18 ต.ค. 2020 เวลา 07:08 • ธุรกิจ
เดาสิบริษัทไหนที่เป็นเจ้าของสิทธิบัตรมูลค่าที่สุดในโลก?
ผู้อ่านอาจจะนึกถึงบริษัทยาชื่อดัง หรือบริษัทดิจิทัลยักษ์ใหญ่
...
...
แต่บริษัทที่คว้าตำแหน่งดังกล่าว คุณอาจจะไม่เคยได้ยินชื่อเสียด้วยซ้ำ ว่าแล้วไปรู้จัก “InterTrust Technologies” บริษัทที่เป็นเจ้าของสิทธิบัตรสุดแพงกันดีกว่า
1) ว่าด้วยเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา
ก่อนจะพาไปรู้จักกับ InterTrust ขอเกริ่นภาพกว้างๆของทรัพย์สินทางปัญญากันก่อน พูดง่ายๆก็คือสิทธิของมีค่าที่เกิดจากปัญญาหรือการประดิษฐ์คิดค้นของเรานั้นเอง โดยมีกติกาในการคุ้มครองสิทธิที่ว่าอย่างเป็นระบบ ได้รับการยอมรับเป็นมาตราฐานทั่วโลก
ทรัพย์สินทางปัญญาที่ว่าอาจจะอยู่หลายรูปแบบ แต่ที่เราคุ้นๆและได้ยินบ่อยๆอาทิเช่น ลิขสิทธิ์, สิทธิบัตร, ความลับทางการค้า (อย่างสูตรลับของโค้ก) หรือเครื่องหมายการค้า เป็นต้น
แต่วันนี้เราโฟกัสไปที่สิทธิบัตร ซึ่งเป็นวิธีการคุ้มครองการประดิษฐ์หรือผลิตภัณฑ์ โดยเจ้าของสิทธิสามารถห้ามไม่ให้ผู้อื่นผลิตหรือจำหน่ายสินค้าที่ได้รับสิทธิ์คุ้มครองนั้นเป็นระยะเวลาหนึ่ง (ส่วนใหญ่คือ 20 ปี)
ซึ่งการที่จะขอรับสิทธิบัตรคุ้มครองได้นั้นมีปัญจัยอยู่ 3 อย่างคือ เป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ (ไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน), เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น (ไม่ใช่ขั้นตอนที่ใครๆก็คิดได้แบบนั้น) และสุดท้ายสามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้
2) InterTrust บริษัทนี้ทำมาหากินอะไร??
พวกเขาเป็นเจ้าของซอฟแวร์สำหรับการบริหารจัดการความปลอดภัยของข้อมูลที่ส่งต่อกัน digital right management (DRM) ที่มีการใช้อย่างแพร่หลายเหมือนการล็อคกุญแจให้กับข้อมูลของคุณ เมื่อเวลาถูกเคลื่อนย้ายถ้าไม่มีกุญแจที่ถูกต้องก็ไม่สามารถเปิดข้อมูลนั้นๆได้
Intertrust ก่อตั้งในปี 1990 โดย Victor H. Shear ในช่วงเวลาที่ดอมคอมบูมเกือบถึงขีดสุด Intertrust ก็ไม่ต่างกัน เค้าสามาวถนำบริษัทจดทะเบียนได้ในตลาดหลักทรัพย์ พร้อมราคาหุ่นที่พุ่งทะยานหลังจากมีบริษัทผู้จำหน่ายอุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์หลายรายต้องการใช้ซอฟแวร์ของพวกเค้า
ไม่ช้าโฉมงามอย่าง Intertrust ก็ถูกควบรวมกิจการโดยกลุ่มนักลงทุนนำโดยโซนี่ (SONY) ทุ่มเงินกว่า 400 ล้านเหรียญ (เมื่อปี 2002) ในการซื้อหุ้น ซึ่งเหตุผลหลักๆของการควบรวมก็คือพอร์ตโฟลิโอของสิทธิบัตรจำนวนมากที่เกี่ยวกับ DRM ซึ่งจะส่งผลให้โซนี่เข้าถึงเทคโนโลยีและสามารถนำมาใช้ในคอนเทนท์ของโซนี่ได้
ปัจจุบัน Intertrust เป็นผู้นำในการบริการ DRM สำหรับผู้ผลิตและผู้ให้บริการมือถือ, ผู้ผลิต IoT รวมไปถึงซอฟแวร์ที่ใช้ในนะบบต่างๆ ซึ่ง DRM ช่วยให้เกิดการเเลกเปลี่ยนข้อมูลทางดิจิทัลเกิดขึ้นได้อย่างปลอดภัย ซึ่งนับว่าเป็นเทคโนโลยีที่ต้องมีการใช้งานมากที่สุดอันหนึ่งในโลกยุคดิจิทัล
3) ว่าด้วยเรื่องความถูกแพงของสิทธิบัตร
ในความเป็นจริง การตีราคาของทรัพย์สินทางปัญญานั้นไม่ง่ายเลย เพราะที่สุดเเล้วก็เป็นของซื้อของขาย จึงขึ้นอยู่กับการเจรจาหาจุดที่พึงพอใจของทั้งสองฝ่าย
แต่ก็มีความพยายามในการสร้างตัววัดสำหรับมาใช้ในการบอกมูลค่าของสิทธิบัตร วิธีหนึ่งก็คือ The Portfolio Value IndeX (PVIX) ซึ่งเป็นการคำนวณโดยใช่ข้อมูล 3 ด้านคือ (1) จำนวนสิทธิบัตร, (2) ตลาด, และ (3) ความน่าเชื่อถือ
ซึ่งจากการคำนวณโดย Unified patent ในปี 2019 สิทธิบัตรในหัวข้อ Systems for Methods for Secure Transaction Management and Electronica Rights Protection ซึ่ง Intertrust เป็นเจ้าของมี PVIX score 100.00 เนื่องด้วยสิทธิบัตรฉบับนี้มีการจดกระจายครอบคลุมในประเทศสำคัญเกือบทั่วโลก (ทำให้คะแนนด้านจำนวนสูง) และประเทศที่ไปจดก็มีขนาดของตลาดที่ใหญ่ (จากการคำนวณด้วย GDP ของแต่ละประเทศ ทำให้ได้คะแนนทางด้านตลาดสูงอีก) สุดท้ายคือความหน้าเชื่อถือ ด้วยสิทธิบัตรฉบับนี้เปิดเผยตั้งแต่ปี 1999 เป็นรากฐาานของ DRM เทคโนโลยีรุ่นต่อๆมา ทำให้สิทธิบัตรฉบับนี้ถูกให้เป็นตัวอ้างอิงสูงมาก (นั้นส่งผลให้คะแนนความน่าเชือถือสูงอีกเช่นกัน) โดยรวมจึงคว้าที่หนึ่งได้ไม่ยาก
ในขณะที่สิทธิบัตรของ Apple ในเรื่อง Multipoint Touchscreen ตามมาเป็นที่ 2 ด้วยคะแนน 98.95 (สิทธิบัตรฉบับนี้มีอายุน้อยกว่าเกือบ 10 ปี ในปีถัดๆไปอาจจะคว้าที่หนึ่งได้ไม่ยากนัก)
สิทธิบัตรของ Intertrust Technologies ยื่นหนึ่งเรื่องคุณค่า
4) Intertrust แจ็คผู้ฆ่ายักษ์ตัวจริง
อยากที่เกริ่นไปในช่วงต้นว่าสิทธิบัตรต้องเป็นการประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงและสิทธินั้นจะได้รับการคุ้มครองเพื่อไม่ให้ใครสามารถผลิตหรือลอกเลียนแบบได้ ในประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูงก็มักจะมีการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดสิทธิบัตรกันอยู่บ่อยๆ ที่เราคุ้นๆก็อาจจะเป็นเรื่องราวของ Apple กับ Samsung
แต่สำหรับ InterTrust พวกเขามีคู่ต่อสู้ยักษ์ใหญ่ที่น่าสนใจหลายคน หนึ่งในนั้นก็คือ Microsoft โดย InterTrust ดำเนินการฟ้อง Microsoft ในปี 2004 ระงับการใช้เทคโนโลยี DRM ในซอฟแวร์ของ Microsoft ที่จะทำให้ซอฟแวร์ของ Microsoft สามารถที่จะกระจายข้อมูลผ่าทางอินเตอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัย ซึ่งจะทำให้ Microsoft สามารถต่อกรกับ Apple ได้
โดย InterTrust สงสัยว่าซอฟแวร์ดังกล่าวอาจจะละเมิดสิทธิบัตรของพวกเค้านั้นเอง ซึ่งในที่สุดท้ายก็มีการยอมความและบรรลุข้อตกลงในการใช้สิทธิองค์ความรู้ของ InterTrust โดยที่ Microsoft ต้องจ่ายเงินถึง 440 ล้านเหรียญสำหรับเทคโนโลยีดังกล่าว
ไม่เพียงแต่ Microsoft ที่ต้องยอมถอยให้กับ InterTrust ยักษ์ใหญ่อีกตนอย่าง Apple ก็ปั่วป่วนไม่น้อย เมื่อ InterTrust ฟ้องร้องว่า Apple ในปี 2013 ว่า Apple ได้ทำการละเมิดสิทธิบัตรของ InterTrust อย่างน้อย 15 รายการในผลิตภัณฑ์หลายชิ้น ซึ่งท้ายที่สุดมีการเจรจาและบรรลุข้อตกลงกันนอกศาลโดยที่ไม่มีการเปิกเผยตัวเลขหรือผลประโยชน์ที่ InterTrust ได้รับ (แต่เชื่อได้ว่าคงมีมูลค่าไม่น้อยกว่าที่ Microsoft ต้องจ่ายแน่นอน)
แม้ว่าตามรายงาน InterTrust ไม่มีการขายขาดสิทธิบัตรดังกล่าวให้แก่ใคร แต่มูลค่าที่ได้รับกับมาจากการอนุญาตืให้ใช้องค์ความรู้นั้นก็มหาศาลไม่น้อยที่เดียว
เรื่องราวทั้งหมดก็สื่อให้เห็นว่าถ้าคุณมีความคิดดีๆ ที่สามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้และเข้าข่ายที่จะได้รับการคุ้มครองทางสิทธิบัตร นี้ก็เป็นเครื่องมือชิ้นหนึ่งที่ช่วยทำให้คุณสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้เหมือน InterTrust แจ็คผู้ฆ่ายักษ์ของเรา
Portfolio Value Index (PVIX) Methodology, https://support.unifiedpatents.com/
TECHNOLOGY; Microsoft Settles InterTrust Suit For $440 Million, nytimes.com, 12 Apr 2004
Apple, Intertrust settle year-old patent suit, https://www.reuters.com/, 5 Apr 2014
DEFENSIVE AGGREGATOR SAYS ‘WORLD’S MOST VALUABLE’ PATENT IS HELD BY TINY INTERTRUST TECHNOLOGIES, https://ipcloseup.com/, 19 Dec 2019
โฆษณา