17 ต.ค. 2020 เวลา 11:30 • สุขภาพ
ภัยเงียบของคนทำงาน! นี่คือสิ่งที่อาจเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ในระบบร่างกาย หากเรานอนดึกเป็นประจำ
123RF
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
มนุษย์อย่างเราๆ มักจะยึดเวลาของเข็มนาฬิกาเป็นตัวบอกเวลาตื่น-นอน แต่รู้หรือไม่ว่า? ความจริงแล้วภายในร่างกายของเราก็มีสิ่งที่เรียกว่า “นาฬิกาชีวิต” อยู่ด้วยเช่นกัน ซึ่งมันจะผิดเพี้ยนไปตามการนอนของคุณในแต่ละวัน จนนำไปสู่ปัญหาต่างๆ ได้โดยที่อาจคิดไม่ถึง เมื่อตื่นนอนแสงแดดส่องเข้าสู่ดวงตา เซลล์ประสาทจากตาจะส่งสัญญาณไปกระตุ้นเซลล์สมองเพิ่อปิดการทำงานของ “เมลาโทนิน” หรือ ฮอร์โมนที่ทำให้มนุษย์เกิดอาการง่วง และทำให้เรารู้สึกตื่นตัว แต่เมื่อแสงโดยรอบนั้นมืดลงสมองจะหลั่งสารเมลาโทนิน เพื่อกระตุ้นให้เราง่วงและพักผ่อน ซึ่งมันจะเกิดขึ้นตามเข็มเวลาของชีวิตแต่หากมันถูกเปลี่ยนไปนั้นระบบร่างกายก็จะเปลี่ยนตามไปด้วยเช่นกัน ซึ่งจะส่งผลให้ได้รับผลกระทบต่างๆ ดังนี้
2
1. โรคนอนไม่หลับ แม้ว่าใครหลายคนคิดว่าการนอนดึกตื่นสายเป็นอะไรที่ทดแทนกันได้ ก็จริงเพียงบางส่วน แต่ความจริงคือ แม้คนที่นอนดึกนั้นจะตื่นตัวในเวลาเช้าได้เช่นเดียวกับคนที่นอนเร็วแล้วตื่นเช้า หรือ พูดง่ายๆ ว่าร่างกายได้สั่งให้ตื่นตัวโดยอัตโนมัติ แต่ก็มักรู้สึกง่วงนอนเหมือนนอนไม่พออยู่ดี ทั้งๆ ที่ระยะเวลาในการนอนยาวเท่ากัน เนื่องจากหลับไม่สนิทนั่นเอง
2
2. อุบัติเหตุต่างๆ ที่เป็นผลกระทบจากนอนดึก ทั้งที่เกิดในระหว่างการทำงานและการเดินทางโดยเฉพาะการขับขี่ยานพาหนะ มีการศึกษาพบว่าผู้ที่นอน น้อยกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน จะมีความสามารถในการขับขี่ลดลง ซึ่งปัญหา “หลับใน” ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้มากกว่า 100,000 ครั้งต่อปี และมีผู้ที่ได้บาดเจ็บและเสียชีวิตสูงถึงปีละ 1,500 คนเลยทีเดียว
3. ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายจะอ่อนแอลงเรื่อยๆ จากผลการวิจัยพบว่าในวัยหนุ่มสาวทั้งสองเพศที่ใช้เวลานอนเพียง 6 ชั่วโมงต่อวัน จะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบอาการปวดตามร่างกาย และอาจทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้เมื่ออดหลับอดนอนเป็นเวลานานด้วย
123RF
4. ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด จากงานวิจัยจากโรงพยาบาลในสหรัฐ พบว่าผู้ที่นอนน้อยมีความเสี่ยงสูงกว่า 2-3 ที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและโรคหัวใจสูงกว่าคนที่นอนเพียงพอ 8 ชั่วโมง เลยทีเดียว
5. โรคอ้วนภัยร้ายที่จะมาเยือนคนนอนดึก นอกจากความหิวในมื้อดึกที่ยากต่อการเผาผลาญของร่างกายแล้ว ผลงานวิจัยยังพบว่า การนอนผิดเวลาเหล่านี้จะส่งให้ระบบฮอร์โมนควบคุมความอยากอาหารผิดเพี้ยน หรือ พูดง่ายๆ ว่ากินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่ม หรือ อิ่มก็หิวเร็ว ซึ่งหลังจากให้ทำการนอน 8 ชั่วโมงเป็นเวลาหลายวันก็พบว่า ร่างกายมีความต้องการอาหารน้อยลงและมีค่าดัชนีมวลกายที่น้อยลงอีกด้วย
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
โฆษณา