12 ต.ค. 2020 เวลา 03:00 • ปรัชญา
9 เคล็ดลับ
เลือกคู่ชีวิตแบบมหาเศรษฐีที่มีความสุข
คุณคิดว่าจะรักคนคนหนึ่งอย่างไม่เปลี่ยนแปลง แม้เวลาจะผ่านไปเป็นสิบ ๆ ปีได้หรือไม่?
เหตุผลที่บรรดามหาเศรษฐีที่มีความสุขมีชีวิตคู่ที่ดี แค่แต่งงานกับคนที่ตัวเองชอบน่ะไม่พอหรอกน่ะ สาเหตุหลักก็เพราะพวกเขาเลือกคู่ครองในมุมมองที่ต่างจากคนทั่วไปและยังใช้ชีวิตคู่หลังแต่งงาน รวมทั้งมีวิธีคิดเรื่องการอบรมเลี้ยงดูบุตรต่างจากคนทั่วไปด้วย ทำให้พวกเขาสามารถก้าวสู่ความเป็น “มหาเศรษฐีที่มีความสุข” ได้โดยที่ครอบครัวไม่พังทลายลงเสียก่อน
เคล็ดลับที่ 1
### เลือกคู่ครองที่ดี ###
โดยส่วนมาก บรรดามหาเศษฐีมักพบเจอคนที่จะมาเป็นคู่ครองของตัวเองตั้งแต่สมัยเป็นนักเรียนนักศึกษา ฟังแล้วอาจรู้สึกผิดคาด แต่ว่ามีมหาเศรษฐีที่มีความสุขหลายคู่ที่คบหากันตั้งแต่สมัยเรียนและครองคู่กันยาวนานชั่วชีวิต
มีวิธีการเลือกคู่ครองออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ
แบบแรก คือ เลือกคู่ครองโดยพิจารณาจากการที่อีกผ่ายยอมรับในตัวตรของเราตั้งแต่สมัยยังเป็นเพียงแค่นักเรียนนักศึกษาธรรมดา ไม่ได้มีทรัพย์สินเงินทองมากมาย
แบบสอง คือ บรรดาคนที่เกิดมาในตระกูลมหาเศรษฐีด้วยกันเอง
ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มแรกหรือกลุ่มสอง เหล่ามหาเศรษฐีล้วนเลือกคู่ครองจากการคาดคะเนว่า หากเลือกคนคนนี้แล้ว อนาคตจะเป็นเช่นไร ไม่ใช่เลือกโดยใช้ความรักเป็นเครื่องมือตัดสิน
เคล็ดลับ : จงเลือกคนที่ไม่ฟุ่มเฟือยและพร้อมจะก้าวข้ามอุปสรรคทั้งหลายไปด้วยกัน
เคล็ดลับที่ 2
### คาดคะเนความเป็นไปในอนาคตอีกฝ่าย ###
ลองจินตราการถึงอีกฝ่ายในอนาคตอีกสัก 10 ปี
วิธีการ คือ ให้สังเกตพฤติกรรมเพื่อคาดคะเนว่าอีกฝ่ายวางเป้าหมายไว้เช่นไร เขาขยับเข้าใกล้เป้าหมายดังกล่าวในลักษณะใด และพัฒนาการของเขานั้นสังเกตเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรมแค่ไหน
ยกตัวอย่างเช่น คนที่พูดว่า “ในอนาคตผมจะต้องเป็นผู้บริหารและประสบความสำเร็จ” และสามารถก้าวขึ้นตำแหน่งหัวหน้าหลังเข้าทำงานเพียง 3 ปี หรือคนที่พูดว่า “ผมจะเป็นคนรวยและใช้ชีวิตอย่างมีความสุข” แล้วเก็บเงินเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็นเท่าตัวได้ในเวลาไม่นาน
การเลือกคู่ครองโดยพิจารณาเพียงรายได้หรือรูปลักษณ์ในปัจจุบัน ย่อมกลายเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความไม่พอใจในตัวอีกฝ่ายเมื่อรายได้หรือรูปลักษณ์นั้นเสื่อมถอยไป ดังนั้นการเลือกคนรักโดยมองให้ไกลไปถึงอนาคตจึงเป็นข้อปฏิบัติที่สำคัญยิ่ง
เคล็ดลับ : เลือกคู่ครองโดยการมองไปในอนาคตอีก 10 ปีหรือ 20 ปีข้างหน้า
1
เคล็ดลับที่ 3
### อย่าแต่งงานเพื่อผลประโยชน์ ###
คนต้องห้าม 4 ประเภทไม่ว่าจะชายหรือหญิง เป็นคนซึ่งมหาเศรษฐีที่มีความสุขไม่มีวันเลือกมาเป็นคู่ครอง
คนต้องห้ามประเภทที่ 1 คือ คนที่ชอบนินทาว่าร้ายผู้อื่น
คนต้องห้ามประเภทที่ 2 คือ คนที่มองโลกในแง่ลบ
คนต้องห้ามประเภทที่ 3 คือ คนที่คิดถึงแต่ตัวเอง
คนต้องห้ามประเภทที่ 4 คือ คนที่ต้องทุ่มเงินเลี้ยงดู
คนที่ตั้งใจจะแต่งงานกับเราเพราะหวังบางสิ่งบางอย่างน่ะ ถ้าเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยงให้ไกล
คนที่แต่งงานมีความสุขจะเคารพซึ่งกันและกัน รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา ประคับประคองและสนับสนุนกัน แม้ว่าต่างฝ่ายต่างมีเป้าหมายแตกต่างกันก็ตาม
เคล็ดลับ : อย่าแต่งงานเพราะความคาดหวัง
เคล็ดลับที่ 4
### แตกต่างอย่างลงตัว ###
หลายคนคิดว่าคู่แต่งงานจำเป็นต้องมีความคิดหรือทัศนคติที่คล้ายคลึงกันในระดับหนึ่งจึงจะดี ทว่าจุดเด่นของมหาเศรษฐีที่มีความสุขคือ พวกเขามักหลงเสน่ห์คนที่แตกต่างไปจากตัวเองมากกว่าคนที่มีอะไรเหมือน ๆ กัน
ยกตัวอย่างเช่น ผู้ชายที่เป็นนักปฏิบัติมักชอบผู้หญิงที่เป็นนักทฤษฎี คนที่พูดน้อยมักหลงรักคนเปิดเผย หรือผู้ชายที่นิสัยไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยมักมีแนวโน้มจะเลือกผู้หญิงที่ช่างใส่ใจในรายละเอียดมาเป็นคู่ครอง ฯลฯ
เคล็ดลับ : จงแบ่งแยกงานออกจากความรักให้ชัดเจน
เคล็ดลับที่ 5
### อย่าคิดนอกใจ ###
เมื่อกล่าวถึงผู้ชายที่มีฐานะเป็นถึงมหาเศรษฐี หลายคนคงคิดว่าเขาคงต้องมีชีวิตส่วนตัวที่หวือหวา ใช้เงินซื้อทุกอย่าง และมีชู้รักแอบซ่อนอยู่ไม่ต่ำกว่า 2 หรือ 3 คน
แน่นอนว่ามหาเศรษฐีที่ไร้สุขอาจประพฤติตนเช่นนี้ให้เห็นเป็นเรื่องปกติ มิหนำซ้ำในบางประเทศยังมีกฏหมายที่อนุญาตให้ผู้ชายมีภรรยาได้หลายคน แต่ถ้าหากตัดคนประเภทดังกล่าวออกไป อาจกล่าวได้ว่า “มหาเศรษฐีที่มีความสุข ซึ่งสร้างเนื้อสร้างตัวขึ้นมาด้วยตัวเอง แทบไม่มีใครทำเช่นนั้น”
ดังนั้นหากคุณหวังที่จะเป็นมหาเศรษฐีที่มีความสุขละก็ อย่าได้มักมากในกามารมณ์ หรือคิดสร้างฮาเร็มเป็นของตัวเองเด็ดขาด
เคล็ดลับ : อย่ามีชู้
เคล็ดลับที่ 6
### กว่าผู้หญิงจะเป็นมหาเศรษฐี ###
ทุกวันนี้ผู้หญิงจำนวนมากขึ้นเริ่มหันมาทำธุรกิจของตัวเอง ดังนั้นในอนาคตจึงอาจจะมีผู้หญิงที่มีฐานะเป็นมหาเศรษฐีที่มีความสุข เพราะประสบความสำเร็จได้ด้วยตัวเองตั้งแต่อายุยังน้อยเพิ่มมากขึ้นก็เป็นได้
ข้อควรระวังคือ ผู้หญิงที่คาดหวังว่าหากแต่งงานกับผู้ชายที่เป็นมหาเศรษฐีก็จะช่วยให้ตัวเองประสบความสำเร็จเช่นกัน มักไม่ได้พบความสุขที่แท้จริง เพราะเป็นการแต่งงานที่เต็มไปด้วยความคาดหวังผิด ๆ
เคล็ดลับที่ 7
### ข้อควรระวังสำหรับสามี-ภรรยาที่ทำงานหาเงินด้วยกันทั้งคู่ ###
ถึงสามีและภรรยาจะทำงานด้วยกันทั้งคู่ แต่หากต่างฝ่ายต่างมีเป้าหมายที่ชัดเจน และทำงานซึ่งทำแล้วรู้สึกสนุก รู้สึกว่างานนั้นมีคุณค่าคู่ควรกับความทุ่มเทที่ให้ไป ชีวิตคู่ของทั้งสองย่อมราบรื่นดีไม่มีปัญหาใด ๆ ขอเพียงแค่ยอมรับในเป้าหมายของกันและกันให้ได้ และร่วมแรงร่วมใจช่วยกันทำในสิ่งที่ทำร่วมกันได้ก็ไม่มีปัญหา
ในทางตรงกันข้าม หากสามี-ภรรยาคู่ใดช่วยกันทำมาหากินเพราะเหตุผลว่า “ยิ่งมีเงินมากเท่าไหร่ยิ่งดี” สุดท้ายแล้วก็มักมีความคิดเห็นไม่ลงรอยกันด้วยเรื่องเงิน จนกระทั่งนำไปสู่การหย่าร้างในที่สุด
สิ่งที่เรียกว่า “อิสรภาพทางสังคม” จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ เราได้ให้ความสำคัญกับบุคคลที่เรารักและเคารพ ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะการทำอะไรตามที่สังคมกำหนด หากมัวแต่คิดว่า “คนรอบตัวก็แต่งงานกันหมดแล้ว ดังนั้นเราเองก็คงต้องแต่งงานสักที” หรือ “เพราะไม่มีคู่ครอง เราถึงไม่มีความสุข” ก็คงยากที่จะมีอิสรภาพทางสังคมอย่างแท้จริง
สิ่งสำคัญอันดับแรกคือ การตั้งเป้าหมายเรื่องความสัมพันธ์ให้ดี ว่าอะไรคือสิ่งที่ตัวเองปรารถนา ซึ่งในที่นี้รวมถึงเรื่องคู่ครองและการมีครอบครัวด้วย
เคล็ดลับ : เคารพในเป้าหมายของกันและกัน
เคล็ดลับที่ 8
### ให้เวลากับครอบครัว ###
มหาเศรษฐีที่มีความสุขส่วนใหญ่ให้ความสัมพันธ์กับความสัมพันธ์ในครอบครัวเป็นอย่างมาก เพราะครอบครัวเปรียบได้กับแก่วสำคัญที่สุดของการมีอิสรภาพทางสังคม
การที่พวกเขารักษาความสัมพันธ์ที่ราบรื่นเช่นนั้นไว้ได้ เป็นเพราะต่างฝ่ายต่างให้ความสำคัญกับ “เวลาของครอบครัว” เหนือสิ่งอื่นใดนั่นเอง
กล่าวคือ เพราะอิสรภาพทางเวลาอย่างเต็มที่ พวกเขาจึงมีเวลาคุยกันและมีเวลาเพลิดเพลินกับการพักผ่อนร่วมกันอย่างเต็มอิ่ม โดยไม่มีเรื่องงานหรือเรื่องเงินเป็นอุปสรรค
ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงมีเวลาคิดถึงความสุขในอนาคตของลูกหลานอย่างจริงจังด้วย
สรุปง่าย ๆ ก็คือ มหาเศรษฐีที่มีความสุขให้ความสำคัญกับสิ่งที่เงินซื้อไม่ได้มากที่สุด
เคล็ดลับ : จงให้ความสำคัญกับครอบครัวก่อนเป็นอันดับแรก
เคล็ดลับที่ 9
### อย่าคาดหวังให้ลูกเป็นผู้สืบทอดกิจการ ###
“ความสุขของลูกหลาน” กับ “การสืบทอดธุรกิจที่ตัวเองสร้างขึ้น” นั้นเป็นสิ่งที่ต้องแยกออกจากกัน และที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ ไม่ใช่ว่าลูกหลานในตระกูลจะเป็นผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการสานต่อกิจการเสมอไป ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาตัวเลือกที่เหมาะสมกว่าเข้ามาทำงานแทน
ด้วยเหตุนี้มหาเศรษฐีที่มีความสุขจึงมุ่งเน้นไปที่การให้การศึกษา เพื่อสร้างปัญญาและพัฒนาทักษะของลูกหลานมากกว่า เพื่อเตรียมพวกเขาให้มีความสามารถพร้อมสำหรับการรับมือกับทรัพย์สินที่จะได้รับในอนาคต
เคล็ดลับ : “ความรู้” คือมรดกที่มีค่ามากกว่าเงิน
>>> อ่านหนังสือพัฒนาตนเอง <<<
12.10.2020
โฆษณา