26 ต.ค. 2020 เวลา 05:36 • ถ่ายภาพ
การประกวดภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์จะเจ๋งแค่ไหน ไปชมกันเลยครับ
Javier Rupérez ช่างภาพชาวสเปนผู้เชี่ยวชาญด้านภาพมาโครขั้นสูงได้สร้างภาพแมงมุมตัวเล็กตัวน้อยนี้ด้วยการซ้อนภาพหลาย ๆ ภาพ
นักเทคนิคผู้เชี่ยวชาญเรื่องกล้องจุลทรรศน์ Teresa Zgoda และนักศึกษานามว่า Teresa Kugler เพิ่งจบการศึกษาจาก สถาบันเทคโนโลยี Rochester ได้นำภาพหลายร้อยภาพมาซ้อนกันอย่างพิถีพิถันเพื่อสร้างภาพโมเสกจากตัวอ่อนเต่าเรืองแสงที่ได้รับรางวัลในงานครั้งนี้ ภาพถ่าย :TERESA ZGODA และ TERESA KUGLER
Jan Rosenboom จากมหาวิทยาลัย Rostock ประเทศเยอรมนีได้รวมภาพหลาย ๆ ภาพที่ถ่ายในระยะโฟกัสที่ต่างกันเพื่อให้ได้มิติของพู่หนวดคู่หน้าของยุงตัวผู้
Martyna Lukoseviciute และ Carrie Albertin นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ได้รวมภาพหลายภาพเข้าด้วยกันเพื่อแสดงให้เห็นตัวอ่อนของปลาหมึกยักษ์ของแคลิฟอร์เนีย (Octopus bimaculoides)
จูราสิกปาร์ก กำลังฟื้นคืนชีพหรือ ไม่... นี่คือภาพถ่ายอิมมูโนฟลูออเรสเซนต์ (immunofluorescence) ที่ถ่ายโดยนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของ มหาวิทยาลัย Yale ชื่อ Daniel Smith Paredes และ Bhart-Anjan Bhullar ที่ปรึกษาของเขา เผยให้เห็นเส้นประสาท และกระดูกที่กำลังพัฒนาในตัวอ่อนจระเข้น้าเค็ม
รูปผลึกเกล็ดหิมะส่องแสงสีฟ้าแกมม่วงระยิบระยับ ภาพถ่ายโดย Caleb Foster ช่างภาพจากเวอร์มอนต์
Igor Siwanowicz นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิจัยทางการแพทย์ ฮาวาร์ดฮิวจ์ (Howard Hughes) เติมสีให้ตัวสเตนเตอร์ ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ด้วยโปรแกรมตกแต่งภาพ เพื่อให้มองเห็นภาพสามมิติ
เกสรตัวผู้ของดอกคาเนชันที่มีละอองเรณู ชูอยู่เหนือกลีบดอกคาเนชันสีแดง ภาพถ่าย : Guillermo López
ใน ค.ศ. 1979 นักวิจัยได้ขยายเซลล์ที่สกัดจากหลอดเลือดแดงในปอดของลูกวัว ซึ่งเป็นเซลล์ที่ใช้ศึกษาโรคหัวใจ จากภาพเป็นช่วงที่เซลล์สองเซลล์กาลังแบ่งตัว
คุณอาจจะคิดว่าม้วนกระดาษสีเขียวมหัศจรรย์นี้เป็นเสาในเดอะดาร์กคริสตัล (The Dark Crystal) ซึ่งจริง ๆ แล้วมันคือภาพตัดขวางของหน่อดอกทิวลิปต่างหาก ภาพถ่าย : Andrei Savitsky ช่างภาพชาวยูเครน
โครงสร้างที่เหมือนใบไม้เหล่านี้ ที่จริงแล้วมันคือรังไข่จากแมลงหวี่ตัวเมียซึ่งย้อมสีเพื่อแสดงให้เห็นนิวเคลียส (สีเขียว) เส้นใยโปรตีน (สีเหลือง) และเซลล์รังไข่ (สีม่วงแดง) ภาพถ่าย : YUJUN CHEN และ JOCELYN MCDONALD, ภาควิชาชีววิทยา, มหาวิทยาลัย KANSAS STATE
Antoine Franck นักกีฏวิทยาชาวฝรั่งเศสใช้เทคนิคซ้อนภาพแมงมุมเพศเมียชนิด Oxyopes dumonti แมงมุมในสกุลนี้จะไม่ใช้ใยในการล่า แต่จะใช้เทคนิคซุ่มเพื่อรอโจมตีเหยื่อ
ภาพนี้แสดงให้เห็นถึงไรแดงเทศ (Daphnia magna) ซึ่งเป็นสัตว์น้ำจำพวกครัสเตเชียน (Crustacean) ขนาดเล็กที่กาลังตั้งท้อง ภาพถ่าย : Marek Miś ช่างภาพชาวโปแลนด์
ภาพนี้คือข้าวโพดสีรุ้ง ? พิกเซลของหน้าจอ iPhone ? หรืออันที่จริงแล้วมันคือตาประกอบของเลนตาแมลงวัน ภาพถ่าย : Razvan Cornel Constantin ช่างภาพชาวโรมาเนีย
E. Billie Hughes นักอัญมณีศาสตร์ในประเทศไทยได้ถ่ายภาพผลึก คริสโตบาไลต์ (cristobalite) ซึ่งเป็นซิลิกาชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นภายใต้อุณหภูมิสูง ซึ่งฝังติดแน่นกับแร่ Quartz ภาพถ่าย : E. BILLIE HUGHES
Reference: National Geographic Thailand
โฆษณา