31 ต.ค. 2020 เวลา 15:40 • ปรัชญา
Ep.02: ลัทธิสมบูรณาญาสิทธิ์ (Perfectionism)
ขณะที่ทฤษฎีเทวสิทธิ์ให้ความชอบธรรมแก่อำนาจด้วยการอ้างว่า อำนาจกษัตริย์มาจากพระเจ้า ทฤษฎีสมบูรณาญาสิทธิ์อ้างว่า อำนาจเด็ดขาดในองค์กรเดียวจะก่อให้เกิดความมั่นคงและสันติภาพ ขณะที่ทฤษฎี
เทวสิทธิ์อาศัยปรัชญาจิตนิยม ทฤษฎีสมบูรณาญาสิทธิ์โน้มเอียงไปทางปรัชญาวัตถุนิยม
นักทฤษฎีสมบูรณาญาสิทธิ์ที่สำคัญ คือ แมคเคียเวลลี (Nicolo Machiavelli, 1469-1527) และโทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes, 1688-1679) ส่วนลัทธิเศรษฐกิจที่สนับสนุนทฤษฎีสมบูรณาญาสิทธิ์ คือ
ลัทธิพาณิชย์นิยม (Mercantilism)
เมื่อเริ่มสมัยใหม่ เกิดการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (The Renaissance) มนุษย์ลดความเชื่ออย่างงมงายในพระเจ้า ให้ความสนใจกับตัวมนุษย์เองมากขึ้น กลับไปศึกษาศิลปวิทยาของกรีกและโรมเกิดความคิดสำนักมนุษยนิยม (Humanism) ที่เน้นเชื่อในความสามารถของมนุษย์ หลังจากนั้นเกิดการปฏิรูปทางศาสนา (The Reformation) สถาบันสันตะปาปาถูกโจมตี เกิดนิกายโปรเตสแตนท์สาขาต่าง ๆ ขึ้น เชื่อถือว่าคริสต์ศาสนิกชนอาจอ่านพระคัมภีร์และตีความเองได้ ไม่ต้องขึ้นอย่างเด็ดขาดกับสันตะปาปา ผู้นำนิกายโปรเตสแตนท์บางคน เช่น มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther, 1483-1546) พยายามส่งเสริมให้กษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดโดยไม่ต้องอ้างสันตะปาปา
แมคเคียเวลลีเป็นชาวฟลอเรนซ์ (Florence) บิดาเป็นทนายความ เขามาจากครอบครัวที่ยากจนแต่หยิ่งในสายเลือด แมคเคียเวลลีมีประสบการณ์ทางการเมืองและการบริหารมาก เขาได้เข้ารับราชการในนครรัฐฟลอเรนซ์ คือ เป็นเลขานุการทูตตั้งแต่ ค.ศ. 1498-1512 ได้สังเกตเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของการเมืองระหว่างนครรัฐ ระหว่างนครรัฐกับ
มหาอำนาจภายนอก และระหว่างนครรัฐกับศาสนจักร
แมคเคียเวลลี เดินทางภายในและภายนอกอิตาลีอย่างกว้างขวาง “เคยไปปารีสและโรม ใน ค.ศ. 1506 ซอเดอรินี (Piero Soderini) หัวหน้าผู้บริหารของฟลอเรนซ์ ตั้งให้แมคเคียเวลลีเป็นเลขานุการของคณะกรรมการกองทหารชาติ เมื่อฟลอเรนซ์แพ้สงครามกับศาสนจักร ซอเดอรินีก็ถูกถอด ตระกูลเมดิซี (Medici) กลับมาครองฟลอเรนซ์อีก แมคเคียเวลลีจึงถูกปลดออกจากตำแหน่ง ต่อมาก็ถูกจับขังในข้อหาว่าวางแผนโค่นอำนาจรัฐบาล แต่ไม่มีหลักฐานว่าเขาทำผิด แมคเคียเวลลีได้รับการปลดปล่อยใน ค.ศ. 1513 และถูกเนรเทศให้ไปอยู่ในชนบทในแควันฟลอเรนซ์ เขาจึงหันมาจับงานเขียนหนังสือ หนังสือเล่มสำคัญ คือ The Prince (1513) และ The Discourse (1521)
หนังสือ The Prince นั้น แมคเคียเวลล็อุทิศให้ลอเรนโซ เมดิซี (Lorenzo Medici), เจ้าผู้ครองนครฟลอเรนซ์ ทั้งนี้แมคเคียเวลลีหวังว่าเมดิซีจะรับเขาเข้าทำราชการใหม่ แต่ปรากฏว่าเมติชี้ไม่สนใจแมคเคียเวลลี แมคเคียเวลลี ถึงแก่กรรมใน ค.ศ. 1527 โดยมิได้มีโอกาสกลับมารับราชการอีกเลย
แมคเคียเวลลีมีสมมติฐานว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่ชั่วร้าย เห็นแก่ตัว อกตัญญ เปลี่ยนใจง่าย โกหก หลอกลวงและโลก อยากได้สิ่งต่าง ๆ เป็นของตัว มนุษย์แข่งขันและแย่งชิงกันตลอดเวลา ถ้าไม่มีกฎข้อบังคับและอำนาจบังคับแล้วจะเกิดสภาพอนาธิปไตย สังคมจะอยู่ได้ก็เมื่อมีอำนาจบังคับผูกพันเอาไว้ ปกป้องคุ้มครองกรรมสิทธิ์และชีวิตซึ่งเป็นความปรารถนาสูงสุด
ของมนุษย์ ความมั่นคงจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีรัฐบาลที่เข้มแข็งมีอำนาจเด็ดขาด
ผู้ปกครองจะต้องรักษาอำนาจเด็ดขาดไว้ให้ได้ ผู้ปกครองจะสามารถ หรือไม่วัดกันด้วยมาตรฐานนี้เท่านั้น ไม่ใช่วัดด้วยศีลธรรม” อำนาจเป็นคนละเรื่องกับศีลธรรม การทำสิ่งที่ถูกต้องของผู้ปกครอง คือ การรักษาอำนาจไว้ได้ แมคเคียเวลลีแยกการเมืองออกจากจริยธรรม การเมืองไม่มีดีชั่วในตัวเอง และแสดงให้เห็นว่าเพื่อจุดหมายทางการเมืองแล้วอำนาจมาก่อนจริยธรรม
แมคเคียเวลลีกล่าวตอนหนึ่งว่า : “ช่องว่างระหว่างสภาพที่บุคคลควรมีชีวิตอยู่กับสภาพที่บุคคลเป็น
อยู่นั้น กว้างเสียจนกระทั่งผู้ซึ่งเพิกเฉยต่อสิ่งที่เป็นอยู่แล้วมุ่งต่อสิ่งที่ควรเป็นพบว่านั่นเป็นการทำลายมากกว่ารักษาตนเอง เพราะความจริงมีอยู่ว่า ผู้ที่ประสงค์จะประกอบคุณธรรมจะต้องตกเป็นเหยื่อของคนจำนวนมากที่ไร้คุณธรรม ดังนั้น ถ้าผู้ปกครองต้องการรักษาอำนาจการปกครอง เขาจะต้องเรียนรู้ว่าจะเป็นผู้ไร้คุณธรรมได้อย่างไร และจะต้องรู้จักใช้หรือไม่ใช้
ตามความจำเป็น”
หมายความว่าแมคเคียเวลลีแนะให้พิจารณาการเมือง
ตามความเป็นจริง ตามที่เป็นอยู่ ไม่ใช่ฝันถึงสภาพอุดมคติ ในความเป็นจริงอำนาจเป็นสิ่งที่เราต้องยอมรับ ไม่ว่าจะได้มาโดยวิธีที่มีคุณธรรมหรือไม่
"ถ้าผู้ปกครองสามารถนำชัยชนะมาสู่ประเทศ และคุ้มครองบ้านเมืองได้โดยวิธีใดก็ตาม วิธีการของเขาย่อมถูกถือว่าเป็นวิธีมีเกียรติ และคนทั่วไปก็ย่อม
ที่จะสรรเสริญ" นี่คือการเสนอว่าอำนาจคือธรรม
แมคเคียเวลลีเสนอให้ผู้ปกครองรักษาอำนาจเด็ดขาดของตัวไว้ให้ได้ด้วยวิธีการต่างๆ โดยเฉพาะด้วยการมีกำลังทหารที่เข้มแข็งและอาวุธที่ดี และผู้ปกครองควรทำให้ผู้อยู่ใต้ปกครองกลัวเกรง
การที่แมคเคียเวลลีเสนอระบบรัฐบาลอำนาจเด็ดขาดนี้ เนื่องมาจากการที่เขาเห็นสภาพการณ์เลวร้ายของอิตาลีระยะนั้น ที่มีการแตกแยกเป็นนครรัฐ ทำสงครามระหว่างกันเองมาตลอด แมคเคียเวลลีเห็นว่า ถ้ามี
รัฐบาลกลางที่เข้มแข็งอำนาจเด็ดขาดภายใต้กษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราช ก็อาจสามารถรวมอิตาลีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และก่อให้เกิดสันติภาพได้
ทฤษฎีสมบูรณาญาสิทธิ์ของแมคเคียเวลลีสนับสนุนให้ผู้ปกครองมีอำนาจเด็ดขาด โดยอ้างว่าอำนาจเด็ดขาดเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อความมั่นคงและสันติภาพ นี่คือแนวอธิบายใหม่ของศักดินานิยม ซึ่งยังคงสนับสนุนอำนาจเด็ดขาดของกษัตริย์อยู่ดี เพียงแต่เปลี่ยนข้ออ้าง แทนที่จะเป็นข้ออ้างเทวสิทธิ์จากพระเจ้า ก็เป็นข้ออ้างความมั่นคงและสันติภาพของชุมชน อนึ่งเนื่องจากขณะนั้นกษัตริย์ด้วยความสนับสนุนของชาวเมืองรวมอำนาจได้มากขึ้นเรื่อย ขณะที่พวกเจ้านายเจ้าของที่ดินกำลังสูญเสียอำนาจการเมืองและเศรษฐกิจ ดังนั้น ทฤษฎีสมบูรณาญาสิทธิ์จึงยิ่งสอดคล้องกับความปรารถนาของกษัตริย์ที่ต้องการอำนาจเด็ดขาดรวมเข้าศูนย์กลาง ทฤษฎีสมบูรณาญาสิทธิ์นั้นนอกจากจะให้ความชอบธรรมแก่การปกครองระบบกษัตริย์แล้ว
ยังเน้นการรวมศูนย์อำนาจยิ่งกว่าทฤษฎีเทวสิทธิ์
นักทฤษฎีสมบูรณาญาสิทธิ์อีกผู้หนึ่ง คือ โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes, 1588-1679) ชาวอังกฤษ บิดาเป็นพระ เขาได้รับการศึกษาที่ออกซ์ฟอร์ด เมื่อได้รับปริญญาแล้วฮอบส์เป็นครูส่วนตัวให้บุตรชายคนโต
ของลอร์ดคาเวนดิช (Lord Cavendish) เขาจึงใกล้ชิดกับพวกเจ้านายของอังกฤษ ใน ค.ศ. 1640 เมื่อฝ่ายรัฐสภามีอำนาจมากขึ้น ฮอบส์หนีไปยุโรปเพราะกลัวถูกจับเนื่องจากเขาใกล้ชิดกับราชสำนัก เขากลับมาอังกฤษใน ค.ศ.1651 และตีพิมพ์ Leviathan งานชิ้นสำคัญที่สุดของเขาสนับสนุนระบบสมบูรณาญาสิทธิราช ใน ค.ศ. 1675 เขาออกจากลอนดอนไปอยู่ในชนบท
ฮอบส์ถึงแก่กรรมใน ค.ศ. 1679 อายุได้ 92 ปี
ฮอบส์กล่าวว่า สภาพธรรมชาติที่ปราศจากอำนาจศูนย์กลางที่ทำให้คนกลัวเกรง เป็นสภาพสงครามของคนทุกคนต่อสู้กันเอง คนทุกคนเป็นศัตรูกัน คนไม่มีความมั่นคง "ในสภาพเช่นนั้นจึงไม่มีอุตสาหกรรม เพราะผลที่จะได้รับจากการนั้นย่อมไม่แน่นอน ฉะนั้น จึงไม่มีวัฒนธรรมของโลกนี้ ไม่มีการเดินเรือหรือการใช้สินค้าที่นำเข้ามาทางทะเล ไม่มีสถานที่อยู่อาศัยอันสุขสบาย ไม่มีเครื่องมือในการเคลื่อนไหวและยักย้ายสิ่งของที่ต้องใช้แรงมากๆ ไม่มีความรู้เกี่ยวกับพื้นผิวของโลก ไม่มีการแสดงเวลา ไม่มีศิลปวิทยาการ ปราศจากวรรณกรรม ไม่มีสังคม และที่ร้ายที่สุดก็คือบังเกิดความกลัว และมีอันตรายจากการตายอย่างรุนแรง ชีวิตของคนเราย่อมเปล่าเปลี่ยว ยากแค้น เลวร้าย หฤโหดและสิ้นเสียเหลือเกิน" ในสภาพเช่นนี้ไม่มีสิ่งใดที่ไม่ยุติธรรม ไม่มีที่สำหรับเรื่องความถูก ความผิด ยุติธรรมและไม่ยุติธรรม เมื่อไม่มีอำนาจศูนย์กลางก็ไม่มีกฎหมาย เมื่อไม่มีกฎหมายก็ไม่มีความยุติธรรม ในสภาพสงครามเช่นนั้น กำลังและกลหลอกลวงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
เนื่องจากมนุษย์กลัวตายมาก จึงคิดแก้ไขปัญหาสงครามในสภาพธรรมชาติโดยทำสัญญาต่อกันว่าจะไม่กระทำต่อมนุษย์ผู้อื่นในสิ่งซึ่งตนไม่อยากให้มนุษย์ผู้อื่นทำกับตัว แต่แค่นี้ก็ยังไม่พอ เพราะมนุษย์อาจละเมิดสัญญาได้ จึงต้องทำสัญญาระหว่างกันตั้งองค์อธิปัตย์อำนาจเด็ดขาดขึ้นบังคับให้มีการปฏิบัติตามสัญญา โดยมนุษย์ยอมมอบอำนาจและสิทธิ
ในสภาพธรรมชาติให้องค์อธิปัตย์ ให้องค์อธิปัตย์ปกครองแทนที่มนุษย์จะปกครองตัวเอง องค์อธิปัตย์นี้ คือ Leviathan (ชื่อสัตว์ทะเลที่มีอำนาจมากในศาสนายิว) องค์อธิปัตย์นี้มีอำนาจเด็ดขาดแต่ผู้เดียว เพื่อที่จะรักษาสันติภาพและความมั่นคงของสมาชิกของสังคมไว้ได้
สัญญาสังคมที่เกิดขึ้นเป็นสัญญาระหว่างประชาชนต่อประชาชนก่อตั้งองค์อธิปัตย์อำนาจเด็ดขาดขึ้นปกครองตัว สัญญาสังคมไม่ใช่สัญญาระหว่างองค์อธิปัตย์กับประชาชน องค์อธิปัตย์ไม่ได้เป็นคู่สัญญา เพียงแต่เกิดขึ้นจากสัญญา ดังนั้นองค์อธิปัตย์จึงไม่มีทางทำผิดสัญญาได้ ประชาชนเป็นผู้ก่อตั้ง และมอบอำนาจให้องค์อธิปัตย์เองเพราะเห็นความจำเป็นและ
ประโยชน์ เพราะฉะนั้นจะบ่นว่าการกระทำใด ๆ ขององค์อธิปัตย์ไม่ได้ เพราะถ้าทำเช่นนั้นก็เท่ากับว่าตัวเอง หมายความว่าในทรรศนะของฮอบส์องค์
อธิปัตย์เป็นบุคคลที่สาม (Third party) ทำหน้าที่ตรวจตราดูแลลงโทษผู้ไม่ปฏิบัติตามสัญญาสังคม เป็นผู้คอยตัดสินอยู่วงนอก ดังนั้นย่อมอยู่เหนือสัญญา ประชาชนไม่มีสิทธิเรียกร้องใดๆ ต่อองค์อธิปัตย์ อำนาจขององค์
อธิปัตย์เด็ดขาดสูงสุด
ในทรรศนะของฮอบส์องค์อธิปัตย์ควรมีรูปแบบเป็นกษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราช เพราะเป็นรูปแบบที่ก่อให้เกิดการแข่งขันกันทางอำนาจน้อยกว่ารูปแบบคณาธิปไตยหรือประชาธิปไตย และย่อมเป็นเรื่องง่ายกว่าที่บุคคลคนเดียวจะปฏิบัติการเด็ดขาดและไม่ขัดกันเอง
เพื่อให้อำนาจขององค์อธิปัตย์เข้มแข็ง ฮอบส์แนะนำว่าองค์อธิปัตย์ต้องไม่ยอมให้กลุ่มหรือสถาบันใดๆ แทรกเข้ามาระหว่างองค์อธิปัตย์กับปัจเจกชน โดยเฉพาะ ฮอบส์ไม่ต้องการให้ฝ่ายศาสนาจักรเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการปกครองประเทศ ฮอบส์ต้องการให้องค์อธิปัตย์มีอำนาจเหนือองค์กรฝ่ายศาสนา
ฮอบส์ไม่ได้อ้างทฤษฎีเทวสิทธิ์สนับสนุนองค์อธิปัตย์ สำหรับระบบของฮอบส์จะมีหรือไม่มี พระเจ้าไม่ทำให้ข้อยุติของเขาเปลี่ยนแปลง
ลัทธิเศรษฐกิจที่สนับสนุนทฤษฎีสมบูรณาญาสิทธิ์คือลัทธิพาณิชย์นิยม (Mercantilism) ลัทธินี้สนับสนุนการเพิ่มกำลังอำนาจของรัฐและ
รัฐบาลกลางด้วยมาตรการทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้วยการใช้ประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศและการภาษีอากร ลัทธินี้มีอิทธิพลอยู่ในยุโรป
จากศตวรรษที่ 16 ถึง 18
พื้นฐานทางเศรษฐกิจของลัทธิพาณิชย์นิยม คือ การเปลี่ยนในกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในยุโรปจากเกษตรกรรมแบบเลี้ยงตัวเองมาสู่การค้าขายแลกเปลี่ยน จากการส่งมอบผลผลิตให้เจ้าขุนมุลนายเป็น
การคลังของรัฐบาลอยู่ใต้อำนาจขององค์อธิปัตย์
ลัทธิพาณิชย์นิยมสนับสนุนอำนาจเศรษฐกิจของกษัตริย์ซึ่งเป็นรัฐบาลกลาง สนับสนุนให้รัฐบาลกลางเพิ่มความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของตน
ซึ่งจะทำให้อำนาจทางการปกครองเพิ่มขึ้นตาม การเพิ่มความมั่งคั่งของรัฐและรัฐบาลทำได้โดยการสะสมเงินและทองแท่งไว้ให้มาก ถ้าไม่มีการขุดแร่เงินหรือทองในประเทศก็อาจหาเงินและทองมาได้ด้วยการค้าระหว่างประเทศ คือ หาทางให้ดุลการค้าเกินดุล ขายให้มากกว่าซื้อ ส่งออกให้มากกว่านำเข้า โทมัส มัน (Thomas Mun, 1571-1641) และเซอร์โจสอาห์ ไชด์ (Sir Josiah Child, 1630-1699) ต่างมีความเชื่อทำนองเดียวกันว่าจุดหมายของการค้าระหว่างประเทศคือ การส่งออกให้มากกว่าการนำเข้า ซึ่งจะทำให้ได้รับการชำระเงินในรูปทองคำ และเงินแบ่งเข้าประเทศ ดังนั้นบทบาทของรัฐในทางเศรษฐกิจคือออกกฎหมายตั้งกำแพงภาษีจำกัดการนำสินค้าเข้าและห้ามการนำเงินและทองแท่งออกนอกประเทศ ตัวอย่างประเทศที่ปฏิบัติตามลัทธิพาณิชย์นิยม เช่น ฝรั่งเศสภายใต้การปกครองของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในตอนปลายศตวรรษที่ 17
การเพิ่มความมั่งคั่งขององค์อธิปัตย์อีกวิธีหนึ่ง คือ การเก็บภาษีในเรื่องนี้ลัทธิคาเมอรัลลิสม์ (Rameralism) ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของลัทธิพาณิชย์นียมระบุไว้ชัดแจ้ง ลัทธิคาเมอรัลลิสม์เฟื่องฟูในเยอรมนี คำว่า "Camera” แปลว่า ท้องพระคลังของกษัตริย์ นักคิดกลุ่มนี้เสนอให้กษัตริย์มีสิทธิเก็บภาษีราษฎรได้โดยตรงไม่ต้องผ่านเจ้าขุนมุลนาย เป็นการเก็บภาษี ในฐานะองค์การการปกครองไม่ใช่ในฐานะเป็นเจ้าของที่ดิน การเก็บภาษีได้โดยตรงจะทำให้อำนาจกษัตริย์เพิ่มขึ้น กษัตริย์จะนำเงินภาษีที่เก็บได้ไปค้ำจุนระบบราชการและกองทัพที่กำลังขยายตัว การรวมอำนาจการคลังไว้
ในมือกษัตริย์เป็นความปรารถนาที่สำคัญที่สุดของลัทธิคาเมอรัลลิสม์
ตามสารบัญ ตอนหน้าพบกับ "เสรีนิยมคลาสสิก" กันบ้างนะครับ
Cr.:
หนังสือลัทธิเศรษฐกิจการเมือง
คุณฉัตรทิพย์ นาถสุภา
อาจารย์จรัสเรือง ศิริวัฒนรักษ์
#PassiveDeathWish
#รบชนฮซหคชห

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา