24 ต.ค. 2020 เวลา 04:33 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ระบบเสรีนิยมที่มาพร้อมทุนนิยม
รวยกระจุกจนกระจาย พิษโควิดซ้ำเติมกลุ่มคนชั้นล่างต้องด่ำดิ่งสู่ความืด สวนทางกลับอีกด้านหนึ่ง กลับมีกลุ่มคนที่มีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาแบบนี้ “ยินดีต้อนรับสู่โลกของทุนนิยม”
จากระบบที่นำมาเรามาถึงจุดๆนี้ แล้วอะไรคือตอบที่ถูกต้องอย่างนั้นหรือ
คนเราเกิดมาไม่เท่าเทียมกัน วาสนามันแข่งกันไม่ได้ จะให้ทำยังไงหละแค่เลี้ยงปากท้องยังไม่พอกิน นี่อาจเป็นชุดคำตอบคลาสสิคที่ใช้ตอบคำถามที่ได้ยินบ่อย แต่สำหรับคนเหล่านี้ทุกวิกฤตที่เกิดขึ้นเหมือน ซ้ำเติมพวกเขาตลอดเวลา ซึ่งมีการเปิดเผยข้อมูลจากธนาคารโลกในปี2020ว่ามี “คนยากไร้”(extreme poverty) ถึง 115ล้านคน(9.25%ของประชากรโลก)สวนทางกลับมูลค่าทรัพย์สินของมหาเศรษฐีที่เพิ่มมากขึ้น นี่คือความเหลื่อมล้ำที่ไม่อาจปฏิเสธได้
ก่อนอื่นเราทำความเข้าใจกันแบบคร่าวๆกันก่อนนะครับว่า คนยากไร้มีคำนิยามอย่างไร “คนยากไร้” ทางธนาคารโลกกำหนดไว้ว่าคือกลุ่มคนที่มีรายได้ต่อวันน้อยกว่า 50บาท และนี่คือคำนิยามจากธนาคารโลกที่ได้จำกัดความไว้อย่างเรียบง่าย
ซึ่งเมื่อสังเกตดูให้ดีคนกลุ่มนี้ต่างต้องพบเจอ เผชิญหน้ากับทุกๆวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ยิ่งในปีนี้ กลับต้องพบเจอกับสิ่งที่ไม่อาจทำอะไรได้เลยอย่างโรคระบาดที่เข้ามาซ้ำเติมผู้คนกลุ่มนี้ที่เหมือนจะแย่อยู่แล้ว ให้ไม่สามารถหาหนทางลืมตาอ้าปากได้เลย
ทุกสิ่งย่อมมีสองด้านเสมอทั้งด้านที่คิดว่าดีและอีกด้านที่คุณไม่เข้าใจแต่มันยังคงมีอยู่
และถ้าบอกว่าเหรียญมักมีสองด้านเสมองั้นลองมาดูอีกด้านหนึ่งบ้างเราพบว่าในขณะที่ผู้ยากไร้จากโรคระบาดเพิ่มมากขึ้น แต่ว่าจำนวนของมหาเศรษฐีพันล้านเพิ่มขึ้นจาก 2158 สู่ระดับ 2198 คนในปีนี้ ทั้งๆที่เราทุกคนต่างพูดกันติดปากว่าในยุคโควิดทุกคนต่างได้รับผลกระทบด้วยกันทั้งสิ้น แต่จากข้อมูลเหมือนทุกอย่างจะไม่ได้เป็นแบบนั้น
ในขณะที่ถ้าเราลองมุ่งความสนใจกลับมาที่เรื่องใกล้ตัวเรา ประเทศไทย ในระหว่างปี 2558-2561 อัตราความยากจยในประเทศเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.2% สู่ระดับ 9.8% ซึ่งจำนวนประชากรที่ยากจนเพิ่มเป็นจำนวน 6,700,000 คน ซึ่งจำนวนคนเหล่านี้ได้มีการกระจายตัวทุกภูมิภาคในประเทศไทย
ความเหลื่อมล้ำที่เริ่มสร้างความแตกต่างขึ้นในใจของผู้คน
เมื่อเจาะลึกลงไปจากการวิเคราะห์ความยากจนที่เพิ่มขึ้นนั้น เกิดพร้อมความท้าทายทางเศรษฐกิจที่ยังคงไม่มีการแก้ปัญหาที่มีความยั่งยืน และการทำงานที่ไม่มีความต่อเนื่องต่างๆ ทั้งจากปัญหาระดับบุคคล ระดับองค์กร นี่ยังไม่รวมผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติที่ไม่สามารถคาดเดาได้อีกด้วย ทำให้ประเทศไทยในตอนนี้สามารถบอกได้เลยว่า ไทยเป็นประเทศเดียวในกลุ่มอาเซียนที่อัตราความยากจนกำลังเพิ่มขึ้นและสร้างสังคมแห่งความเหลื่อมล้ำ
