21 ต.ค. 2020 เวลา 03:23 • การศึกษา
สวัสดี.. ท่านผู้ชม
ภาษาไทยคำละวันวันนี้
ขอเสนอเคล็ดไม่ลับแก้การผันเสียงไม่ถูก
คุณเคยพบปัญหาผันเสียงคำในภาษาไทยผิดรึเปล่า เวลาอ่านก็อ่านได้นะ
แต่เวลาจะเขียนนี่สิ
มักจะใส่วรรณยุกต์ผิดเป็นประจำ
ยกตัวอย่างเช่นคำว่า
"นะคะ" มักจะเขียนผิดเป็น "นะค่ะ"
ดังที่เคยลงไว้ในบทความแรกเลย
บางคนบอก จะซีเรียสทำไม เรื่องแค่นี้
เล็กๆน้อยๆ หยวนๆน่า  มันไม่ใช่อย่างนั้น
หากคุณไปสมัครงาน  นี่คือเรื่องพื้นฐานเลย
ที่หน่วยงานต่างๆจะรับคุณเข้าทำงาน
รึเปล่า เพราะมันบ่งบอกถึงความใส่ใจ
ของคุณและความรู้พื้นฐานของคุณเอง
ไม่เป็นไร มาเริ่มกันใหม่ 
บทความนี้ผมคงไม่ได้มาสอนภาษาไทยหรอก  เพราะคงน่าเบื่อ
วิธีคิดแบบง่ายๆเลย  ถ้าไม่แน่ใจว่าจะใส่วรรณยุกต์อะไร   ให้หาคำใกล้เคียงที่ออกเสียงในระดับเสียงเดียวกันที่เรามั่นใจว่าเขียนแบบนี้แน่นอนและใช้พยัญชนะตัวเดียวกันด้วย  เช่น  คำว่า นะคะ จะใส่ไม้เอกดีมั้ยหรือไม่ต้องใส่ 
ให้นึกถึงคำที่ออกเสียงในระดับเดียวกัน 
เช่น  "เคาะ" หรือ "แคะ" เป็นต้น 
สองคำนี้ออกเสียงระดับเดียวกับ "คะ"
และไม่ได้ใส่วรรณยุกต์อะไรเหมือนกัน
แต่ถ้าใส่ไม้เอกล่ะ ลองเอาคำที่ใช้พยัญชนะ ค. ใส่ไม้เอก มาเทียบดู
เช่นคำว่า
"ค่อยๆ" หรือ "ค่าใช้จ่าย" ที่เรามันใจแน่ใจอยู่แล้วว่ามันเขียนแบบนี้
จะเห็นได้ว่า
มันไม่ได้ออกเสียงระดับเดียวกับ"คะ" เลย
ดังนั้นคำว่า "คะ" เราจึงไม่ต้องใส่ไม้เอก
เท่านี้เราก็เขียนถูกได้แล้ว ง่ายๆเลยครับ
ยกตัวอย่างอีกคำ 
เมื่อหลายสัปดาห์ก่อนได้ดูรายการคุยข่าวรายการหนึ่ง
พิธีกรถกเถียงกันว่าจะอ่านว่าอะไร 
กับคำว่า" เจ๊ม้อย"
บางท่านอ่าน "เจ๊ม่อย" 
บางท่านอ่าน  "เจ๊มอย"
จนมีคนทางบ้านส่งข้อความมาบอกว่า
ต้องอ่านว่า "เจ๊ม้อย"
คราวนี้เราลองมาวิเคราะห์หาคำที่ออกเสียงระดับเดียวกับคำว่า "เจ๊ม้อย" กันบ้าง   
ลองยกคำว่า "ไม้" ในคำว่า"ต้นไม้"
ที่ทุกคนย่อมเขียนถูกอยู่แล้วแน่นอนมาเทียบ  ดังนั้น "ม้อย" ในคำว่า" เจ๊ม้อย"
จึงต้องออกเสียงในระดับเดียวกับคำว่า
"ไม้" ในคำว่า "ต้นไม้" เป็นต้น
เห็นมั้ยครับ  ไม่ยากเลย เพียงแค่คุณยกคำ
ที่ออกเสียงระดับเดียวกัน พยัญชนะเดียวกัน ที่คุณรู้และมันใจว่าเขียนถูก
มาเปรียบเทียบ โดยไม่ต้องกลับไปนั่งเรียนไวยากรณ์กันใหม่
แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้า
สวัสดี...
โฆษณา