14 ต.ค. 2020 เวลา 10:00 • ประวัติศาสตร์
ค่ายนรกมรณะ! เรื่องน่ารู้ของค่ายกักกันเอาท์ชวิทซ์ ที่ผู้คนนับล้านต้องเอาชีวิตมาทิ้งในนี้
WIKIPEDIA CC PZK NET
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
เหตุการณ์ฆ่าล่างเผ่าพันธุ์ชาวยิวในสงครามโลกครั้งที่ 2 คือช่วงเวลาที่มืดมนที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ แม้เรื่องราวจะโหดร้ายมากเพียงใดแต่มันก็สมควรจะต้องถูกเล่าขานเพื่อให้เราได้เรียนรู้และไม่กลับไปทำความผิดแบบเดิมซ้ำอีก
ในจำนวนค่ายกักกันทั้ง 6 แห่งของนาซีเยอรมัน ค่ายเอาท์ชวิทซ์เป็นค่ายกักกันที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและยังเป็นค่ายที่คร่าชีวิตชาวยิวไปมากที่สุดด้วย คาดการณ์ว่ามีจำนวนผู้เสียชีวิตที่ค่ายนี้อย่างน้อย 1.1 ล้านคน 90% ของผู้เสียชีวิตคือชาวยิว สาเหตุของการเสียชีวิตส่วนใหญ่มาจากแก๊ส Zyklon B ในห้องรมแก๊ส ส่วนสาเหตุอื่นๆ มาจากความอดยาก ความเจ็บป่วยจากปัญหาสุขภาพ การถูกบังคับใช้แรงงาน การทดลองทางการแพทย์ หรือถูกประหารชีวิตเป็นรายบุคคล ค่ายเอาท์ชวิทซ์จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
WIKIPEDIA CC XIQUINHOSILVA
เหนือประตูของค่ายกักกันเอาท์ชวิทซ์มีข้อความที่เป็นคำขวัญของค่ายว่า “Arbeit Macht Frei” เป็นภาษาเยอรมันแปลว่า “Work Makes you free” แปลว่าการทำงานจะทำให้เป็นอิสระ แต่ทุกคนต่างก็รู้ว่าเมื่อได้ผ่านเข้าประตูนี้มาแล้วก็จะสิ้นสุดอิสรภาพลงในทันที
ผู้ที่ต้องมาอยู่ในค่ายกักกันล้วนถูกบังคับจับตัวและถูกควบคุมมา แต่ไม่เหมือนกับ Witold Pilecki นายทหารหน่วยข่าวกรองของโปแลนด์ในสงครามโลกครั้งที่ 2 อาสาเข้าไปอยู่ในค่ายกักกันเอาท์ชวิทซ์เพื่อเข้าไปสืบข่าว รวบรวมข้อมูลที่นาซีได้ทรมาน สังหารชาวยิว เพราะในขณะนั้นโลกภายนอกยังไม่เชื่อว่ามีเหตุการณ์โหดร้ายเกิดขึ้นในค่าย เขาถูกจับไปเข้าค่ายเอาท์ชวิทซ์เมื่อปี ค.ศ. 1940 ก่อนที่จะหลบหนีออกมาได้ในปี ค.ศ. 1943 และได้รายงานข้อมูลที่เขาได้ประสบพบเจอออกมาในปีเดียวกัน
Witold Pilecki - WIKIPEDIA PD
ผู้ที่เดินทางมาถึงค่ายจะถูกเข้ากระบวนการคัดเลือกที่รู้จักกันว่า “Selection” นาซีจะแบ่งคนออกเป็นกลุ่มๆ คนหนุ่มสาวและคนที่ดูสุขภาพแข็งแรงจะถูกส่งไปทำงานยังโรงงานที่อยู่ใกล้เคียง ในขณะที่เด็กกับแม่และคนแก่จะถูกส่งไปยังห้องรมแก๊สทันที
ช่างทำรองเท้าชื่อ Tadeusz Wiejowski ถูกส่งมายังเอาท์ชวิทซ์ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1940 เขาอดทนอยู่ในค่ายได้ราวหนึ่งเดือนก่อนจะพยายามต่อสู้และหลบหนีในเดือนกรกฎาคมปี ค.ศ. 1940 เขาคือนักโทษคนแรกของค่ายที่พยายามหลบหนี
Josef Mengele เป็นนายแพทย์ประจำค่ายเอาท์ชวิทซ์ที่ได้รับฉายา “เทพแห่งความตาย” เขานำนักโทษมาทำการทดลองสุดทรมานตามใจชอบโดยส่วนใหญ่แล้วจะจบลงด้วยความทรมานก่อนจะเสียชีวิต เช่น การทดลองฉีดเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายมนุษย์เพื่อทดสอบการเปลี่ยนแปลง ทดลองปลูกถ่ายอวัยวะ การนำนักโทษไปแช่น้ำเย็นจัดเพื่อทดสอบความอดทน การทดสอบความทนทานต่อกระแสไฟฟ้า การฉีดสารเคมีเข้าไปในดวงตา เป็นต้น
WIKIPEDIA PD
ในปี ค.ศ. 1944 นักโทษในค่ายเอาท์ชวิทซ์ได้ลุกฮือต่อสู้กับทหารนาซีเป็นครั้งแรกโดยใช้อาวุธที่หญิงชาวยิวที่ทำงานอยู่ใกล้ค่ายกักกันลักลอบนำเข้ามา แต่โชคร้ายที่พวกเขาต้องพ่ายแพ้ให้กับทหารนาซีและทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการลุกฮือครั้งนี้ถูกฆ่าตายทั้งหมดโดยเฉพาะหญิงชาวยิวนั้นถูกแขวนคอต่อหน้าสาธารณชน
WIKIPEDIA PD
ค่ายเอาท์ชวิทซ์เปิดใช้งานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1940 ก่อนจะถูกปลดปล่อยโดยทหารโซเวียตในเดือนมกราคม ค.ศ. 1945 แต่ทางฝ่ายนาซีที่รู้ว่าค่ายนี้จะต้องถูกอีกฝ่ายเข้ามาปลดปล่อยอย่างแน่แท้ก็ได้เร่งทำลายหลักฐานอย่างเอกสารที่ประกอบไปด้วยรายชื่อนักโทษ เอกสารการทดลองทางการแพทย์ หรือทำลายอาคารที่ใช้ในการสังหารชาวยิวทิ้งลงอีกด้วย
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา