15 ต.ค. 2020 เวลา 13:02 • หุ้น & เศรษฐกิจ
“ฟิลิปปินส์” เตรียมโดนเพื่อนบ้านทิ้งอีกครั้ง
หลัง IMF ประกาศรายได้ต่อหัวโดน “เวียดนาม” แซงแล้ว
1
ต้องยอมรับว่า “ฟิลิปปินส์” ประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นประเทศที่ติดอันดับเจริญที่สุดแห่งหนึ่งในแถบเอเชีย เมื่อราวๆ 40 – 50 ปีที่แล้ว แต่ด้วยความล้มเหลวทางการเมืองและเศรษฐกิจหลังจากยุคของประธานาธิบดี “เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส” ผู้นำคนที่ 10 ของตากาล็อก ฟิลิปปินส์ก็กลายเป็น "ผู้ป่วยแห่งเอเชีย" มายาวนานกว่า 30 ปี เกิดปัญหาสังคมต่างๆ ตามมามากมาย และโดนเพื่อนบ้านอาเซียนค่อยๆ ทิ้งหนีไปทีละประเทศจนถึงปัจจุบัน
ล่าสุดฟิลิปปินส์อาจต้องช้ำใจอีกรอบ เพราะโดนเพื่อนบ้านอาเซียนที่เคยวิ่งตามหลังมานานเร่งสปีดแซงหน้าไปอีกประเทศเทศเป็นที่เรียบร้อยแล้วซึ่งก็คือ “เวียดนาม” ประเทศดาวรุ่งทางเศรษฐกิจที่มาแรงในยุค พ.ศ.นี้ โดยตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่ชี้วัดการพัฒนาประเทศ และความเป็นอยู่ของประชากรในประเทศคือ GDP per capita หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว เรียกสั้นคือ รายได้ต่อหัวประชากร ที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF ได้ประกาศออกมาล่าสุดเมื่อวานนี้ว่า รายได้ต่อหัวเวียดนามได้แซงฟิลิปปินส์ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
1
โดยเวียดนามมีรายได้ต่อหัวประชากรเฉลี่ยต่อปีเพิ่มขึ้นเป็น 3,497.51 ดอลลาร์สหรัฐฯ (109,290.19 บาทต่อปี)
ส่วนรายได้ต่อหัวประชากรเฉลี่ยต่อปีของฟิลิปปินส์คือ 3,372.53 ดอลลาร์สหรัฐฯ (105,384.82 บาทต่อปี)
1
ตัวเลขที่รายได้ต่อหัวเวียดนามได้แซงฟิลิปปินส์ที่ประกาศออกมานั้นสร้างความสั่นสะเทือนเลือนลั่นไปถึงทีมบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาลประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต ที่เคยตั้งเป้าที่จะยกระดับเศรษฐกิจไปสู่สถานะผู้มีรายได้ปานกลางในปีนี้ แต่หลังจากที่โดนการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – 19 เล่นงานจนกลายเป็นประเทศที่มีอัตราการติดเชื้อและเสียชีวิตสูงที่สุดในอาเซียน รวมทั้งวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ทำให้ฟิลิปปินส์ถึงกับไปไม่เป็นกันเลยทีเดียว
ที่แย่ไปกว่านั้นคือ หากเทียบแนวโน้มตามการประมาณการของ IMF รายได้ของชาวฟิลิปปินส์จะโดนเวียดนามทิ้งห่างแบบไม่มีวันตามได้ทันอีกต่อไปในเวลาอีกเพียงไม่เกิน 5 ปีข้างหน้า หรือภายในปี 2568 โดยรายได้ต่อหัวเฉลี่ยของผู้คนในกรุงมะนิลาจะอยู่ที่ 4,805.84 ดอลลาร์สหรัฐฯ ตามหลังรายได้เฉลี่ยของผู้คนในกรุงฮานอยที่ 5,211.90 ดอลลาร์สหรัฐฯ
เท่ากับว่ารายได้ต่อหัวของเวียดนามจะแซงฟิลิปินส์เป็นการถาวร
ต้องยอมรับว่าโควิด – 19 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้เวียดนามเป็นที่สนใจของการลงทุน โดยเฉพาะการรับมือการแพร่ระบาดได้ดีกว่าฟิลิปปินส์และสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะอยู่ในอัตราที่ช้าลงก็ตาม
1
ในทางตรงกันข้ามการตอบสนองต่อการรับมือไวรัสที่ย่ำแย่และไร้ประสิทธิภาพของฝ่ายบริหารรัฐบาลดูเตอร์เตทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจล่มสลายครั้งเลวร้ายที่สุดอีกครั้งหนึ่งของฟิลิปปินส์ หลังจากในยุคของนายเบนิกโน อากีโนที่ 3 ประธานาธิบดีคนที่แล้วที่เคยทำให้เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์เติบโตถึง 7%
.
ตามการคาดการณ์ของ IMF พบว่าเศรษฐกิจฟิลิปปินส์หดตัวลง -8.6% เมื่อเทียบเป็นรายปีในปี 2020 ซึ่งเร็วที่สุดนับตั้งแต่หลังการปฏิวัติโค่นล้มมาร์กอส และฟื้นฟูประชาธิปไตยในปี 1986 แต่ในทางตรงกันข้ามเศรษฐกิจเวียดนามคาดว่าจะเติบโต 1.6% ต่อปี
2
.
เวียดนามถือว่าพึ่งพาการส่งออกคิดเป็น 100% ของ GDP ในขณะที่ของฟิลิปปินส์มีเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น ส่วนค่าใช้จ่ายด้านการบริโภค รวมทั้งอาหารการกินที่ราคาถูกช่วยให้เวียดนามสามารถให้ค่าจ้างที่เหมาะสมและมีกำลังซื้อที่สูง กระตุ้นการเติบโตในภาคการผลิตของประเทศได้อีกทาง ต่างจากฟิลิปปินส์ที่ประสบปัญหาการขาดแคลนอาหารมาตลอดหลายทศวรรษ เนื่องจากไม่สามารถผลิตอาหารได้เพียงพอต่อความต้องการของประชากรกว่า 113 ล้านคน ทำให้ต้องนำเข้าอาหารจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากทุกๆ ปี แม้แต่ข้าวที่เป็นอาหารหลักของคนฟิลิปปินส์ก็ยังต้องนำเข้าเช่นกัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อราคาค่าอาหารที่สูงกว่าค่าครองชีพ
อย่างไรก็ตามเวียดนามได้รายงานตัวเลขเศรษฐกิจของประเทศต่อ IMF ซึ่งเป็นการรายงานแก้ไขเพิ่มเติมจากที่เคยรายงานไปก่อนหน้านี้แล้วโดยขอปรับฐานจีดีพีเมื่อปี 2018 ซึ่งอ้างว่ามีการคำนวนตัวเลขที่ตกหล่น และต่ำกว่าความเป็นจริง ซึ่งทาง IMF ก็รับเรื่องแล้วประเมินสำรวจ จึงปรับแก้ตัวเลขให้ใหม่ดังกล่าว ส่วนฟิลิปปินส์ก็ทำเรื่องขอปรับฐานตัวเลขจีดีพีใหม่เช่นกันเมื่อปลายปี 2019
ทั้งนี้การที่เวียดนามมีการปรับฐานรายได้นั้นก็อาจส่งผลกระทบต่อเวียดนามอีกด้านก็คือ การถูกตัดสิทธิพิเศษทางการค้าต่างๆ แต่ทางแก้ของเวียดนามคือการทำ FTA กับประเทศคู่ค้าต่างๆ ดักเอาไว้แล้ว
ส่วนเรื่องเงินบริจาคจากต่างประเทศ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะยาวที่สูงขึ้น รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อ และการเพิ่มขึ้นของจีดีพี อาจส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามไม่สามารถเติบโตได้ร้อนแรงอย่างเดิมอีกต่อไป ซึ่งนั่นจะทำให้เวียดนามเริ่มมีการชะลอตัวของเศรษฐกิจลง
แต่ทั้งนี้ก็เพื่อแลกกับการเพดานกู้เงินต่างประเทศหรือการก่อหนี้สาธารณะที่จะขยายได้เพดานได้เพิ่มขึ้น จากที่ปัจจุบันแทบวงเงินกู้และหนี้สาธารณะจะชนเพดานขั้นต่ำตามกฎหมายของเวียดนามอยู่แล้ว และทางองค์กรระหว่างประเทศที่ให้เครดิต เพดานหนี้ฯ ที่ 65% ของจีดีพี ซึ่งจะทำให้เวียดนามกู้เงินได้มากขึ้น แต่หนี้สาธารณะก็จะพุ่งขึ้นเป็นเงาตามตัวนั่นเอง
1
ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบรายได้ต่อหัวเฉลี่ยต่อปีของกลุ่มประเทศอาเซียนตามการประกาศล่าสุดของ IMF จะเรียงจากมากไปน้อยได้ดังนี้
🇸🇬 สิงคโปร์
💵 58,483.961 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 1,828,968.91 บาท
👨👩👧👦 ประชากร 5.7 ล้านคน
🇲🇾 มาเลเซีย
💵 10,192.457 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 318,748.71 บาท
👨👩👧👦 ประชากร 32.5 ล้านคน
🇹🇭 ไทย
💵 7,295.127 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 228,140.51 บาท
👨👩👧👦ประชากร 66.5 ล้านคน
🇲🇨 อินโดนีเซีย
💵 4,038.404 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 126,293.01 บาท
👨👩👧👦 ประชากร 263 ล้านคน
🇻🇳 เวียดนาม
💵 3,497.512 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 109,377.69 บาท
👨👩👧👦 ประชากร 96 ล้านคน
🇵🇭 ฟิลิปปินส์
💵 3,372.529 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 105,469.10 บาท
👨👩👧👦 ประชากร 113 ล้านคน
🇱🇦 ลาว
💵 2,567.006 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 80,277.98 บาท
👨👩👧👦 ประชากร 7.1 ล้านคน
.
🇰🇭 กัมพูชา
💵 1,571.92 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 49,158.65 บาท
👨👩👧👦 ประชากร 16.25 ล้านคน
🇲🇲 เมียนมาร์
💵 1,332.552 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 41,672.90 บาท
👨👩👧👦 ประชากร 53.7 ล้านคน
โฆษณา