27 ต.ค. 2020 เวลา 11:08 • ประวัติศาสตร์
ห้างนายเลิศ หน้าประวัติศาสตร์ห้างสรรพสินค้าแห่งแรกของคนไทย
ห้างนายเลิศ โดดเด่นด้วยโดมหลังคา และตึกระฟ้า 7 ชั้น ซึ่งสูงที่สุดในพระนครเมื่อ 80 กว่าปีที่แล้ว ภาพจาก www.facebook.com/nailertparkheritagehome/photos
กรุงเทพฯ คือสวรรค์ของคนรักการช้อปปิ้ง อย่างแท้จริงนะครับ มองไปทั่วทุกหย่อม
ย่านเมืองกรุงวันนี้ ห้างสรรพสินค้า ดูเหมือนจะตั้งตระหง่าน ละลานตาไปทั่วกรุง ราวกับดอกเห็ด
แต่ก่อนหน้ายุคสมัยที่ เซ็นทรัล เดอะมอลล์ โรบินสัน สยามพารากอน และไอคอน
สยาม จะถือกำเนิด จริงๆ แล้วห้างสรรพสินค้าในเมืองไทย นั้นมีมาช้านานตั้งแต่ สมัยรัชกาลที่ 3 โน่นแล้ว เพียงแต่ว่า ห้างสรรพสินค้า ในยุคเก่าก่อนยังไม่ใช่กิจการของ
คนไทย มาตั้งแต่ต้น
ในยุครัชกาลที่ 3 ถือได้ว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญช่วงหนึ่งของประเทศ ที่เทค
โนโลยี และความเจริญแบบตะวันตกกำลังค่อยๆ ไหลรินถ่ายเทเข้ามาสู่แผ่นดิน
สยาม ทั้งการแพทย์แผนตะวันตก และการค้าการขาย มีฝรั่งมากหน้าหลายตา
เดินทางเข้ามาสู่สยามกันอย่างคึกคัก ห้างสรรพสินค้าจากต่างแดน ก็มาปักหลักลง
ทุนอย่างเป็นเรื่องเป็นราวครั้งแรกก็ในสมัยนี้นี่แหละ
นายโรเบิร์ต ฮันเตอร์ เจ้าของห้างสรรพสินค้าสัญชาติฝรั่งคนแรกของไทย ภาพจาก www. th.wikipedia.org/wiki/
โดย ‘นายโรเบิร์ต ฮันเตอร์’ พ่อค้าชาวอังกฤษเชื้อสายสก๊อต ที่เดินทางเข้ามาสู่
สยามในปี พ.ศ.2367 ถือเป็นชาวยุโรปคนแรกที่เข้ามาตั้งร้านค้าในเมืองไทย เมื่อปี พ.ศ. 2368 โดยทำการเช่าตึกสูงของ สมเด็จพระยามหาประยุรวงศ์ หน้าวัดประยุรวงศาวาส ดัดแปลงเปิดเป็นห้างสรรพสินค้า
เขานำสารพัดสินค้าแปลกใหม่จากโลกตะวันตกมาวางจำหน่าย ให้คนไทยได้ตื่นเต้นกัน โดยคนไทยสมัยนั้นเรียกเขาติดปากว่า ‘นายหันแตร’ พร้อมๆ กับเอ่ยชื่อห้างของ
เขาว่า ‘ห้างหันแตร’ ไปด้วย แต่พ่อค้าต่างชาติ กลับเรียกห้างของนายฮันเตอร์ว่า
‘โรงสินค้าอังกฤษ’ (The British Factory)
ซึ่งในเวลาต่อมา มิสเตอร์หันแตร ก็ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์จากในหลวงให้เป็น ‘หลวงอาวุธวิเศษประเทศพานิช’ ได้รับการบันทึกว่าเป็นเจ้าของห้างสรรพสินค้าราย
แรกในประเทศไทย
ขยับมาถึงรัชกาลที่ 4 กระแสของธุรกิจการค้าก็เปลี่ยนโฉมหน้าไปอีก มีชาวตะวันตก เข้ามาปักหลักทำธุรกิจการค้าอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งการก่อตั้ง ‘ห้างจี.เอส.ปาร์กเกอร์ แอนด์ โก’ ซึ่งเป็นห้างแรกของคนอเมริกัน เมื่อปี พ.ศ.2398 ก่อนจะขยับขยายกิจการสาขาออกไปอีก ในเวลาถัดมา
ห้างแบดแมน ของชาวอังกฤษ ห้างทันสมัยที่สุดในสมัยรัชกาลที่ 5 มีร้านตัดเสื้อผ้า และเครื่องแบบทหารจำหน่ายอยู่ภายใน ภาพจาก www.facebook.com/photo
พอมาถึงยุคสมัยรัชกาลที่ 5 ราวปี พ.ศ.2430 ก็มีนักธุรกิจชาวเดนมาร์ก นามว่า
‘มร.เอช. เอ็น. แอนเดอร์เสน’ เจ้าของบริษัทเอช.เอ็น แอนเสน เข้ามาตั้งห้างเพิ่มขึ้น
อีก พร้อมกับเปิดกิจการโรงแรมโอเรียนเต็ล ซึ่งกลายเป็นตำนานอมตะมาจนถึงวันนี้
ส่วนอีกหนึ่งห้างสรรพสินค้าเก่าแก่ของชาวตะวันตก ที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็
คือ ‘ห้างแบดแมน’ ซึ่งมีชื่อเต็มว่า ‘ห้างแฮร์รี เอ. แบดแมน แอนด์ โก’
(HARRY A. BADMAN & CO.) ที่ก่อตั้งโดยชาวอังกฤษที่ชื่อ มร.แบดแมน เริ่มกิจ
การเมื่อปี 2422 ตัวห้างตั้งอยู่ใกล้กระทรวงกลาโหม เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา ถือ
เป็นห้างที่มีขนาดใหญ่และมีสินค้าทันสมัยที่สุดในกรุงเทพฯ ในยุคนั้นเลยทีเดียว..
