บ่อเกลือแห่งอีสาน
แหล่งผลิตเกลือสินเธาว์ บ้านกุดเรือคำ จ.สกลนคร
โดยลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง โครงสร้างทางธรณีวิทยาเป็น 2 ลักษณะ คือ เป็นแอ่ง (Basin) และขอบแอ่งที่เป็นภูเขาสูง (Mountain Range) แบ่งได้ 2 แอ่ง เรียกว่า “แอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร” ทั้ง 2 แอ่งมีชั้นเกลือหินที่รองรับอยู่ใต้ดินเป็นโดมเกลือ (Salt Dome) ขนาดใหญ่ ชั้นเกลือหินจะสัมผัสกับชั้นน้ำบาดาลเกิดการละลายเป็นชั้นน้ำเค็ม บางพื้นที่ชั้นน้ำเค็มพุขึ้นถึงผิวดินที่มีอุณหภูมิสูง ก็เกิดการระเหยอย่างรวดเร็วทิ้งผนึกเกลือเล็ก ๆ อยู่บนผิวดินเป็นคราบสีขาว สภาพพื้นที่ที่เป็นดินเค็มมีคราบเกลือนี้เอง ชาวอีสานนำไปผลิตเกลือสินเธาว์ที่มีคุณประโยชน์มหาศาลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ในภาคอีสานมีชุมชนที่ผลิตเกลือในระดับอุตสาหกรรมโบราณมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ดังหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในบริเวณบ่อพันขัน เขตทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดร้อยเอ็ด และบริเวณลุ่มน้ำสงครามแอ่งสกลนคร
ขั้นตอนการผลิต
1.จะทำการขุดเจาะ น้ำเกลือ 6-7วัน ลึกประมาณ 70-80 เมตร
2.สูบนำมาเก็บในแท๊งค์น้ำ
3.ส่งผ่านนำมาต้มใน "สาง" (โรงต้มเกลือ) ใช้เวลาต้ม ประมาณ15ชั่วโมง 1 หม้อ จะได้เกลือประมาณ 2ตัน เชื้อเพลิงที่ใช้ต้ม จะใช้ไม้ยางพาราหลังหมดยาง ซึ่งถูกกฎหมาย
เกลือสินเธาว์ ใช้ได้ทั้ง อุปโภค และบริโภค
-อุปโภค เช่น ผสมยาสีฟัน เวชสำอางต่างๆ
-บริโภค ก่อนจะถูกส่งขายเพื่อบริโภค โรงงานต้องนำไปผสม ไอโอดีน ก่อนแปรรูปขายเพื่อบริโภคตามครัวเรือน
ขอบคุณข้อมูล
- การผลิตสารคดี เรื่อง เกลือสินเธาว์บ้านกุดเรือคำ
v=SXSCByOFpVM
#ไทยลือ #thailue #เสียงลือเสียงเล่าอ้าง #ความสุขวิถีฝีมือไทย