และก็อย่างที่หลายคนรู้วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ นับว่าเลวร้ายกว่าเมื่อครั้งวิกฤตเศรษฐกิจในปี2008 จากการายงานของ Oxfam ยังชี้อีกว่ากลุ่มผู้หญิงมีความเสี่ยงสูงกว่าผู้ชาย เนื่องจากการประกอบอาชีพนอกระบบเศรษฐกิจทำให้เข้าถึงสิทธิแรงงานได้น้อยนิดหรืออาจไม่มีเลย นอกจากยี้ยังมีกลุ่มแรงงานงานนอกระบบอีกมากที่ไม่มีสิทธิ์ลาป่วยโดยได้รับค่าจ้าง
การแก้ปัญหาในระดับประเทศจะต้องเป็นอย่างไร ควรทำอะไรเพื่อช่วยเหลือผู้คนที่ยากไร้ ทางด้านธนาคารโลกได้ให้คำแนะนำอย่างกว้างๆคือ
สัดส่วนจำนวนคนจนในประเทศไทย
1.การขยายมาตรการที่เอื้อประโยชน์ต่อแรงงาน เช่น การเพิ่มสวัสดิการ ค่าแรง กฎหมายคุ้มครอง
2.การลงทุนในทรัพยากรบุคคล เช่นการให้ความรู้ สนับสนุนการฝึกอบรม ทักษะ เพื่อเพิ่มความสามารถในการเอาตัวรอดเมื่อต้องประสบกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด
1
3.การมองหาหลักประกันเพื่อป้องกันไม่ให้คนยากจนและคนด้อยโอกาศของสังคม ได้รับคุณภาพชีวิตที่เลวร้ายมากเมื่อต้องเผชิญกับความเลวร้ายจากวิกฤตที่เกิดขึ้นมาเช่น โรคระบาด การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าอุปโภค บริโภค
สิ่งนี้นับเป็นความท้าทายทางเศรษฐกิจไทยที่ต้องทำให้เศรษฐกิจเติบโตเท่ากับประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียน โดยในปี2562 ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศไทย(GDP) มีอัตราการเติบโตต่ำที่สุดในภูมิภาค นี่ยังไม่รวมภาคการส่งออกที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่กำลังตกต่ำ ส่วนทางด้านภาคการท่องเที่ยวที่ที่เป็นเหมือนแหล่งรายได้อีกทางของประเทศก็กำลังเริ่มเข้าสู่สภาวะถดถอยและไม่มีท่าทีว่าจะฟื้นตัวได้ตอนไหน จากทั้งหมดนี้ ยังมีเรื่องของภัยธรรมชาติอีกที่เข้ามาและส่วนนี้จะเกี่ยวข้องข้องกับเกษตรโดยตรง โดยเกษตรกรเป็นส่วนที่เปราะบางมากที่สุดในประเทศแห่งนี้เนื่องจากส่วนมากเป็นกลุ่มที่ยากจนอยู่แล้ว
รายชื่อจังหวัดที่มีความยากจนในประเทศไทยแยกแต่ละจังหวัด
ตอนนี้เราควรมีแผนการในอนาคตได้แล้วเพื่อจะได้พร้อมรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
ระยะสั้น ต้อมองไปถึงการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยที่ยังขาดคุณภาพ ระหว่างกรุงเทพและต่างจังหวัดยังมีความเหลื่อมหล้ำที่แตกต่างกันมากเกินไปอยู่ เช่นเด็กในเขนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีโอกาสที่เข้าถึงโอกาสต่างๆเพียง 10%เท่านั้น
ดัชนีคววามเหลื่อมล้ำที่เป็นปัญหาใหญ่อันดับต้นๆของประเทศไทย
ระยะยาว คงจะเป็นการลงทุนกับกลุ่มคนในอนาคตที่จะเข้ามาพัฒนาประเทศ เด็กทุกคนควรได้รับคุณภาพชีวิตอย่างเท่าเทียมกันทุกคน เพื่อต้องการดึงศักยภาพของทุกคนออกมาให้ใช้ได้อย่างเต็มที่ เพราะการศึกษาเป็นสิ่งที่จะทำให้พวกเขาเหล่านั้นสามารถหลุดจากกับดักของความยากจนได้ และจะช่วยค้ำจุนประชากรที่สูงวัย รวมทั้งช่วยให้การเติบโตของประเทศดีขึ้นด้วย
การศึกษาเป็นหนทางที่ง่ายที่สุดที่สามารถทำให้เขาเหล่านั้นหลุดกับดักความจนได้
สำหรับเรื่องนี้ความเหลื่อมล้ำถือเป็นเรื่องที่ต้องมีการแก้ไข ต้องมีวิธีการทำงานที่ได้ผล มีแผนระยะสั้น ระยะยาว เพราะสุดท้ายไม่ว่าจะอย่างไรประเทศไทย จะได้ประโยชน์อย่างแน่นอน
ขอบคุณที่ติดตาม
โฆษณา