11 ต.ค. 2020 เวลา 03:08 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

XY-J02 - Digital Multifunctional Timer - DC 5-30V Supply

XY-J02 - Digital Multifunctional Timer - DC 5-30V Supply เป็นแผงวงจรสำเร็จรูป สามารถโปรแกรมการตั้งเวลาได้หลากหลายรูปแบบ เพื่อนำไปใช้งานที่แตกต่างกัน การแสดงผลด้วยตัวเลขทำให้ติดตามดูสถาณะของการทำงานได้ตลอดเวลา
สามารถนำไปใช้ควบคุม อุปกรณ์ไฟ้ฟ้า ได้ทั้ง DC และ AC ต่อ Sensor เพิ่มสำหรับการทริกให้ทำงานอัตโนมัติได้
* การป้อนไฟเลี้ยง สามารถใช้ได้ทั้ง 5 โวลท์ DC หรือ 6-30 โวลท์ DC (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
* การต่อสัญญาณทริกเกอร์
การกระตุ้นให้เกิดการทำงาน (Trigger) นั้นสามารถทำได้สองวิธีคือ
1. การทริกโดยแยกส่วนของแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงของโมดูลตั้งเวลา กับสัญญาณทริกเกอร์ออกจากกัน ซึ่งอาจจะจำเป็นต้องใช้วิธีนี้เนื่องจากกรณีเกิดสัญญาณรบกวนสูง โดยการต่อ output จากต้นทางซึ่งอาจจะเป็นวงจรกระตุ้นอื่นๆ หรือจากเซ็นเซอร์อื่นๆ มาเข้าที่ขา Trigger และต่อขั้วลบของทริกเกอร์เข้ากับขา GND_T
2. การทริกโดยใช้แหล่งจ่ายไฟเลี้ยงเดียวกันกับโมดูลตั้งเวลา กรณีนี้จะไม่แยกกราวด์ของโมดูลและกราวด์ของสัญญาณ ทริกออกจากกัน ซึ่งจะสะดวกกว่าแต่อาจมีการรบกวนการทำงานเกิดขึ้นได้ หากใช้ในแหล่งที่มีสัญญาณรบกวนสูงเช่นในโรงงานอุตสาหกรรม ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องต่อกราวด์ของทั้งสองเข้าหากัน โดยจะต่อจากเทอร์มินอลหรือใช้วิธีบัดกรีจุดเชื่อมข้างๆขา GND_T กับ GND เข้าด้วยกัน
* หากใช้แหล่งจ่ายไฟจาก 5V USB กรณีนี้ต้องเอาไฟจากจุด +5V ใต้แผงวงจร เพื่อใช้เป็นสัญญานทริก (Trigger) โดยผ่านเซ็นเซอร์ที่ต้องการ และต้องจั๊มขา GND เข้ากับ GND_T ด้วย
* โหมดการเปิดและปิดการใช้งานรีเลย์
โดยกดปุ่ม STOP 1 วินาที (กดแล้วปล่อยทันที) เพื่อกำหนดให้ เปิด / ปิด การทำงานของรีเลย์ โดยที่ ON หมายถึง รีเลย์ทำงาน และ OFF รีเลย์ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงาน จากนั้นจะแสดงตัวเลข 000 เพื่อเข้าสู่โหมดการทำงานปกติ
* โหมดการเปิดและปิดตัวเลขแสดงเวลา
โดยกดปุ่ม STOP ค้างไว้ 2 วินาที แล้วปล่อย เพื่อเปิดหรือปิดการแสดงผลของตัวเลขแสดงสถานะปัจจุบัน โดยตัวเลขแสดงผลจะกะพริบ
