่น และอาจจะมากถึงหมื่นกลิ่นในบางคน โดยเฉลี่ยแล้วมนุษย์เพศหญิงมีความไวต่อกลิ่นมากกว่าเพศชาย และจะมีความไวยิ่งขึ้นในช่วงที่มีการตกไข่
เนื้อเยื่อรับกลิ่นมีจำนวนเซลประสาทรับกลิ่นประมาณ 10 ถึง 20 ล้านเซลล์ พวกมันเป็นเซลล์ประสาทชนิดเดียวที่สัมผัสกับสิ่งเร้าภายนอกโดยตรง แต่เซลล์เหล่านี้มีชีวิตประมาณ 60 วันและมีการสร้างใหม่ทดแทน ไม่เหมือนกับเซลล์ประสาททั่วไป
เซลล์ประสาทรับกลิ่นมีรูปร่างคล้ายพินโบวลิ่ง
บริเวณส่วนที่กว้างที่สุดเรียกว่า นิวโรโซมา (neurosoma) เป็นที่อยู่ของนิวเคลียส ส่วนหัวและคอของเซลล์เป็นปลายประสาทส่วนรับสัญญาณ (dendrite) ที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างจนมีลักษณะคล้ายขน เรียกว่า ออลแฟกตอรี แฮร์ (Olfactory hair) เส้นขนเหล่านี้เป็นบริเวณที่โมเลกุลของกลิ่นมาจับ ส่วนฐานของเซลมีลักษณะสอบยาวเป็นปลายประสาทส่วนที่ส่งออกของสัญญาณประสาท(Axon) โดยปลายประสาทนี้ถูกหุ้มรวมกันอยู่ในเนื้อเยื่อบางๆและออกจากโพรงจมูกผ่านรูที่มีชื่อว่า ‘Olfactory foramina’
เมื่อเส้นใยของเซลล์ประสาทรับกลิ่นผ่านเพดานของโพรงจมูกเข้าสู่เนื้อเยื่อสมองส่วนที่เรียกว่า ‘Olfactory bulbs’
สมองเป็นส่วนที่แปลผลกลิ่นที่มีความซับซ้อน เช่น กลิ่นของช็อกโกแลต, น้ำหอม, ไวน์, กาแฟ ซึ่งใช้วิธีเดียวกับเซลล์ประสาทตาที่แปลผลการรับรู้สีจากเซลล์ประสาทรับรู้สี 3 กลุ่ม ภายในดวงตา
เมื่อพิจารณาจากบทบาทของสมองส่วนอื่นๆ จึงไม่แปลกใจที่กลิ่นของอาหาร, น้ำหอม, โรงพยาบาล หรืออาหารบูด สามารถกระตุ้นความทรงจำ, การตอบสนองทางอารมณ์ และปฎิกริยาของอวัยวะภายใน เช่น การจามหรือไอ, การหลั่งของน้ำลายและน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร หรือ อาเจียน ได้
อ้างอิง
Human anatomy / Saladin
12 บันทึก
40
5
12
40
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย