12 ต.ค. 2020 เวลา 10:47 • ประวัติศาสตร์
Ep.48ผู้เขียนตำราพิชัยสงคราม
เจียงจื่อหยา หรือเกียงจูแหย หรือรู้จักกันดีในชื่อ
เจียงไท่กง เป็นนักยุทธศาสตร์คนสำคัญของโจวเหวินหวางและโจวอู่หวาง เป็นผู้ก่อรัฐประหารเพื่อล้มล้างราชวงศ์ซาง และสถาปนาราชวงศ์โจวขึ้น
มีชีวิตอยู่ราว3000กว่าปีที่แล้ว
ปัจจุบัน นักประวัติศาสตร์และนักวิชาการ ต่างลงความเห็นว่า คือ1ใน2 นักยุทธศาสตร์ที่เก่งกาจที่สุดในประวัติศาสตร์ของจีน อีกท่านคือ เตียวเหลียง เสนาบดีแห่งปฐมกษัตริย์ฮั่น(จักรพรรดิฮั่นเกาจู่หรือหลิวปัง)
บางตำรา ก็อ้างว่า เตียวเหลียง ศึกษาพิชัยสงครามจากตำรา ที่เจียงจื่อหยา เขียนขึ้น
คำว่า"จื่อ" สมัยโบราณเป็นชื่อให้เกียรติยศอันสูงสุดต่อบุรุษ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นเจ้าเมืองเจียง ตำแหน่งโหว(เจ้าพระยา) ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดที่สามัญชนรับราชการสมัยนั้น
คนส่วนใหญ่ยกย่องว่า"ไท่กง" แห่งเมืองเจียง ต่อมาก็คือ เจียงไท่กง นั่นเอง
เจียงจื่อหยาอายุ32ปี ไปสมัครเป็นศิษย์ของอาจารย์เอวียนซื่อเทียนจวิน จนอายุ72ปี ก็ยังไม่สำเร็จเซียน อาจารย์บอกว่า บุญวาสนาจะเป็นเซียนยังไม่มี คงได้แต่เกียรติยศขุนนางขั้นสูงสุดเท่านั้น จึงขอให้ไปช่วยโจวเหวินหวังและโจวอู่หวัง แห่งเมืองซีกี เพราะว่าพระเจ้าโจ้วอ๋องแห่งเมืองเฉาเกอ กำลังหมดบุญวาสนาในอีกไม่นาน
เจียงจื่อหยา จึงเดินทางลงจากภูเขาคุนหลุน
เขาจึงไปหาเพื่อนเก่าที่เมืองเฉาเกอ พอพบกัน ด้วยความหวังดีของเพื่อน จึงไปขอลูกสาวหม่าหวงให้มาเป็นภรรยาชื่อ นางหม่าซื่อ ช่วยภรรยาค้าอะไร ก็ไม่ได้กำไร มีแต่ขาดทุน จึงอาศัยวิชา
หมอดูเลี้ยงชีพ จนสร้างฐานะดีขึ้นมา
วันหนึ่งพระเจ้าโจ้วอ๋อง ไปสักการะศาลเจ้าแม่หวังหมู่ มองไปที่รูปภาพเกิดความกำหนัดขึ้นมา
เจ้าแม่ทรงกริ้วทันที ให้นางปีศาจจิ้งจอก ไปสิงร่างนางต๋าจี ซึ่งเป็นนางสนม ให้ปีศาจอีกตนไปฆ่าพระเจ้าโจ้วอ๋อง ปีศาจทั้งสองกลับไปรักพระเจ้าโจ้วอ๋อง เสียเอง
เจียงจื่อหยารู้ว่าสองคนนี้ คือปีศาจ ถึงขั้นพิสูจน์โดยมี ปี่กานขุนนางผู้ใหญ่เป็นพยานจนเห็นจริง เวลาต่อมา ปี่กานจึงถูกกำจัดแล้ว ไปเป็นเทพแห่งโชคลาภ(ไท้สิ่งเอี้ย)นั่นเอง เจียงจื่อหยาจึงหนีออกจากเมืองเฉาเกอไปเมืองซีกี ในทันที
เจียงจื่อหยาด้วยความอาภัพ เมื่อถึงเมืองซีกีแล้ว ไปอาศัยอยู่ฝั่งแม่นำ้อุยสุ้ย สร้างกระท่อมเล็กๆอาศัยอยู่ จับปลามาเลี้ยงชีพ รออยู่ว่า เมื่อไร
พระเจ้าโจวเหวินหวังจะมาโปรด อายุก็70กว่าๆเข้าไปแล้ว
ในที่สุด อู่จีเด็กชาวบ้านแถวนั้น ได้พาพระเจ้าโจวเหวินหวังมาพบจนได้ ตอนที่พบ เบ็ดของเจียงจื่อหยาไม่มีเหยื่อ แถมตัวเบ็ดลอยเหนือนำ้ด้วย
