25 ต.ค. 2020 เวลา 16:32 • ไลฟ์สไตล์
Daylight saving time - เวลาออมแสง 🍂🍁
ภาพประกอบจาก Google.com
วันนี้ก็เป็นวันแรกของการเริ่มต้นฤดูหนาวอย่างเป็นทางการ ของประเทศนอร์เวย์ แล้วนะคะ และ เป็นวันที่ต้องหมุน เข็มนาฬิกา ถอยหลังกลับไป 1 ชั่วโมง หรือที่เรียกว่า Daylight saving - เวลาออมแสง เนื่องจากเป็นฤดูหนาว ท้องฟ้าก็จะมืดลงเรื่อยๆ และมีแสงสว่างช้ากว่าเวลาปรกติ ก็เป็นอันว่า เวลาของ ประเทศนอร์เวย์ จะช้ากว่าประเทศไทย 6 ชั่วโมง
จุดประสงค์หลักของการปรับเวลา Daylight Saving Time นั่นก็คือ การใช้ประโยชน์จาก แสงของดวงอาทิตย์ให้มากที่สุด การปรับเวลายังช่วยประหยัดพลังงาน จาก การลดการใช้ไฟฟ้าในการให้แสงสว่าง จาก อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ
เบนจามิน แฟรงคลิน Benjamin Franklin นักวิทยาศาสตร์ผู้คิดค้นประดิษฐ์สายล่อฟ้าได้สำเร็จ
เบนจามิน แฟรงคลิน นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันเป็นคนแรกที่เกิดความคิดเรื่องการปรับเวลานี้ขึ้นมา ในปี 1784 แต่กว่าจะถูกนำมาใช้จริงๆ เป็นครั้งแรกโดย รัฐบาลเยอรมนี ในปี 1916 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ตามมาด้วย อังกฤษ ใช้การปรับเวลาเป็นครั้งแรกในปี (1916) และ สหรัฐอเมริกา (1918) แสงอาทิตย์ของช่วงกลางวัน จะถูกใช้แทนแสงจาก ไฟฟ้า และช่วย ประหยัดเชื้อเพลิงซึ่งมีค่ายิ่งในช่วงระหว่างสงคราม
ปัจจุบันมีประเทศต่างๆ ทั่วโลกกว่า 70 ประเทศ ที่ยังมีการใช้เวลาออมแสง เช่น ประเทศในสหภาพยุโรป (EU) จะเริ่มปรับเวลาในเวลาฤดูร้อน ในวันอาทิตย์สุดท้ายของ เดือนมีนาคม และปรับเวลาฤดูหนาวคืน ในวันอาทิตย์สุดท้ายของ เดือนตุลาคม เป็นประจำทุกๆปี จนมีคำเปรียบเปรยกันว่า
"เราจะอยู่ในแสงสว่าง ครึ่งปี และ อยู่ในความมืด ครึ่งปี"
จะเห็นได้ว่า ดินแดน ที่อยู่ใกล้ เส้นศูนย์สูตร ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการปรับเวลากัน เนื่องจาก ไม่ได้รับผลกระทบจากพระอาทิตย์ขึ้น-และตก และ การเปลี่ยนเวลานี้ทำให้ บางคน หลงเวลา ถึงกับมีเรื่องตลกล้อกันว่า รอดูได้เลย ใครจะมาทำงานก่อนเวลาในวันรุ่งขึ้นบ้าง
ภาพประกอบจาก Google
เมื่อปีที่แล้ว มีการประชุมของกลุ่ม EU เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องของ การปรับเวลาออมแสง นี้ เนื่องจากสร้างความสับสน ในเรื่องของเวลาการเดินทาง และ เกี่ยวเนื่องกับ ผู้ที่ต้องทำงานในช่วงเปลี่ยนเวลา ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่เข้าเวรช่วงดึก เหมือนทำงานฟรีเพิ่มขึ้น 1 ชั่วโมงซะงั้น (เพราะต้องหมุนเวลาถอยหลัง)
มีข่าวว่าจะมีการลงมติว่า จะยุติการใช้เวลาออมแสงนี้ในปี 2021 แต่ก็เป็นการเสนอแนะปลายเปิด คือ ให้สิทธิแต่ละประเทศ พิจรราเองว่า จะใช้ต่อหรือจะพอแค่นี้ จนแล้วจนรอด ก็ยังไม่มีความชัดเจนจริงๆจาก กลุ่มสแกนดิเนเวียน และ เหล่าสมาชิก EU ว่าจะทำยังไงต่อไป เราก็เปลี่ยนเวลากันต่อไปอีก 1 ปีเนอะ
ภาพประกอบจาก Google.com
ช่วงนี้ ภาคไต้ของประเทศนอร์เวย์ ฝนตก สลับกันไป บางพื้นที่ก็มีหิมะตก ตอนบ่ายก็ มืดเร็วขึ้น ราวๆ 17.00 น ก็มืดแล้ว และ สว่างช้า พระอาทิตย์ก็จะขึ้นประมาณ 08.00 น. ช่วงนี้ก็จะเป็นช่วงที่บรรยากาศเงียบเหงา เนื่องจากมีแสงสว่างน้อย
ในช่วงเวลานี้ของปี กระทรวงสาธารณสุขนอร์เวย์ ก็จะออกคำเตือนถึงเรื่อง ให้ระวังรักษาสุขภาพ ทั้ง สุขภาพกาย และ ใจ เพื่อไม่ให้เกิดความเจ็บป่วย-ซึมเศร้าในช่วงเวลาแบบนี้ค่ะ ตามสถิติ ประเทศนอร์เวย์ ในปีหนึ่งๆ มีคนฆ่าตัวตายมากถึง 500 - 600 คน เนื่องจากโรคซึมเศร้าเลยทีเดียว
เรื่องที่สำคัญมากอีกเรื่องหนึ่งในเวลาอันมืดมิดแบบนี้คือ การสวมอุปกรณ์ที่มี reflex สะท้องแสง เมื่อต้องสัญจรไปมา ไม่ว่าจะเป็นการ เดิน หรือ ขี่จักรยาน เพื่อให้ ผู้ขับขี่ มองเห็นคุณได้ง่ายขึ้น ในบางภูมิภาคของประเทศนอร์เวย์ นั้น คือ มืดจริงๆ ขนาดมีไฟตามถนนก็ยังมืดอยู่ดีค่ะ มองเห็นได้ยากมาก
ตัวอย่างเสื้อสะท้อนแสง
อุปกรณ์ reflex ก็จะมีหลายแบบ เช่น เสื้อ/กางเกง/สายรัดแขน/สายรัดข้อเท้า / ที่ห้อยกระเป๋า / หมวก / รองเท้า ฯลฯ หลายชนิดมี ไฟฉาย ด้วย เพิ่มความสว่างได้ดีมากค่ะ
เขียนโดย นอร์เวย์สไตล์
ข้อมูลประกอบการเขียนเรื่อง Daylight saving time จาก
โฆษณา