โหมด C - P (Auto Close Display) : หลังจากการจ่ายไฟเลี้ยง จะปิดการแสดงผลของตัวเลขโดยอัตโนมัติ โดยที่โปรแกรม/ฟังก์ชั่นยังคงทำงานอยู่ตามปกติ
โหมด O - d (Normal Display) : ตัวเลขแสดงผล ติดตลอดเวลา และโปรแกรม/ฟังก์ชั่นยังคงทำงานอยู่ตามปกติ
* โหมดฟังชั่นการทำงาน
สามารถเลือกโหมดการทำงานได้โดย กดปุ่ม SET ค้างไว้ 3 - 5 วินาทีแล้วปล่อยเพื่อเข้าสู่โหมดการตั้งโปรแกรมที่ต้องการ และใช้ปุ่ม UP / Down เพื่อเลือกโปรแกรมที่ต้องการ และกดปุ่ม SET อีกครั้งเพื่อยืนยันการเลือกโปรแกรม
P1.1 : เมื่อมีการทริก (Trigger ต่อกับไฟบวก) รีเลย์จะเริ่มทำงานและจะเริ่มจับเวลาจนครบเวลาที่ตั้งเอาไว้ (OP) เมื่อครบตามค่าที่ตั้งเอาไว้ รีเลย์จะหยุดทำงาน ในระหว่างนี้หากมีการทริกอีกครั้งจะไม่มีผลใดๆ จนกว่าโปรแกรมจะทำงานเสร็จสิ้นหนึ่งรอบการทำงาน ถึงจะเริ่มทริกใหม่ได้อีกครั้ง
การตั้งค่าโปรแกรม โดยกดปุ่ม SET ค้างไว้ 3 - 5 วินาทีแล้วปล่อยเพื่อเข้าสู่โหมดการตั้งโปรแกรมที่ต้องการ และใช้ปุ่ม UP / Down เพื่อเลือกโปรแกรมที่ต้องการ และกดปุ่ม SET อีกครั้งเพื่อยืนยันการเลือกโปรแกรม หน้าจอจะแสดง OP กระพริบ จากนั้นจะเข้าสู่การตั้งเวลาด้วยปุ่ม UP / Down (ดูเรื่องการตั้งค่าเวลา) จากนั้นกดปุ่ม SET สามวินาทีเพื่อยืนยันการตั้งค่าและออกจากโหมดการตั้งค่า
P1.2 : เมื่อมีการทริก (Trigger ต่อกับไฟบวก) รีเลย์จะเริ่มทำงานและจะเริ่มจับเวลาจนครบเวลาที่ตั้งเอาไว้ (OP) เมื่อครบตามค่าที่ตั้งเอาไว้ รีเลย์จะหยุดทำงาน ในระหว่างการจับเวลาหากมีการทริกเกิดขึ้นอีกครั้งจะมีผล ทำให้กลับไปเริ่มต้นการนับเวลาใหม่ และเมื่อทำงานเสร็จสิ้นตามเวลาที่ตั้งเอาไว้ รีเลย์จะตัดการทำงาน และเตรียมพร้อมที่จะรับการทริกใหม่เสมอ
P1.3 : เมื่อมีการทริก (Trigger ต่อกับไฟบวก) รีเลย์จะเริ่มทำงานและจะเริ่มนับเวลาจนครบเวลาที่ตั้งเอาไว้ (OP) เมื่อครบตามค่าที่ตั้งเอาไว้ รีเลย์จะหยุดทำงาน ในระหว่างการจับเวลา หากมีการทริกอีกครั้งจะเป็นการยกเลิกการทำงานก่อนหน้าทั้งหมด และเข้าสู่โหมดรอการทริกเกอร์ใหม่อีกครั้ง
P-2 : เมื่อมีการทริก (Trigger ต่อกับไฟบวก) รีเลย์จะยังไม่ทำงานและเริ่มการหน่วงเวลา (CL) โดยการจับเวลาจนครบเวลาที่ตั้งเอาไว้ จากนั้นรีเลย์จะทำงาน และจะเริ่มจับเวลา (OP) จนครบตามเวลาที่ตั้งเอาไว้ รีเลย์ก็จะหยุดทำงาน ในระหว่างรอบการทำงานนี้ หากมีการทริกอีกครั้งจะไม่ส่งผลใดๆต่อการทำงานจนกว่าจะเสร็จสิ้นรอบการทำงานทั้งหมด ถึงจะทำการทริกได้ใหม่อีกครั้ง
P3.1 : เมื่อมีการทริก (Trigger ต่อกับไฟบวก) รีเลย์จะทำงานและเริ่มการจับเวลา (OP) จนครบเวลาที่ตั้งเอาไว้ จากนั้นรีเลย์จะหยุดทำงาน และจะเริ่มจับเวลา (CL) จนครบตามเวลาที่ตั้งเอาไว้ แล้วจึงเริ่มการทำงานใหม่ในรูปแบบเดิมตามค่าวนลูป
(LOP) ที่ได้ตั้งเอาไว้ ว่าต้องการให้ทำงานซ้ำกี่ครั้ง การทำงานในโปรแกรมนี้คือ การตั้งเวลาให้รีเลย์ทำงานตามกำหนดเวลา แล้วตัดการทำงานตามกำหนดเวลา วนลูปไปเรื่อยๆจนครบรอบจำนวนลูปที่ตั้งเอาไว้
P3.2 : หลังจากเชื่อมต่อไฟเลี้ยง จะแสดงผล P3.2 กระพริบ และโดยที่ไม่ต้องมีการทริก Trigger รีเลย์จะเริ่มทำงานตามเวลาที่ตั้งไว้ (OP) แล้วตัดการทำงาน
จากนั้นจะเริ่มจับเวลา (CL) จนครบตามเวลาที่ตั้งเอาไว้ แล้วจึงเริ่มการทำงานใหม่ในรูปแบบเดิมตามค่าวนลูป (LOP) ที่ได้ตั้งเอาไว้ ว่าต้องการให้ทำงานซ้ำกี่ครั้ง เมื่อครบแล้วจะตัดการทำงานของรีเลย์ หลังจากนั้นจะเข้าสู่โหมดเตรียมพร้อมการทำงานใหม่โดย แสดงตัวเลข 000 จนกว่าจะมีการปิดการจ่ายไฟเลี้ยง และเมื่อเริ่มจ่ายไฟเลี้ยงใหม่อีกครั้งก็จะเริ่มต้นการทำงานรอบใหม่อีกครั้ง
P-4 : เมื่อมีการจ่ายไฟเข้า โมดูลจะยังไม่เริ่มการทำงานของรีเลย์ จนกว่าจะมีการทริก (Trigger ต่อกับไฟบวก) ถึงจะเริ่มการนับเวลาถอยหลังตามเวลาที่ตั้งไว้ (OP) (รีเลย์ยังไม่ทำงาน)
หากมีสัญญานทริกเข้ามาใหม่ จะเป็นการรีเซ็ทเวลาให้กลับไปอยู่ที่ 000 (รีเลย์ยังไม่ทำงาน) และเริ่มการจับเวลาใหม่ หรือกรณีสัญญาณทริกค้างอยู่สถานะมีไฟอยู่ เวลาจะกลับไปอยู่ที่ 000 (รีเลย์ยังไม่ทำงาน) จนกว่าการทริกจะถูกยกเลิก (ไม่มีไฟบวกต่อกับ Trigger) เมื่อไม่มีสัญญาณทริกรีเลย์จะเริ่มทำงาน และเริ่มจับเวลาจนครบตามที่กำหนด จากนั้นรีเลย์ก็จะหยุดทำงาน
* วิธีตั้งค่าพารามิเตอร์
อินเทอร์เฟซหลัก ตัวเลขขึ้น 000 (ไม่มีจุดทศนิยม) รีเลย์ไม่ทำงาน -กดปุ่ม SET ค้าง 2 วินาทีตัวเลขขึ้นแสดงโหมด เช่น P-1.1 -กดปุ่ม UP, DOWN เพื่อเลือกการตั้งค่าโหมด ( P1.1 ~ P4 ) -กดปุ่ม SET สั้นเพื่อตั้งค่าพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้อง จากนั้นพารามิเตอร์ที่คุณต้องการตั้งค่าจะกะพริบ
(เวลาเปิดเครื่อง OP เวลาปิดไฟ CL เวลารอบ LOP "---" เป็นวงรอบไม่ จำกัด ); โดยกดปุ่ม UP, ปุ่ม DOWN เพื่อตั้งค่าพารามิเตอร์, การกดแบบค้างยาว เพื่อเพิ่มหรือลดอย่างรวดเร็ว และการกดแล้วปล่อยทันที เพื่อเพิ่มหรือลดลง 1 หน่วย; หลังจากตั้งค่าพารามิเตอร์โดยการกดปุ่ม STOP สั้น ๆ เพื่อเลือกตำแหน่งทศนิยม เลือกช่วงเวลา (ช่วงเวลาที่สอดคล้องกันคือ 0.1 วินาที - 999 นาที); กด SET สั้น ๆ เพื่อตั้งค่าพารามิเตอร์ปัจจุบันของโหมดถัดไปกระบวนการจะเหมือนกับข้างบน
- กดปุ่ม SET ค้างไว้สองวินาที ตัวเลขจะกระพริบ(ตัวเลขแสดงโหมดการทำงานปัจจุบัน) และเข้าสู่โหมดการทำงานที่ตั้งเอาไว้
* ช่วงเวลาที่สามารถตั้งค่าได้ ต่ำสุด-สูงสุด 0.1 วินาที (ขั้นต่ำ) ~ 999 นาที (สูงสุด) ปรับได้อย่างต่อเนื่องโดยกดปุ่ม UP / DOWN
* วิธีการเลือกช่วงเวลา
ในการเลือกโหมดตั้งค่าพารามิเตอร์อินเตอร์เฟสและกดปุ่ม STOP เพื่อเลือกย่านเวลา xxx ถ้าจุดทศนิยมอยู่ในบางที่ช่วงเวลาคือ s- 1- 999 s xx.x คือตำแหน่งทศนิยมคือสิบช่วงเวลาคือ 0.1 วินาที 99.9 วินาที x.x.x. คือจุดทศนิยมทั้งหมดที่อยู่ในช่วงเวลาคือ 1 นาทีถึง 999 นาที พารามิเตอร์ : OP = ช่วงเวลาเปิด ; CL = ช่วงเวลาปิด ;
LOP = วนรอบเป็นครั้ง 1-999 ครั้ง ; "- --" รอบไม่จำกัด
* การใช้งานหน้าสัมผัสรีเลย์ ขาของรีเลย์จะแยกออกจากระบบไฟของแผงวงจร ดังนั้น เราสามารถต่อได้ทั้งไฟ AC และ DC โดยใช้ได้ทั้งแบบ ปกติปิดวงจร ( NC ) และ ปกติเปิดวงจร ( NO )
ตัวอย่างการนำไปใช้งาน สำหรับเป็นออดเตือนเมื่อลืมปิดประตู
อุปกรณ์ที่ใช้
1. โมดูลตั้งเวลา เลือกการทำงานเป็นโหมดโปรแกรม P-4
2. เซ็นเซอร์แม่เหล็กชนิด NO ปกติจะตัดเมื่อไม่มีแม่เหล็กอยู่ใกล้ และจะต่อเมื่ออยู่ใกล้แม่เหล็ก
3. บัซเซอร์ 12 โวลท์
4. สวิทช์ปิดเปิด (ใช้สำหรับกรณีต้องการปิดเสียงบัสเซอร์)
การติดตั้ง
- ต่อสายไฟบวกเข้าขา 6-30
- ต่อสายไฟลบเข้ากับขา GND
- ต่อสายจากไฟบวกเข้ากับขาสวิทช์แม่เหล็ก และขาอีกด้านของสวิทช์แม่เหล็กให้ต่อเข้ากับขา Trigger บนโมดูลตั้งเวลา
- ต่อสายไฟบวกเข้ากับขา Com บนโมดูลตั้งเวลา(คอมมอนของรีเลย์) และต่อขา + (สีแดง) ของบัสเซอร์เข้ากับขา NC บนโมดูลตั้งเวลา จากนั้นต่อขา – (สีดำ) ของบัซเซอร์เข้ากับขา GND หรือ GND_T ก็ได้
- กรณีต้องการตัดเสียงดังของบัซเซฮร์ชั่วคราว สามารถใช้สวิทช์ปิดเปิดมาขั้นกลางระหว่างขาลบ (สีดำ) ของบัสเซอร์กับ GND ได้เพื่อตัดวงจรไม่ให้บัสเซอร์ทำงาน
โฆษณา