ร้องโคลงกลอนว่า เมื่อไหร่ปลาตัวใหญ่ๆจะมากินเบ็ดของเขาสักที ในที่สุดก็มาจนได้
เขาได้รับแต่งตั้งเป็นขุนนางผู้ใหญ่ทั้งปวง ว่าราชการทหารและพลเรือนเมืองซีกี พัฒนา
เศรษฐกิจ การทหารและการเมืองให้เข้มแข็ง แล้วย้ายเมืองซีกี ไปยังเมืองเฟิงเฉิง ขยายอาณาเขตไปยังลุ่มแม่นำ้แยงซีเกียง ต่อมาพระเจ้าโจวเหวินหวังเสด็จสวรรคต จีฟาครองราชย์ทรงพระนามว่า พระเจ้าโจวอู่หวัง
ทางเมืองเฉาเกอรู้จึงส่งกองทัพมาปราบ เจียงจื่อหยา จึงไปปรึกษาอาจารย์ อาจารย์จึงให้รายชื่อผู้ที่ต้องตายในสงครามครั้งนี้365คน ให้เจียงจื่อหยาไปเก็บรักษาที่ภูเขาจีซานเรียกว่า
้เฟิงเสินปังหรือห้องสิน
เจียงจื่อหยาจึงทำพิธี ตั้งศาลเก็บรายชื่อดังกล่าว
แล้วมอบให้ เปกก้าม ปีศาจเป็นผู้เฝ้า พร้อมทั้งปีศาจอีก6ตน ซึ่งตายมาแล้วกว่า200ปี มาช่วย
เปกก้ามอีกแรง
นอกจากนี้ เจียงจื่อหยายังได้พาหนะสัตว์ประหลาดชื่อ ซูปุดเสียง ตัวเป็นเกล็ดสีเขียวคราม
หน้าเป็นมังกร เท้าทั้งสี่เป็นเท้าแรด หางเป็นหางวัว พร้อมอาวุธวิเศษคือ กระบองเหล็กยาวหกศอก20ข้อ ปิดยันต์ข้อละ4ชิ้นและธงวิเศษผืนนึง
การสู้รบกันของทั้งสองฝ่าย แต่ละฝ่ายมีขุนพลทหารเก่งกล้าสามารถ มีวิชาอาคมฤทธิ์เดช มีเซียน มีพวกผีปีศาจร่วมรบมากมาย ฝ่ายของเจียงเช่นหลี่จิ้งบิดาหลี่โลเชีย หลี่บุกเชีย หลี่กิมเชีย หลุยจินจู๊ฯลฯ
ฝ่ายเมืองเฉาเกอมีบุนไท่สือ เตียวกุยหอง ฮองหลิมฯลฯ ฝ่ายเซียนที่มาท่านเจียงก็มีมากมาย
ในที่สุด... เมืองเฉาเกอก็แตก พระเจ้าโจ้วอ๋องสิ้นพระชนม์ในกองเพลิง พระเจ้าโจวอู่หวัง เสด็จเข้าเมือง ในวันที่3คำ่เดือน4ปีมังกร รางวงศ์ซางล่มสลาย ทรงบำเหน็จความชอบแก่ขุนนางถ้วนหน้า
โปรดฯให้เจียงจื่อหยา เป็นเจียงไท่กง ครองเมืองเจียง แล้วโปรดฯให้เจียงไท่กง ทำพิธีเรียกวิญญาณทั้ง365ดวง มารับโทษและรางวัล
ถ้าเป็นฝ่ายพระเจ้าโจ้วอ๋อง ถือว่าซื่อสัตย์ต่อนายเป็นจนตายในสนามรบถือเป็นความชอบ ถ้าเป็นฝ่ายพระเจ้าโจวอู่หวัง ถือว่าซื่อสัตย์ต่อแผ่นดิน
มีความชอบ
เจียงไท่กงจึงกราบบังคมทูลลา พระเจ้าโจวอู่หวังไปครองเมืองเจียง จนอายุ102ปีถึงแก่อนิจกรรม
ชื่อของเจียงไท่กง เป็นที่เกรงขามของภูตผีปีศาจเสมอ หลายแห่งจึงเขียนข้อความว่า
"เจียงไท่กงอยู่ที่นี่ พวกภูตผีปีศาจทั้งหลายห้ามเข้า" เป็นยันต์กันผีดียิ่งนัก
เอกสารสำคัญของเจียงไท่กง ได้รับการศึกษาตกทอดมากว่า3000ปี เช่น
"หกยุทธวิธีแห่งสงครามของเจียงไท่กง" หรือ
"คำสอนยุทธศาสตร์หกวิธีอันลี้ลับของเจียงไท่กง"
กล่าวกันว่า นักศึกษาตำราพิชัยสงครามสมัยโบราณที่มีชื่อเสียง ได้ศึกษาตำราโบราณเหล่านี้มาก่อนทั้งสิ้นเช่น ขงเบ้งจูกัดเหลียง เป็นต้น
ตำราเหล่านี้ ท่านเจียงได้เขียนเมื่อไปครองเมืองเจียง ก่อนจะถึงแก่อนิจกรรมนั่นเอง
โฆษณา