17 ต.ค. 2020 เวลา 10:38 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์
May 18 กับคำถามง่ายๆที่อาจตอบอยาก
“รู้ไหมว่าอะไรมีพลังมากกว่าปืน...?"
โปสเตอร์ภาพยนตร์เรื่อง MAY 18
ภาพยนตร์เรื่อง May 18 หรือชื่อภาษาไทยว่า “พฤษภาฯ 18” เป็นภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นจากเหตุการณ์จริงของประเทศเกาหลีใต้ ที่เรียกกันว่า “เหตุการณ์จลาจลที่เมืองกวางจู” (Gwangju Democratization Movement) ระหว่างวันที่ 18 - 27 พฤษภาคม พ.ศ.2523
ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวมีชนวนเหตุสืบเนื่องมาจากการยึดอำนาจของนายพลชุน ดูฮวาน (Chun Doo-hwan) และนายพลโรห์ แตวู (Roh Tae-woo) เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2522 หลังการเกิดเหตุการณ์ลอบสังหารประธานาธิบดี นายพลปาร์ค จุงฮี (Bak Jeonghui)ได้ไม่นาน
พิธีศพของประธานนาธิบดีปาร์ค จุงฮี ที่ถูก คิม แจ-คยู ผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองกลาง ลงมือสังหาร
การยึดอำนาจของกองทัพในครั้งนั้น ส่งผลให้เกิดกระแสความไม่พอใจจากประชาชนที่ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านการกระทำของกองทัพที่ได้ลุกลามไปทั่วประเทศ
จนในที่สุดเมื่อ นายพลชุน ดูฮวาน และนายพลโรห์ แตวู ได้สั่งการให้กองทัพใช้กำลังปราบปรามประชาชนอย่างเด็ดขาด ด้วยข้อหากบฏและเป็นคอมมิวนิสต์ ซึ่งถือเป็นภัยร้ายแรงของเกาหลีใต้ในภาวะที่มีความขัดแย้งของสงครามเย็นในช่วงเวลานั้น
3
โดยในการลุกฮือของประชาชนในพื้นที่ของเมืองกวางจู(Gwangju) ที่เป็นเมืองเอกในจังหวัดจอลลาใต้ ถือได้ว่ามีความรุนแรงมากที่สุด
เนื่องจากได้มีการใช้ความรุนแรงของทหารที่ส่งมาควบคุมสถานการณ์ โดยการใช้อาวุธสงครามยิงใส่ประชาชน จนเป็นเหตุลุกลามให้ประชาชนโกรธแค้นและบุกเข้ายึดอาวุธมาตอบโต้และใช้ศาลากลางเป็นที่มั่นต่อสู้กับกองกำลังทหารที่ถูกส่งมาปราบ จนเป็นเหตุนองเลือดตามมา
ที่ตั้งนครกวางจู (สีเขียว)
ภาพการชุมนุมประชาชนและนักเรียน นักศึกษา ในเมืองกวางจู
การเดินขบวนประท้วงการยึดอำนาจของนายพลชุน ดูฮวาน และนายพลโรห์ แตวู
ซึ่งเหตุการณ์การปราบปรามประชาชนที่เมืองกวางจู ได้ดำเนินไปนับจากการประกาศกฏอัยการศึกของรัฐบาลในวันที่ 17 พฤษาคม พ.ศ.2523 และได้ส่งทหารจำนวน 100,000 นาย เข้าล้อมเมืองกวางจูไว้เพื่อควบคุมสถานการณ์ประท้วงจากผู้ชุมนุม
จนนำไปสู่การปะทะกันของทหารและประชาชนในเมือง ระหว่างวันที่ 18 - 27 พฤษภาคม ก่อนที่รัฐบาลจะเป็นฝ่ายที่มีชัยชนะจากการปราบปรามผู้ต่อต้านรัฐบาลลงได้สำเร็จ
การประจันหน้าของทหารและประชาชนที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย
จุดปะทะของทหารที่เริ่มใช้อาวุธจริงในการสลายการชุมนุม
ภาพทหารยิงแก็สน้ำตาเข้าไปในรถโดยสารที่ผู้ชุมนุมยึดเป็นพาหนะในการประท้วง
ทหารใช้กระบองตีผู้ชุมนุมและตีซ้ำแม้ล้มลงแล้ว
ทหารจัดการกับศพผู้เสียชีวิตและผู้ที่ถูกจับตัวได้
สภาพศพผู้เสียชีวิต บางส่วนเป็นนักเรียน(ชุดลายในรูปคล้ายชุด ร.ด.ของนักเรียนเกาหลี)
ทหารกำลังควบคุมตัวผู้ชุมนุมที่ถูกจับได้ไปกักขัง
ผู้ชุมนุมที่โกรธแค้นเข้ายึดอาวุธจากสถานที่ราชการและเตรียมตอบโต้กับฝ่ายทหาร
หนุ่มสาวเมืองกวางจู ใช้รถจี๊ปทหารที่ยึดได้ออกตระเวรกระจายข่าวภายในเมือง
ทหารเข้าเคลียร์พื้นที่ในเมืองกวางจูหลังกวาดล้างผู้ต่อต้านด้วยอาวุธลงได้
ภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าวรัฐบาล ระบุว่ามีผู้เสียชีวิตเป็นประชาชน 144 คน ทหาร 22 คน และตำรวจ 4 คน มีผู้บาดเจ็บเป็นประชาชน 127 คน ทหาร 109 คน ตำรวจ 144 คน
แต่จากรายงานของกลุ่มญาติผู้เสียชีวิต ระบุว่ามีประชาชนเสียชีวิตอย่างน้อย 165 คน และมีผู้สูญหาย 65 คน ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเสียชีวิตแล้ว...
รูปถ่ายพ่อที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ล้อมปรามที่เมืองกวางจู เป็นภาพที่ถูกเผยแพร่ยังสือต่างประเทศขณะเกิดเหตุการณ์ภาพแรกๆ ขณะที่รัฐบาลเกาหลีขณะนั้นพยายามนำเสนอข่าวอีกด้านหนึ่งว่าเกิดจากกลุ่มคอมมิวนิสต์ที่เป็นกบฏต่อสาธารณรัฐเกาหลี
ญาติผู้เสียชีวิตร่ำให้ขณะฝั่งศพผู้เสียชีวิตจากการใช้ความรุนแรงของทหารในเมืองกวางจู
ภาพผู้เสียชีวิตในเมืองกวางจูในอนุสรณ์สถานที่ตั้งไว้ให้ผู้คนได้เข้ามารำลึกในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตามกลุ่มคณะนายทหารที่ยึดอำนาจและเป็นผู้ออกคำสั่งให้ใช้ความรุนแรงที่เมืองกวางจูในครั้งนั้น ต่างก็ได้เข้ามามีบทบาททางการเมืองและสืบต่ออำนาจต่อมา
โดย นายพลชุน ดูฮวาน ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ในระหว่างวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2523 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 และ นายพลโรห์ แตวู ก็ได้รับตำแหน่งประธานาธิบดีต่อระหว่างวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536
สำหรับในสายตาประชาชนแล้ว การสืบทอดอำนาจดังกล่าว ดูเหมือนจะทำให้กลุ่มผู้ที่ใช้ความรุนแรงเหล่านั้นสามารถลอยนวลจากการกระทำของเขา ด้วยอำนาจที่ครอบครองอยู่อย่างเบ็ดเสร็จ จนไม่สามารถแม้จะเรียกร้องความยุติธรรมให้เกิดขึ้นได้เลย
แต่แล้วในปี พ.ศ.2536 เมื่อนายคิม ยังซัม (Kim Young-sam) ซึ่งเป็นพลเรือนสามารถมีชัยชนะในการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีของเกาหลีใต้ ก็ได้เกิดกระบวนการไต่สวนการฉ้อราษฎร์บังหลวงและการใช้ความรุนแรงปราบปรามผู้เห็นต่างทางการเมืองในช่วงรัฐบาลทหารของนายพลชุน ดูฮวาน และ นายพลโรห์ แตวู
โดยใน พ.ศ.2539 ซึ่งเป็นปีที่ 16 หลังเหตุการณ์นองเลือดที่กวางจู ได้มีการตัดสินลงโทษประหารชีวิต นายพลชุน ดูฮวาน และพิพากษา จำคุก นายพลโรห์ แตวู 22 ปี 6 เดือน และจำคุกนายพลอื่นๆ อีก 13 คน ซึ่งมีส่วนในการสั่งการในครั้งนั้น
ทั้งหมดถูกดำเนินคดี ตั้งแต่การออกคำสั่งเคลื่อนย้ายกำลังพลโดยมิชอบ, ละทิ้งหน้าที่ระหว่างกฎอัยการศึก ,ก่อเหตุฆาตกรรม ,เป็นกบฏต่อแผนดิน และทุจริตรับสินบน ที่ถือเป็นข้อหาร้ายแรง
โรห์ แตวู (ซ้าย) ชุน ดูฮวาน (ขวา) ขณะขึ้นศาลพิพากษาคดี และต่อมาภายหลังทั้งคู่ได้รับการอภัยโทษจากประธานาธิบดี คิม ยังซัม ให้ออกจากคุกในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2540
ในภาพยนตร์เรื่อง May 18 ได้ดำเนินเรื่องโดยใช้ฉากและตัวละครที่สมมุติให้เป็นประชาชนในเมืองกวางจูในช่วงเวลานั้น
ซึ่งภาพตัวแทนของคนกวางจูที่สะท้อนผ่านตัวละครจะมีหลากหลายอาชีพเช่น คนขับรถเท็กซี่(พระเอก)พยาบาล(นางเอก) บาทหลวง ครู นักเรียนมัธยม(น้องพระเอก) ฯลฯ
1
ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นชาวบ้านธรรมดาที่บางคนอาจไม่ได้มีความคิดสนใจการเมืองหรือรุกขึ้นมาต่อต้านรัฐบาลตั้งแต่เริ่มต้นและใช้ชีวิตของตนอย่างปกติสุขไปวันๆ ต่างกับนักศึกษาในมหาลัยที่มีความคิดต่อต้านรัฐบาลทหารที่รุนแรง
จนเมื่อกำลังทหารเข้ามาในเมืองและเริ่มใช้กำลังตาม "กฎอัยการศึก" เข้าควบคุมสถานการณ์และสลายการชุมนุมของนักศึกษา จนลุกกลามไปถึงประชาชนทั่วไปในเมืองทำให้เกิดคนตายขึ้นมา
คังมินอู ชายหนุ่มผู้ขับรถแท็กซี่ (รับบทโดย คิมซังคยอง) ที่พบรักกับนางพยาบาลพัคชินแอ (รับบทโดย อีโยวอน) พระเอกนางเอกของเรื่อง
ตัวละครในภาพยนตร์เรื่อง MAY 18 มีหลากหลายอาชีพในเมือง ตั้งแต่ครู บาทหลวง นางพยาบาล อดีตทหาร นักดนตรี แม่บ้าน ซึ่งสะท้อนถึงชาวเมืองกวางจูที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น
ในภาพยนตร์ช่วงแรกกลุ่มที่ออกไปประท้วงจะเป็นกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ซึ่งมีตัวละครสำคัญคือ คังจินอู (รับบทโดย อีจุนกิ) น้องชายของคังมินอู เป็นตัวเดินเรื่อง
คังมินอู ที่ไม่เคยสนใจการเมืองเลย เพราะต้องทำงานขับแท็กซี่ ได้เข้ามาตามหาน้องชายในม็อบด้วยความเป็นห่วง จนต้องเจอกับการสลายการชุมนุมและสูญเสียน้องชายไป
ฉากผู้ประท้วงในเมืองกวางจูประจันหน้ากับทหาร
ฉากการยิงผู้ชุมนุมก่อนทหารเข้าสลายการชุมนุมของนักศึกษาและประชนในเมืองกวางจู อันเป็นชนวนเหตุการจับอาวุธขึ้นสู้ของชาวเมือง
ฉากลูกที่กอดศพพ่อที่ถูกทิ่ทหารยิงตายบนถนน
ฉากทหารข่นศพประชาชนที่ถูกยิงขึ้นรถบรรทุกของทหาร
ฉากนักข่าวต่างประเทศทำข่าวการเสียชีวติของชาวเมืองจากการสลายการชุมนุมที่รัฐบาลพยายามบกปิดและออกข่าวในทีวีของรัฐบาลว่าเป็นการกบฎ
ตรงนี้ในหนังมีฉากตัวละครที่เป็นอดีตนายทหารที่เป็นชาวกวางจู(พ่อนางเอก)เข้าไปพบกับผู้บัญชาการทหารเพื่อขอร้องให้ทหารถอนกำลังออกไป ซึ่งก็ล้มเหลว และได้ทิ้งประโยคหนึ่งไว้ว่า “รู้ไหมว่าอะไรมีพลังมากกว่าปืน...ประชาชนไง"
ซึ่งสิ่งที่กล่าวนั้นถูกต้องเมื่อประชาชนรู้สึกโกรธแค้นต่างออกมาชุมนุมมากขึ้นเพื่อกดดันให้ทหารออกไปจากเมือง แต่ท่าทีทหารเหมือนจะถอนกำลังแต่กลับเปิดฉากยิงเข้าใส่ประชาชนที่เคลื่อนเข้ามากดดันจนมีคนตายจำนวนมาก ร่วมทั้งคังจินอู น้องชายพระเอกก็ถูกยิงตายด้วย
การใช้ความรุนแรงของทหารนี้ส่งผลให้ประชาชนชาวกวางจูรุกฮือเข้าปล้นอาวุธจากหน่วยราชการเข้าตอบโต้กำลังทหาร ซึ่งรัฐบาลออกสือแถลงว่าพวกที่ต่อต้านรัฐเป็นกบฏ
พัคฮึงซู (รับบทโดย อันซังกิ)ซึ่งเป็นพ่อของนางเอก กำลังพุดปลุกใจให้ผู้ประท้วงต่อสู้เพื่อป้องกันตัวเอง หลังจากที่ทหารใช้อาวุธยิงใส่ประชาชนก่อน
ในฉากหนึ่งที่ผู้บัญชาการทหารกำลังวางแผนจะปราบประชาชนในเมือง ได้พูดว่า
“เจรจาอย่างงันหรอ? แต่พวกนั้นมันมีปืนกันนี้หน่า...จะให้เจรจาบ้าบออะไรกัน...มันเป็นหนูในรูไม่มีทางออก ต้องอดตาย”
ซึ่งหลังจากนั้นทหารก็เข้าล้อมปราบประชาชนที่มีอาวุธที่มีฐานที่มั่นอยู่ในที่ทำการเมือง ซึ่งพวกที่จับอาวุธตายหมดรวมถึงพระเอกที่ฉากสุดท้ายไม่ยอมวางอาวุธแม้ถูกล้อม เพราะไม่ยอมให้เรียกพวกเขาว่าเป็น”กบฏ”
ข้อคิดที่สำคัญของ May 18 คือการสร้างภาพยนตร์ที่พูดถึงประวัติศาสตร์บาดแผลที่รัฐได้กระทำกับประชาชนโดยตรงย่อมถือเป็นความกล้าหาญมากกว่าภาพยนตร์ไทยเรื่อง 14 ตุลา สงครามประชาชนมากนัก
เพราะผลของเหตุการณ์ในครั้งนั้นได้รับการไต่สวนจนถึงที่สุดแล้ว และถือเป็นสิ่งที่ประชาชนเรียนรู้ได้ในฐานะส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชนอย่างแท้จริง
โดยเห็นได้จากในปัจจุบันมีการสร้างอนุสาวรีย์รูปกลุ่มประชาชนในท่าจับปืนและนั่งอยู่บนรถจี๊บทหารที่ยึดมาได้เสมือนเป็นการประกาศชัยชนะของชาวกวางจูที่มีต่อรัฐบาลทหารในช่วงนั้น และทุกๆปีในช่วงตรงกับเหตุการณ์จะมีพิธีรำลึกถึงผู้ที่เสียชีวิตในครั้งนั้นเป็นประจำ
ฉากการจับอาวุธขึ้นตอบโต้ทหารของชาวเมือง สังเกตุว่าเป็นท่าเดียวกับอนุสาวรีย์ที่เมืองกวางจู
ดังนั้นเหตุการณ์ที่เมืองกวางจูไม่ใช้แค่เหตุการณ์นองเลือด จากการปะทะกันของประชาชนกับทหารที่ถูกพิสูจน์ว่าเป็นผู้ใช้ความรุนแรงก่อนและนำมาสู่โศกนาฏกรรมที่คนเกาหลียังคงจดจำมาถึงทุกวันนี้
เหตุการณ์และอนุสาวรีย์ที่กวางจูจึงเป็นสัญลักษณ์ของการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยที่แท้จริงของชาวเกาหลีอีกด้วย...
ฉากจบของเรื่อง นางเอกขึ้นรถกระจายเสียงพูดกับชาวเมืองกวางจูว่า "อย่างลืมพวกเรา" ซึ่งก็หมายถึงผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น
สุดท้ายนี้คงจบด้วยคำพูดของตัวละครในภาพยนตร์ที่เป็นฝั่งประชาชนในเมืองกวางจูที่เป็นผู้ที่ฝ่ายต้องสูญเสีย ที่ว่า
“มันต้องมีความอาฆาตแค้น ถ้าพวกกบฏไม่มีความอาฆาตก็เป็นได้แค่ผู้สมคบคิด”
ประธานธิบดีมุน แจ-อิน ร่วมพิธีรำลึก การครบรอบเหตุการณ์ที่เมืองกวางจู วันที่ 18 พฤษภาคม 2562 ซึ่งประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งของเกาหลีในระยะหลังจะเดินทางมาร่วมงานอยู่เสมอทุกปี
ปัจจุบันนทุกวันที่ 18 พฤษภาคม ซึ่งมีการรำลึกถึงเหตุการณ์ที่เมืองกวางจู จะมีการมอบรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน ให้แก่ผู้ที่ต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน โดยชาวไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้คือ นางอังคณา นีละไพจิตร ในปี พ.ศ.2549 และชาวไทยคนที่ 2 คือ นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน ที่ได้รับรางวัลในปี พ.ศ.2560
A Taxi Driver ปี 2017 ภาพยนตร์อีกหนึ่งเรื่องที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เมืองกวางจูใน ค.ศ.1980 ผ่านมุมมองของคนขับรถแท็กซี่ ที่พานักข่าวต่างชาติเข้ามาถ่ายทำเหตุการณ์ข่าวในช่วงเวลานั้น
การ์ตูนที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์นองเลือดที่กวางจู ทำได้น่ารักดี แต่แฝงแนวคิดให้เยาวชนได้คิด และเข้าใจการต่อสู้กับอำนาจเผด็จการทหารของชาวเมืองได้อย่างน่าสนใจ
ปัจจุบันชาวเกาหลีใต้ยังคงเกลียดชัง นายพลชุน ดูฮวาน ที่นำเกาหลีเข้าสู่ยุคเผด็จการทหาร และสร้างความเจ็บปวด จนมีการสร้างหุ่นประจานไว้ระบายอารมณ์ในที่สาธารณะ
อ้างอิง
โฆษณา