23 ต.ค. 2020 เวลา 10:40 • การเมือง
ทำไมวัยรุ่นถึงคุยกับผู้ใหญ่ไม่รู้เรื่อง
โดยเฉพาะเรื่องการเมือง ? ภาค1/2
หลายคนน่าจะมีปัญหากับสถานการณ์นี้อยู่บ้าง ที่การพูดคุยเรื่องการเมืองเป็นเรื่องยาก แม้จะเป็นครอบครัวที่สนิทกัน แล้วในครอบครัวที่ไม่ได้สนิดกันมากยิ่งไม่ต้องพูดถึงว่ามันยากขนาดไหนจินตนาการอาจจะไม่พอด้วยซ้ำ
ส่วนนึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเรื่องของช่องว่างระหว่างวัย (Generation Gap) ที่ในช่วงผู้ใหญ่และเติบโตมามีบริบทแวดล้อมที่แตกต่างกันอย่างมาก ส่งผลให้ระบบคิดแตกต่างกันออกไปด้วย (รอติดตามตอนต่อไป)
จากช่องว่างระหว่างวัยแล้ว มันคงไม่ใช่สิ่งเดียวที่ทำให้เราสองกลุ่มคุยกันไม่ค่อยรู้เรื่อง มาถึงวันนี้คงต้องยอมรับกันว่า “สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)” มีผลอย่างมากที่ทำให้คนสองกลุ่มหันหน้าเข้ามาคุยร่วมกันไม่ได้
ในโลกของสื่อสังคมออนไลน์เกิดปรากฎการณ์ที่เรียกว่า “ห้องแห่งเสียงสะท้อน (Echo Chamber)” ที่เป็นเหตุให้เกิดปัญหาระหว่างเรา
ห้องแห่งเสียงสะท้อนถูกพัฒนาขึ้นจากกลไกของของอัลกอริทึม (Algorithm) บนสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ไม่ว่างจะเป็น facebook Youtube IG Twitter ฯลฯ
ระบบจะคอยแนะนำสื่อเนื้อหาที่มักจะสอดคล้องไปกับพฤติกรรมที่เราแต่แรกเริ่ม ส่งผลให้เรารับรู้แต่ข้อมูลของกลุ่มเดิม ๆ ชุดความคิดเดิม ๆ พูดคุยกันเฉพาะกลุ่มคนซึ่งเป็นการก่อร่างสร้างกำแพงของห้องแห่งเสียงสะท้อนให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ
จนทำให้ห้องแห่งนี้จะเสมือนห้องปิด ห้องที่เต็มไปด้วยความคิดเห็นและแนวทางแบบเดียวกัน ที่ไม่เปิดโอกาศให้ใครแสดงความคิดเห็นต่าง ใครคิดต่าง คือ ผู้แตกต่างและแตกแยก ท้ายที่สุดคนในห้องแห่งเสียงสะท้อนนี้จะนึกคิดไปเองว่าความคิดเห็นในห้องเป็นความเห็นส่วนมากในสังคม (Majority) และคิดว่าเป็นชุดความจริงชุดเดียวที่มีบนโลก
เห็นได้การจัดตั้งกลุ่ม เพจ กรุ๊ปไลน์เฉพาะเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น หรือแม้แต่การหนีชุมชนนกสีฟ้าของกลุ่มวัยรุ่น ที่เป็นการสร้างพื้นที่ของตนเอง และยืนยันตำแหน่งแห่งที่ของตน สร้างเป็นเกราะป้องกันที่เป็นพื้นที่ปลอดภัยของเพื่อนพ้อง
เป็นเหตุให้กลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มผู้ใหญ่มีความคิดแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะวัยรุ่นมีกลุ่มของวัยรุ่น ผู้ใหญ่ก็เช่นกัน ต่างฝ่ายต่างมีห้องแห่งเสียงสะท้อนเป็นของตนเอง และทั้งสองห้องไม่เชื่อมโยงเข้าหากัน
เมื่อเป็นเช่นนั้น แล้วเราจะลดกำแพงของห้องแห่งเสียงสะท้อนได้อย่างไร ? คงจะเป็นต้องลดหรือค่อย ๆ ทุบกำแพงให้เตี๋ยลง เพื่อให้มีช่องว่างของแนวคิดอื่น ๆ เข้าไปได้หมุนเวียนบ้าง
วิธีที่แนะนำคือการใช้พลังของ Soft Power เพื่อเลี่ยงการปะทะและมีปากเสียงกัน ใช้เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการถกเถียงและแลกเปลี่ยนมากขึ้น เช่น ใช้การแซว พูดล่น หยอกล้อในประเด็นต่าง ๆ เพื่อเป็นใบเบิกทางให้ก้าวเข้าไปคุยได้ในอนาคต
สำหรับผม ผมก็ใช้วิธีนี้กับที่บ้าน ใช้การแซวล้อเล่นไปกับครอบครัว “ฮั่นแน่ วันนี้ดูช่องข่าว … อีกละน้า” “ดูช่องอื่นได้ละม้างงงงงงงง” “ไลน์กลุ่มป้า ๆ เนี่ยยยยย ความจริงมีไหมเอ่ยยยย” พูดแซวเล่นบ่อย ๆ จนแกเริ่มไม่มั่นใจ จนสุดท้ายแกก็ค่อย ๆ มีข้อมูลของอีกด้านมาเพิ่มเติม
หรือแม้แต่การค่อย ๆ ทำความเข้าใจกันด้วยหลักเหตุผลอย่างแท้จริง โดยไม่เน้นการกระทำ ซึ่งไม่จะกล่าวว่าการเกิดม็อบ คือ การสร้างความไม่สงบ แต่จะกลับไปพูดคุยกันว่าถึงว่าทำไมถึงเกิดม็อบขึ้น ทำไมถึงกดดันรัฐบาลไปในทิศทางนี้ ทำไมวัยรุ่นถึงคิดแบบนี้ เพื่อที่จะทำให้เกิดการถกเถียงแบบมีเหตุผล (Communicative Rational)
เหตุผลเป็นเรื่องที่ค่อนข้างสำคัญ หากเรายังตอบตัวเองอย่างละเอียดไม่ได้ว่าเหตุผลของการกระทำของกลุ่มหรือฝ่ายเรานั้นคืออะไร การพูดคุยกับคนที่มีความเห็นต่าง ง่ายมากที่จะหลงประเด็นและกลายเป็นการใช้อารมย์แทน
เข้าใจนะว่าสถานการณ์การคุยเรื่องนี้มันค่อยข้างยาก แต่หากไม่เริ่มห้องแห่งเสียงสะท้อนจะทำงานเต็มที่ แล้วเรายากที่จะกลับมาหากันเจอ แม้แต่คนรอบข้างอย่างคนในครอบครัว
รอบหน้ามาต่อกันที่ ช่องว่างระหว่างวัย ที่ทำให้เราสองห่างออกจากกันคับ
ด้วยรักและห่วงใย
จาก #แค่อยากจะเล่าให้คุณฟัง
pic; freepik
แนวคิด
ห้องแห่งเสียงสะท้อน (echo chamber)
โฆษณา