21 ต.ค. 2020 เวลา 05:24 • สุขภาพ
ตดบ่อย ร่างกายกำลังบอกอะไรหรือเปล่า?
ตด หรือ ผายลม เรื่องธรรมชาติของร่างกายที่เกิดขึ้นกับทุกคนเป็นปกติ
ร่างกายต้องขับลม หรือแก๊สที่สะสมอยู่ในลำไส้ใหญ่ออกมา เช่นเดียวกับการ
ถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะ โดยปกติคนเราจะตดเฉลี่ยประมาณ 5 – 15 ครั้งต่อวัน
แต่บางครั้งการตดบ่อย ๆ หรือมีกลิ่นเหม็น สร้างความอับอายหรือความไม่มั่นใจ
เมื่ออยู่กับผู้อื่น แต่ในบางครั้งการตด ก็บ่งบอกถึงสุขภาพและปัญหาสุขภาพลำไส้
ได้เช่นเดียวกัน
.
## สาเหตุของการ “ ตด ” หรือ “ ผายลม ” ##
การตดหรือผายลม เกิดจากแก๊สที่สะสมในระบบย่อยอาหาร อาจเกิดจากการรับประทาน
อาหารบางชนิดที่ทำให้เกิดแก๊สมาก เช่น เครื่องดื่มน้ำอัดลม พืชตระกูลถั่ว อาหารพวกแป้ง
ที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง หรือการกลืนอากาศเกิดขึ้น เมื่อเคี้ยวอาหาร หายใจ สูบบุหรี่ การกิน
อาหารเร็วเกินไป หรืออื่น ๆ แก๊สส่วนใหญ่ถูกขับออกมาด้วยการเรอ แต่บางส่วนก็ลงไปสู่
ระบบย่อยอาหาร ผ่านลำไส้ ทำให้เกิดอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย และขับออกมาในรูปแบบของการตดในที่สุด
.
.
🥜 อาหารที่รับประทาน บางชนิดทำให้เกิดแก๊สระหว่างถูกย่อย จากกระบวนการหรือความ
ยากในการย่อย ทำให้มีแก๊สในกระเพาะมาก รู้สึกปวดท้อง ท้องอืด และผายลมตามมา
โดยเฉพาะอาหารที่ประกอบด้วยน้ำตาลธรรมชาติ มีเส้นใยอาหารสูง หรืออาหารประเภทแป้ง
เช่น หัวหอม หน่อไม้ฝรั่ง บร็อคโคลี่ กะหล่ำปลี ลูกพรุน แอปเปิล ถั่วลันเตา หมากฝรั่ง ลูกอม
ขนมปัง ข้าวโพด นม เครื่องดื่มน้ำอัดลมหรือน้ำหวาน เป็นต้น
.
🥜 กลืนอากาศมากเกินไป ผ่านการดื่มน้ำหรือรับประทานอาหาร ทำให้มีอาการเรอหรือ
สะอึกได้ นอกจากนี้อากาศบางส่วนยังผ่านเข้าไปสู่ระบบย่อยอาหาร และถูกปล่อยออกมา
ทางทวารหนักในรูปของการตด จากพฤติกรรมเคี้ยวหมากฝรั่ง รับประทานอาหารหรือดื่มน้ำอย่างรวดเร็วจนเกินไป ดื่มน้ำอัดลม ดื่มน้ำจากหลอด สูบบุหรี่ ฯลฯ
.
🥜 ผลจากยาปฏิชีวนะหรือปัญหาสุขภาพ ยาปฏิชีวนะบางชนิด อาจมีผลข้างเคียงให้มี
อาการท้องอืดหรือเกิดแก๊สในระบบย่อยอาหารมาก เช่น ยารักษาโรคเบาหวานอะคาร์โบส
(Acarbose) เป็นต้น โรคบางชนิด เช่น ภาวะการย่อยแลคโตสผิดปกติ จากการไม่ย่อย
น้ำตาลแลคโตสในนม ลำไส้แปรปรวน โรคลำไส้อุดตัน กรดไหลย้อนแผลในกระเพาะอาหารโรคโครห์น เป็นต้น
.
## ตดบ่อย เป็นอันตรายหรือไม่? ##
การตดหรือผายลมปกติเกิดขึ้นได้วันละ 5-15 ครั้งต่อวัน มักเกิดหลังจากรับประทานอาหาร ไม่มีอันตรายใด ๆ แม้กลั้นผายลมหรือบางครั้งก็ผายลมออกมาโดยไม่รู้ตัวเพียง
เล็กน้อยและไม่ส่งกลิ่น แต่ถ้าผายลมมากกว่าหรือน้อยกว่านี้แสดงว่าร่างกายกำลังผิดปกติ
ควรปรับการรับประทานอาหารและไปพบแพทย์ เพื่อป้องกันการท้องอืด ลำไส้อุดตัน
โรคทางเดินอาหารหรือปัญหาอื่นๆ
.
แต่การรับประทานอาหารบางชนิด เช่น อาหารที่มีสารซัลเฟอร์ มีแบคทีเรียที่สร้างแก๊สมีเทน หรือไฮโดรเจนซัลไฟด์ ก็อาจส่งผลให้ลมที่ผายออกมามีกลิ่นเหม็น เกิดจากแก๊สที่มีกลิ่น
จากการหมักหมมของอาหารในลำไส้ โดยเฉพาะอาหารโปรตีนสูงพวกเนื้อสัตว์ ไข่
พืชตระกูลถั่ว ผักเส้นใยสูงและมีกลิ่นแรง เช่น คะน้า กะหล่ำปลี เป็นต้น และหากผายลม
มีกลิ่นเหม็นบ่อยครั้ง หรืออาการร่วมอย่างปวดท้อง เอาจนำไปสู่อาการท้องเสีย ท้องผูกได้
.
นอกจากนี้เสียงของการผายลม เกิดจากการเกร็งของกล้ามเนื้อหูรูดและความดันใน
ลำไส้ใหญ่ ถ้ากล้ามเนื้อหูรูดไม่ค่อยกระชับและความดันภายในลำไส้ใหญ่มีน้อย เสียงผายลมก็จะเบา แต่ถ้ากล้ามเนื้อหูรูดบีบตัวแน่นและแรงดันภายในลำไส้ใหญ่สูง เสียงผายลมก็จะดัง
และมักไม่ค่อยมีกลิ่น
.
## วิธีลดการตดบ่อยและตดเหม็น ##
🥤 รับประทานอาหารและดื่มน้ำช้า ๆ เพราะการทานอาหารเร่งรีบ ทำให้เกิดการกลืนอากาศมากและเกิดแก๊ส
.
🥤 ลดอาหารที่มีเส้นใยอาหาร น้ำตาลธรรมชาติ และแป้งที่ย่อยยาก ที่ทำให้เกิดแก๊สในระบบย่อยอาหารมาก เช่น หน่อไม้ฝรั่ง กะหล่ำปลี แตงกวา หัวหอม ถั่วลันเตา แอปเปิล กล้วย ลูกท้อ ลูกแพร์ ข้าวโอ๊ต ถั่วลิสง นม เครื่องดื่มน้ำอัดลม เบียร์ ไวน์ ขนมปัง อาหารทอดที่มี
ไขมันสูง เป็นต้น
.
🥤 อย่าดื่มน้ำก่อนมื้ออาหารและระหว่างมื้ออาหารมากเกินไป จะทำให้สูญเสียกรดในการ
ย่อยอาหาร อาหารจะถูกย่อยได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ควรดื่มน้ำช่วง 30 นาทีก่อนรับประทานอาหาร จะช่วยให้ย่อยได้ดีขึ้น
.
🥤 เลี่ยงพฤติกรรมที่อาจทำให้ต้องกลืนอากาศเข้าไป เช่น การเคี้ยวหมากฝรั่ง สูบบุหรี่
หรือดื่มน้ำจากหลอด
.
🥤 ลดการใช้ยาปฏิชีวนะที่ช่วยย่อยอาหาร อาจหาตัวช่วยอย่างสารอาหารเสริม
โปรไบโอติก ที่จะเพิ่มจำนวนแบคทีเรียที่ดีในลำไส้ ช่วยให้การย่อยอาหารได้ดีขึ้น
หากชอบบทความของเรา อย่าลืมกดไลก์ กดแชร์ กดติดตาม คอมเมนต์
เพื่อช่วยให้เราพัฒนาให้ดีขึ้นด้วยนะคะ 💙💙
ติดตาม The NA Group ผ่านทาง Facebook ได้ที่
หรือทางเพจ https://nathailand.com/
โฆษณา