Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ไดอารี่อาร์ทฮิส
•
ติดตาม
29 ต.ค. 2020 เวลา 09:20 • ศิลปะ & ออกแบบ
พรหม 4 หน้า ไม่ใช่ตัวประหลาดที่ผิดหลักกายวิภาค แต่เป็นรูปลักษณ์ที่มีนัยยะแฝงอยู่ต่างหาก
พรหมพักตร์ หรือ พรหม๔หน้า
ที่ปรากฏในงานศิลปกรรมไทย
พรหมพักตร์ มีที่มาทางด้านรูปแบบจากศิลปะเขมรสมัยบายน ที่สันนิษฐานว่ามีการผลัดเปลี่ยนศาสนาหลายครั้ง และส่งผลถึงศิลปะกรรมของปราสาทบายน ว่าเป็นพระพักตร์แห่งพระโพธสัตว์อวโลกิเตศวร บ้าง เป็นพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าบ้าง หรือแม้กระทั่งเป็นเทวสถานของพราหมณ์บ้าง
ทั้งหมดหมายถึงการทำหน้าบุคคลสี่หน้าในงานศิลปกรรม เกิดจากความเข้าใจว่าองค์ประกอบดังกล่าวคือใบหน้าของพระพรหม ซึ่งโดยยังคงนำมาประดับที่ส่วนยอดของงานศิลปกรรมไทย เช่นเดียวกับต้นแบบที่มาจากบายน
เราจะพบกับการประดับยอดพรหมพักตร์ในงานศิลปกรรมไทย คือศิลปกรรมร่วมกับยอดแบบปรางค์แสดงให้เห็นถึงการสืบทอดระเบียบตามอย่างศิลปะเขมรสมัยบายน และเป็นแรงบันดาลใจสำคัญที่ทำให้ช่างไทยนำมาประดับในงานศิลปกรรมร่วมกับยอดเจดีย์ซึ่งถือเป็นการสร้างสรรค์ที่เกิดจากการประยุกต์ให้เข้ากับรูปแบบศิลปะไทยมากยิ่งขึ้น
•พรหมพักตร์ในคติพราหมณ์ ที่ประดับในงานศิลปกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ เป็นการแสดงถึงฐานันดรศักดิ์ผ่านศิลปกรรม
•พรหมพักตร์ในคติของพุทธศานา ที่ปรากฏกในจิตรกรรมฝาผนังของไทยคือการแสดงถึงพรหมโลกหรือพระพรหม ซึ่งจริงๆแล้วพรหมในพระพุทธศานาคือสภาวะจิต มิได้มีสี่หน้าแต่อย่างใด ช่างดึงจุดนี้มาใช้เพื่อให้เกิดความเด่นชัดผ่านการแสดงออกทางศิลปกรรม อีกทั้งอาจเป็นการแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของพุทธศาสนาโดยการดึงเอาเทพเจ้าชั้นสูงของศาสนาพราหมณ์มาลดบทบาทเป็นเพียงเทวดาก็เป็นได้
พระพักตร์ทั้ง๔ ในทางพุทธศาสนานอกจากปรากฏที่ปราสาทบายนแล้ว ยังพบที่เจดีย์สวยัมภูวนาถเป็นพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าหรือปริศนาดวงตาเห็นธรรมนั่นเอง
พรหมพักตร์ ที่ปรากฏในแต่ละชิ้นงานอาจมีความหมายหรือนัยยะแตกต่างกันไป ทั้งนี้ความหมายหรือนัยยะดังกล่าวคงถูกกำหนดโดยบริบททางศาสนา สังคม หรือแนวคิดที่ถูกตีความใหม่โดยศิลปิน
จึงเกิดการตีความ ทำความเข้าใจอีกที โดยผู้ที่พบเห็น
ภาพจิตรกรรมวัดใหญ่สุวรรณาราม ปรากฏรูปพรหม(พรหมที่ยังมีรูปกาย)ในทางพุทธศาสนา
ยอดพรหมพักตร์ที่ใช้ประดับจิตกาธานของพระมหากษัตริย์ เพื่อแสดงฐานันดรศักดิ์ ซึ่งได้รับอิทพลส่งต่อมาจากศิลปกรรมโบราณแบบบายน
ปราสาทบายน ที่ปรากฏรูปใบหน้าทั้ง 4 ทิศ
เจดีย์สวยัมภูวนาถ ที่ปรากฏรูปใบหน้าทั้ง 4 เช่นกัน
1 บันทึก
3
1
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย