Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องเล่ารัฐฉาน ล้านนา ล้านช้างและสยามประเทศ
•
ติดตาม
13 ต.ค. 2020 เวลา 11:43 • ประวัติศาสตร์
เจ้ากองไท หรือ ก๋องไต กับ เจ้านางจ่ายุ้นห์ ชายากำลังเล่นซองก๊อก(พิณพม่า) ถ่ายเมื่อปี คศ.1931 สมัยที่เจ้ากองไตเป็นเจ้าชายเจ้าแกมเมืองเชียงตุง (องค์รัชทายาท) เจ้ากองไตไปเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ที่อังกฤษแต่ไม่จบถึงระดับปริญญา ส่วนเจ้าพรหมลือ ก็ไปเรียนวิศวกรรมไฟฟ้าที่อังกฤษพร้อมๆกัน ทั้งสองคนพี่น้องเรียนๆเล่นๆจึงไม่ประสพผลสำเร็จ เจ้าพ่อจึงเรียกตัวกลับทั้งคู่ เพราะอยู่อังกฤษไปก็เปลืองเงินเปล่าๆ เจ้ากองไตแก่กว่าเจ้าพรหมลือไม่กี่วัน เจ้ากองไตผู้พี่เกิดจากแม่สามัญชนส่วนเจ้าพรหมลือผู้น้องเกิดจากพระราชเทวีหรือพระราชินีของเจ้าฟ้าก้อนแก้วอินแถลง เจ้าผู้ครองนครเชียงตุง เจ้าพรหมลือยอมกลับเชียงตุงแต่โดยดี แต่เจ้ากองไตไม่ยอมกลับเชียงตุง หนีคำสั่งเจ้าพ่อหลบไปสมัครเป็นทหารอังกฤษจนติดยศร้อยโทในกองทัพบกอังกฤษ ที่มาตั้งกองทัพอยู่ที่ย่างกุ้ง โดยเจ้ากองไตเขียนจดหมายมาบอกเจ้าพ่อว่า ตนเองนั้นไม่หวังจะได้ดิบได้ดีอะไรในเชียงตุง จึงขอแยกตัวไปหาความดีทางอื่นดีกว่า เนื่องด้วยเจ้ากองไตเกิดจากแม่สามัญชน ไม่ใช่ลูกพระมหาเทวีอย่างเจ้าพรหมลือ ตำแหน่งเจ้าแกมเมืองก็คงเป็นของเจ้าพรหมลือแน่นอน เมื่อเจ้าฟ้าก้อนแก้วอินแถลง เจ้าพ่อ ได้รับจดหมายจากเจ้ากองไตแบบนี้ จึงโทรเลขไปเรียกตัวกลับมา และ แต่งตั้งเจ้ากองไตเป็นเจ้าแกมเมืองของนครเชียงตุง (ตามคำแนะนำของอังกฤษ เพราะอังกฤษระแวงในตัวเจ้าพรหมลือ เนื่องจากเจ้าพรหมลือแต่งงานกับเจ้าทิพวรรณ ณ ลำปาง เจ้าหญิงแห่งเมืองลำปางหลานสาวเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าผู้ครองนครลำปาง ซึ่งอังกฤษมองว่า ลำปาง ขึ้นตรงกับกรุงเทพ ขึ้นกับราชวงค์จักรี หากให้เจ้าพรหมลือขึ้นครองบัลลังค์เชียงตุง อังกฤษอาจจะสูญเสียเชียงตุงให้กรุงเทพไปก็เป็นได้)
ต่อมาเมื่อเจ้าฟ้าก้อนแก้วอินแถลงวายชนม์ลง เจ้ากองไตก็ได้ขึ้นเป็นเจ้าฟ้าเมืองเชียงตุงต่อจากเจ้าพ่อ ซึ่งในสายตาชาวเชียงตุงเห็นว่าผู้ที่สมควรได้บัลลังค์คือเจ้าพรหมลือ องค์ชายที่เกิดจากมหาเทวีมากกว่า แต่อังกฤษซึ่งปกครองพม่าและปกครองรัฐฉานอยู่ในเวลานั้นไม่เห็นด้วย อังกฤษหนุนเจ้ากองไตมากกว่าเจ้าพรหมลือ เพื่อกีดกันอิทธิพลของกรุงเทพตามที่อังกฤษสงสัยและหวาดระแวงในตัวเจ้าพรหมลือมาโดยตลอด
ในปี คศ.1937 หลังจากเจ้ากองไตขึ้นเป็นเจ้าฟ้าเชียงตุงได้ไม่ถึงปี ก็ถูกลอบปลงพระชนม์ ถูกยิงเสียชีวิตในคืนวันออกพรรษา วันที่22 ตุลาคม คศ.1937 จับมือปืนได้คือเจ้าสีหะ ซึ่งมือปืนวัยรุ่นคนนี้ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน เจ้าสีหะมือปืนผู้นี้ก็เป็นหลานของเจ้ากองไตกับเจ้าพรหมลือนั่นเอง มือปืนซัดทอดว่าคนสนิทของเจ้าพรหมลือจ้างวานฆ่าโดยมีเจ้าพรหมลือเป็นผู้บงการอยู่เบื้องหลัง เพื่อหวังชิงบัลลังค์คืนจากเจ้ากองไต คดีจึงไปพัวพันมัดตัวเจ้าพรหมลือให้ติดร่างแหเป็นจำเลยไปด้วย แต่สุดท้ายศาลก็ยกฟ้องเจ้าพรหมลือเพราะไม่มีหลักฐานเพียงพอ แต่เจ้าสีหะถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต
เจ้าพรหมลือถูกย้ายไปอยู่ตองยี และเมื่อเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา อังกฤษรบกับญี่ปุ่น โดยมีไทยเป็นฝ่ายเดียวกับญี่ปุ่น ไทยยกทัพเข้ายึดเชียงตุงได้สำเร็จ แล้วดึงเอาเจ้าพรหมลือจากตองยีมาเป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงตุง เมื่อสงครามสงบลงญี่ปุ่นแพ้สงคราม ไทยต้องคืนเชียงตุงให้อังกฤษ เจ้าพรหมลือจึงได้อพยพครอบครัวมาอยู่ลำปาง แล้วย้ายมาเชียงใหม่ จนถึงปี พศ.2498 เจ้าพรหมลือก็ถึงแก่กรรมที่เชียงใหม่
Cr อ.พยุงศักดิ์ อัครเกื้อกูล
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย