24 ต.ค. 2020 เวลา 12:05 • ความคิดเห็น
นี่คือภาคต่อของโพสต์ที่แล้วค่ะ
จากมีมี่....ถึงคุณแม่ทุกท่าน ที่มีลูกอยู่ในยุค Gen Z เราคือเพื่อนร่วมชะตากรรมเดียวกันนะคะ
ขออนุญาตใช้พื้นที่ตรงนี้แบ่งปันประสบการณ์ตรงจากฉัน....สู่คุณแม่ทุกท่านในการเลี้ยงดูลูกๆ ยุคดิจิทัล
จากการที่ฉันได้เปิดใจคุยกับลูกในวันนั้น
บทสนทนาได้จบลงตรงที่
"ขอแม่ไปกับลูกด้วยคนนะ"
เมื่อคนเป็นแม่อย่างฉันตัดสินใจไปมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ชุมนุมครั้งนี้กับลูกด้วย
หลังจากนั้นเกิดอะไรขึ้น ...........
ฉันจะเล่าให้ฟังค่ะ
ลูกสาวได้สารภาพกับฉันว่า เธอตั้งใจ
จะแอบไปเข้าร่วมชุมนุม....ทันที ที่มีโอกาสและไม่กล้าบอกฉัน เพราะกลัวจะมีปัญหาเหมือนครอบครัวอื่น
แต่ก็มีความรู้สึกผิดอยู่ด้วย..........ในกรณีที่หากมีสถานการณ์รุนแรงเกิดขึ้นจนไม่สามารถควบคุมได้ น้องบอกว่า.......
น้องคิดถึงฉัน.............
"แม่จะเป็นยังไง และแม่จะอยู่อย่างไร
หากมีอันตรายเกิดขึ้นกับเธอ"
การเปิดใจคุยกับลูกในวันนั้น
นอกจากจะทำให้ลูกสบายใจแล้ว
ยังช่วยทำให้ความสัมพันธ์ของเราสองคน
แม่ลูก.......ดีขึ้นกว่าเดิมด้วย❤❤
ความรักและความเข้าใจจากพ่อและแม่
เป็น "เสมือนเกราะคุ้มกันภัยอันตรายให้ลูก"
ได้ในเบื้องต้นนะ ฉันเชื่อแบบนั้น
จากประสบการณ์ตรงของฉันกับแม่........
วันนั้น.....วันที่ 20 พฤษภาคม 2535
ฉันกำลังจะไปเข้าร่วมชุมนุมกับเพื่อนๆของฉันตามปกติ
ซึ่งวันนี้เป็นวันแรก..........ที่เราจะลองเปลี่ยนสถานที่ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง.......
ไปที่จุดอื่นดูบ้าง
แต่..........แม่บอกฉันว่า..........
"วันนี้แม่รู้สึกไม่ดีเลย ไม่สบายใจยังไงไม่รู้
อยู่บ้านกับแม่ก่อนเถอะนะ
ช่วงนี้.........งดเข้าร่วมชุมนุมได้ไหมลูก สถานการณ์ดูไม่น่าไว้ใจเลย"
ฉันมองแม่ เห็นสายตาของแม่ที่เต็มไปด้วย "ความห่วงใย"...............จนฉันรู้สึกสะกิดใจ
จึงตัดสินใจไม่ไปตามที่แม่ขอ...........
เพื่อความสบายใจของแม่
ซึ่งโดยปกติแล้ว.........แม่ไม่เคย "ห้าม"
ในการเข้าร่วมทำกิจกรรมใดๆของฉันเลย.........แม้สักครั้งเดียว
แม่บอกฉันแค่เพียงว่า............
"ดูแลรักษาตัวเองให้ดีและขอให้ฉันปลอดภัย"
แล้วก็เกิด "สถานการณ์รุนแรงขึ้นจริงๆ"
ในช่วงวันที่ 20 ถึง 23 พฤษภาคม 2535
"เป็นเหตุการณ์นองเลือด" หรือ 
“เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ” นั่นเอง
จากเหตุการณ์ชุมนุมในครั้งนั้น นำไปสู่การปะทะกัน ระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ ที่ถูกส่งมาควบคุมสถานการณ์ ทำให้มีประชาชนได้รับบาดเจ็บ ล้มตายจำนวนมาก
นิสิตนักศึกษา ประชาชนนับพันคนถูกจับกุม
ต้องขอบคุณความรักและความเข้าใจ
ที่แม่........มีให้ฉันเสมอมา
ทำให้ฉันมองเห็น "ภาพความห่วงใย"
ผ่านแววตาของแม่........ได้ชัดเจนในวันนั้น
มันอาจเป็น"สัญชาตญาณของคนเป็นแม่"
ที่จะรับรู้ได้ ถึงภัยอันตรายที่จะเกิดกับลูก
ผลที่ได้รับคือ "ฉันปลอดภัยจริงๆ"
เรื่องความอยากรู้ ,อยากเห็น และอยากลอง
เป็นสิ่งที่ทุกคน มีอยู่ในตัวเองอยู่แล้ว
มากน้อยแตกต่างกันไป
บางครั้งการ "เปิดใจ" กับลูก และให้โอกาส
พวกเขาได้ร่วมทำกิจกรรมต่างๆ
เป็นสิ่งที่พ่อแม่ ควรให้การสนับสนุน
เว้นเสียแต่ว่า การเข้าร่วมกิจกรรมนั้นๆ
จะส่งผลกระทบกลับมาในทางลบ
หรืออาจเกิดอันตรายกับลูกได้
ซึ่งพ่อแม่ควรอธิบายเหตุผลให้ลูกฟังด้วยความเมตตา.........หากไม่ต้องการสนับสนุนในกิจกรรมนั้นๆ
และควรเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของลูกด้วยความเข้าใจ
เช่นการเข้าร่วมชุมนุมของเยาวชน
ในครั้งนี้ "การห้าม" ไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดแน่ๆเพราะสุดท้าย...ลูกก็จะต้องแอบไปอยู่ดี
แค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
"การทำความเข้าใจ" และยอมสละเวลา
รับฟังความคิดเห็นของลูกบ้าง
จะช่วยลดความขัดแย้ง ระหว่างคุณกับลูกได้ไม่มากก็น้อย
สำหรับประสบการณ์บางอย่าง
พ่อแม่ต้องยอม ให้ลูกได้เรียนรู้
ด้วยตัวของเขาเองบ้าง
จะช่วยทำให้เขาเข้มแข็งและ
เข้าใจโลกได้ดีมากขึ้น
เหมือนที่แม่ของฉันเข้าใจและให้โอกาสฉัน
และฉันก็ปฏิบัติแบบนั้นกับลูก
เป็นการส่งมอบสายสัมพันธ์ที่ดีและอบอุ่นจากแม่.......มาสู่ฉัน และจากฉัน.......ไปสู่ลูก
...........ถึงวันนี้........ก็ยังไม่สามารถ
ไปเข้าร่วมชุมนุมกับน้องได้นะคะ 😁😁เนื่องจากลูกสาวติดงาน(น้องเรียนอยู่ปี4 และทำงานพาร์ทไทม์ไปด้วยค่ะ)
โฆษณา