ที่กล่าวมาข้างต้น ล้วนเป็นห้างร้านรวงสัญชาติฝรั่งตาน้ำข้าวทั้งสิ้น แต่ถ้าจะกล่าวถึงห้างสรรพสินค้าสมัยใหม่แห่งแรก ที่เป็นของคนไทยจริงๆ คงหนีไม่พ้น ‘ห้างนายเลิศ’ ที่ถูกก่อตั้งขึ้นโดย ‘นายเลิศ เศรษฐบุตร’ สุดยอดนักธุรกิจมือทอง นักบุกเบิกสารพัดสิ่งคนดังแห่งยุคนั่นเอง
ภาพถ่าย นายเลิศ เศรษฐบุตร ในวัยใกล้ 40 ในสมัยรัชกาลที่6 ถือเป็นช่วงเวลาที่เขาประสบความสำเร็จในการทำกิจการห้างนายเลิศ และเดินรถเมล์ อย่างเต็มตัว ภาพจาก www.facebook.com/nailertparkheritagehome/photos
นายเลิศ ผู้นี้คือคหบดีชื่อก้อง ผู้มีชีวิตโลดโผนอยู่ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 – 8 ถือกำ
เนิดในตระกูล เศรษฐบุตร ที่เก่าแก่และมั่งคั่ง เป็นคนหัวไว มีหัวก้าวหน้าในเชิงธุรกิจอย่างสูง และไม่เคยติดอยู่ในกรอบเก่าประเพณีเดิมๆ
ในวัยหนุ่มน้อย นายเลิศ มีโอกาสเข้าทำงานกับบริษัท เอฟ แอนด์ เอ็น บริษัทน้ำอัดลมสัญชาติอังกฤษ ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ ที่สิงคโปร์ และได้เดินทางออกไปเปิดหู
เปิดตา สั่งสมประสบการณ์ธุรกิจ การตลาด กับบริษัทแห่งนี้ที่สิงคโปร์ ได้เห็นความ
เจริญจากตะวันตก สินค้าล้ำสมัยมากมายอย่างตื่นตา
โดยเฉพาะการที่เขาได้เข้าไปสัมผัส ‘ห้างจอห์น ลิตเติ้ล’ ห้างสรรพสินค้าที่เก่าแก่
และมีชื่อเสียงที่สุดในสิงคโปร์เวลานั้น ได้ศึกษาเรียนรู้สินค้านานาชนิด ที่ไม่เคยมี
วางขายในเมืองไทยมาก่อน ทั้งขนมหวาน คุกกี้ แฮม เนยแข็ง ไปจนถึงเครื่องดนตรีตะวันตก กลายเป็นแรงบันดาลใจให้เขากลับมาริเริ่มกิจการห้างของตัวเอง ในเวลา
ต่อมา
ความหรูหราแบบตะวันตกของ ห้างสรรพสินค้าจอห์น ลิตเติ้ล ในสิงคโปร์ เมื่อครั้งอดีต ที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2388 เป็นแรงบันดาลใจให้ นายเลิศ กลับมาสร้างฝันสร้างห้างของเขาขึ้นเองในเมืองไทย ภาพจาก www.wikiwand.com/en/John_Little_(department_store)
ถ้าจะถามว่าอะไรคือจุดเริ่มที่ทำให้ นายเลิศ มีก้าวๆ แรกไปสู่ความสำเร็จของ กิจการห้างสัญชาติไทย คำตอบก็คือ การค้า “น้ำมะเน็ด” นั่นเอง
น้ำมะเน็ด หรือ Lemonade ก็คือน้ำหวานโซดาที่มีรสหวาน เปรี้ยว ซ่า คล้ายรสมะ
นาว บรรจุใส่อยู่ในขวดแก้วใสสีอมเขียว ปากขวดด้านในมีลักษณะคอด ที่ถูกอุดไว้
ด้วยลูกแก้ว เมื่อจะดื่มก็กดลูกแก้วให้ตกลงไปในขวด
โดย นายเลิศ มีโอกาสเข้ามาช่วยดูแลธุรกิจ นำเข้าน้ำมะเน็ด จาก ห้างสิงคโปร์
