19 ต.ค. 2020 เวลา 14:18 • สิ่งแวดล้อม
Ep. 4 ดอกดิน
พอเข้าช่วงฤดูฝน พื้นดินมีความชุ่มฉ่ำ ในป่าเต็งรังเราจะมีโอกาสพบเจอดอกไม้ที่มีก้านยาวๆ โผล่พ้นดินขึ้นมา มีดอกสีม่วงสด สวยงาม นั่นก็คือ “ดอกดิน” (Aeginetia indica) นั่นเอง แต่ฝรั่งมังค่าเรียกเจ้าดอกนี้ว่า “ดอกผีป่า” หรือ Forest ghost plant ที่ได้ชื่อนี้คงเป็นเพราะเจ้าพืชชนิดนี้ผลุบๆ โผล่ๆ ไม่มีต้น ไม่มีใบ มีแต่ดอกโผล่มานั่นเอง
ก้านดอกยาวสีแดงอมเหลือง ปลายก้านออกดอกเดี่ยว มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ไม่มีใบ ขึ้นในที่ร่มและชื้น
“ดอกดิน” พืชไร้ใบ ที่มีลำต้นอยู่ใต้ดิน จัดได้ว่าเป็นพืชกาฝาก เรียกว่าพืชเบียน หรือปรสิต
ที่มันได้ชื่อเช่นนี้ก็เพราะว่า เจ้าดอกดินนี้ไม่สังเคราะห์แสงเอง ก็คือไม่หาอาหารเองนั่นแหละ มันมีชีวิตรอดจากการดูดธาตุอาหารจากพืชอื่นๆ หรือรากต้นไม้อื่น
ลักษณะดอกเป็นถ้วยคว่ำ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันโค้งงอ
เมื่อย่างเข้าฤดูฝน จะโผล่ขึ้นมาแต่ดอกเพื่อผสมพันธุ์ ดอกดินมีก้านดอกยาว และมีดอกสีม่วง แต่ในดอกสีม่วงๆ นี้มีสารสีดำที่ชื่อว่า ออคิวบิน (aucubin)
โครงสร้างทางเคมีของสารสีดำที่ชื่อ “ออคิวบิน”
คนไทยนิยมเอาดอกดินมาแต่งสีดำในขนม ที่เป็นที่รู้จักกันดีก็คือ “ขนมดอกดิน” ส่วนชาวฮินดูนั้นนำดอกดินมาใช้ทำพิธีกรรมทางศาสนา
โฆษณา