สเตรท กิจการของ แหม่มแม็คฟาร์แลนด์ชาวอเมริกัน นำเข้ามาขาย ที่สโมสรคณะ
มิชชันนารีที่ถนนเจริญกรุง ซึ่งเป็นสถานที่พบปะสังสรรค์ของบรรดากะลาสีเรือชาว
อเมริกัน จนเป็นที่นิยมอย่างมากทั้งในหมู่ชาวต่างชาติและคนไทยในเวลานั้น ก่อนที่ นายเลิศ จะรับช่วงกิจการน้ำมะเน็ด ต่อมาอย่างเต็มตัว
ขวดน้ำมะเน็ดสีเขียวใส ที่นายเลิศเคยนำเข้ามาจากสิงคโปร์ในอดีต ภาพจาก www.facebook.com/nailertparkheritagehome/photos
ความสำเร็จจากน้ำมะเน็ด ทำให้เขามีทุนรอนสะสมมากพอ ที่จะริเริ่มกิจการใหม่ๆ
และจากความครุ่นคิด ที่ไม่อยากให้ชาวต่างชาติเข้ามาตักตวงแสวงหาผลกำไรใน
ประเทศอย่างเกินล้น แล้วขนเงินส่งกลับไปยังประเทศตัวเอง
หรือแม้แต่ชาวต่างชาติที่ประสบความสำเร็จ แล้วนำเงินมากว้านซื้อที่ดิน ก่อนจะ
สร้างบ้านให้คนไทยเช่าอยู่ รวมถึงคำสบประมาทต่างๆ นานา จากเจ้าของห้างชาว
ฝรั่ง
และจากต้นทุนชีวิตของ นายเลิศ ที่เคยผ่านงานด้านเสมียนในห้างต่างๆ มาก่อน
จนสะสมความรู้เกี่ยวกับสินค้านำเข้า มาเป็นอย่างดี ทั้งยังเคยทำหน้าที่เดินตามกุลี
จีนเข็นรถไปส่งสินค้าตามบ้านฝรั่ง และผู้ดีในย่านเจริญกรุง สะพานยาว จนถึงบางรัก
คอยจดบันทึกว่าแต่ละบ้านนั้นซื้อหาสินค้าอะไรบ้าง เขาจึงล่วงรู้อย่างปรุโปร่งว่าสิน
ค้าแบบไหนกัน ที่ผู้มีอันจะกินนั้นต้องการ
สิ่งเหล่านี้เป็นแรงผลักดันให้ นายเลิศ ก่อตั้งห้างของเขาขึ้นมาเอง บริเวณถนนเจริญกรุง ย่านทำเลทอง ที่เขามองว่ากำลังมีอนาคตรุ่งเรืองทางธุรกิจ ทั้งมีรถรางผ่าน และชิดติดคลองผดุงกรุงเกษม ที่อยู่ด้านหลังอีกด้วย
ภาพโฆษณาสินค้าของห้างนายเลิศ จาก The Siam Observer ฉบับวันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2468 จาก www.facebook.com/nailertparkheritagehome/photos
ห้างนายเลิศ ห้างสรรพสินค้าสัญชาติไทยแห่งแรก จึงถือกำเนิดขึ้นที่ตึกแถวสองชั้น
ริมถนนเจริญกรุงตอนล่าง เชิงสะพานพิทยเสถียร ในปี 2436 พร้อมๆ กับกิจการโรงน้ำแข็ง ก่อนเขาจะสร้างตึกระฟ้าสูง 7 ชั้นทันสมัยที่สุดในเวลาต่อมา
ซึ่งสินค้านำเข้าหลากหลายประเภท นานาชนิดที่ นายเลิศ เป็นตัวแทนนำเข้ามาจาก
เมืองนอก ก็ล้วนถูกนำมาวางขาย จำหน่ายอยู่ภายใน ห้างนายเลิศ นั่นเอง
นับตั้งแต่ น้ำมะเน็ด นำแข็ง ไอศกรีม แฮม ชีส ผลไม้กระป๋อง เนื้อกระป๋อง อาหาร
กระป๋องจากยุโรป ยาแก้แฮงก์โอเวอร์ จักรยาน น้ำมันเครื่องรถยนต์ จักรเย็บผ้าซิง
เกอร์ ตู้เซฟ เครื่องชงกาแฟ โซดา ไวน์ เบียร์ โดยเฉพาะวิสกี้ยี่ห้อ วัต 69 ที่บริษัท
ของนายเลิศ เป็นผู้นำเข้า ก็ยังถือเป็นเครื่องดื่มที่นายเลิศ โปรดปรานอย่างมากอีก
ด้วย
ห้างนายเลิศ ห้างสรรพสินค้าของคนไทยแห่งแรก บนถนนเจริญกรุงตอนล่าง
ขวดวิสกี้ยุคเก่า ที่นำเข้ามาโดย บริษัทนายเลิศ จาก www.facebook.com/nailertparkheritagehome/photos
สินค้าที่วางขายในห้างนายเลิศ ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากประเทศในฝั่งยุโรป ซึ่งเป็น
สินค้าที่เป็นที่ต้องการของชาวฝรั่งและผู้มีอันจะกินในพระนคร ส่วนชั้นล่างของห้าง
นายเลิศ ยังเปิดบริการเป็นที่ขายเหล้า และขายอาหารฝรั่ง อีกส่วนหนึ่ง
ห้างนายเลิศ เจริญเติบโต รุ่งเรืองเรื่อยมา จนกระทั่ง ควันไฟแห่งสงครามโลกครั้งที่ 2 ปะทุขึ้นไปทั่วภูมิภาค ในสมัยรัชกาลที่ 8 ยุคแห่งจอมพล ป. พิบูลสงคราม
เมื่อครั้งนายเลิศมีอายุได้ราว 70 ปี
โฆษณาห้างนายเลิศ เป็นโฆษณาเพียงชิ้นเดียวที่มีภาพนายเลิศ ผู้เป็นเจ้าของ ปรากฏอยู่ ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ.2468 จาก www.gramho.com/media
เมื่อตลาดหุ้นของประเทศตะวันตก ล้มพังครืนลง เศรษฐกิจของประเทศสยาม ก็
พลอยซวนเซตามไปด้วย ด้วยคลื่นวิกฤตที่ถาโถม บริษัทห้างร้านมากมาย ต้องปิดตัว ปิดกิจการลง
ธุรกิจของนายเลิศประสบปัญหาจากไฟสงคราม ห้างสรรพสินค้า ดำเนินไปต่อไม่ได้ เพราะไม่สามารถรับสินค้ายุโรปเข้ามาขายได้ ต้องหันไปซื้อขายกับญี่ปุ่นเท่านั้น
ส่วนกิจการโรงน้ำแข็งก็พลอยหยุดชะงักลงไป ด้วยค่าเงินบาทไทยในเวลานั้น
ที่ต่ำเรี่ยดินลงไปถึงกว่า 50 เปอร์เซ็นต์
ห้างนายเลิศ จึงต้องปิดกิจการลง ถือเป็นการรูดม่านปิดฉากหน้าตำนาน ห้างนายเลิศ ที่ดำเนินกิจการมาเกือบ 5 ทศวรรษ ให้เหลือเพียงคำเล่าขานเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม.. นี่คืออีกหนึ่งกิจการห้างร้านในหน้าประวัติศาสตร์ ที่ประสบความสำ
เร็จมากที่สุดในยุคหนึ่งของเมืองไทย ที่ถูกก่อตั้ง และขับเคลื่อนโดย บุคคลอัจฉริยะ ผู้มองการณ์ไกล และเกิดก่อนกาลอย่างแท้จริง...
จักรเย็บผ้าซิงเกอร์ ในอดีต ที่ บริษัทนายเลิศ เป็นตัวแทนนำเข้า และเป็นผู้จำหน่ายรายแรกของประเทศ จาก www.thaismescenter.com/
โฆษณาจักรเย็บผ้าของห้างนายเลิศในหนังสือพิมพ์ภาษาฝรั่ง เมื่อปี พ.ศ.2469 จาก www.facebook.com/nailertparkheritagehome/photos
อ้างอิง :
คนไทยใจสยาม : ทางชีวิตยามสงคราม และสันติภาพ โดย สภา ปาลเสถียร
แปลโดย ปริสนา บุญสินสุข สำนักพิมพ์ โพสต์ พับลิชชิง
โฆษณา