29 ต.ค. 2020 เวลา 23:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ไม่ได้มีแค่ความอร่อย! ชีวิตสุดพิศวงของ 'หมึก' สัตว์ทะเลหนวดยาวที่เต็มไปด้วยเรื่องน่ารู้
123RF
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
หมึกเป็นสัตว์ที่มีความลึกลับซับซ้อนมากับความสามารถที่ซ่อนอยู่มากมาย แม้ในภาษาไทยเราจะเรียกว่าปลาหมึกกันอย่างเคยชินแต่ความเป็นจริงมันไม่ใช่ปลา มันคือสัตว์จำพวกหอยต่างหาก หมึกไม่มีกระดูกสันหลัง เรื่องราวที่น่าสนใจต่อไปนี้จะทำให้คุณทั้งกลัวและทึ่งในความมหัศจรรย์ของสัตว์น้ำชนิดนี้
1. นักวิทยาศาสตร์ไม่แน่ใจว่าหมึกยักษ์จะฝันเมื่อมันหลับหรือไม่ แต่ในสารคดีชื่อว่า Nature ที่บันทึกวีดีโอของหมึกยักษ์ชื่อเฮดีขณะหลับมีการทำท่าทางขยับหนวดที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสังเกตว่ามันกำลังฝันว่าจับสัตว์น้ำอยู่หรือไม่ ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องปกติที่จะพบเห็นได้บ่อยนัก แม้สัตว์จำพวกหอยนั้นจะไม่ได้มีระบบประสาทที่ซับซ้อนจนมีอาการฝันเหมือนกับมนุษย์อย่างเราแต่ในบางครั้งดวงตาของเฮดีก็มีการเคลื่อนไหวอีกทำให้นักวิทยาศาสตร์ยิ่งคิดต่อไปอีกว่ามันอาจจะกำลังอยู่ในภาวะ R.E.M. ก็ได้
123RF
2. ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2018 นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบแหล่งอนุบาลลูกหมึกบริเวณชายฝั่งมอนเทอเรย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้พบปลาหมึกสายพันธุ์ Muusoctopus robustus จำนวนนับพันตัวอยู่บริเวณโขดหินเป็นแนวยาวกว่า 2 ไมล์ หมึกตัวเมียที่โตแล้วจะว่ายน้ำกลับหัวเพื่อคอยดูแลปกป้องลูกปลาหมึก ในขณะเดียวกันนั้นอาจจะมีตัวอ่อนบางตัวที่ยังติดอยู่กับหนวดด้วย นักวิทยาศาสตร์คิดว่าการที่พวกมันมาอยู่ริมชายฝั่งเพราะคลื่นความร้อนจากทางเท้าทำให้น้ำอุ่นและเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของลูกปลาหมึก
3. หมึกยักษ์มีหัวใจ 3 ห้อง 2 ห้องแรกนั้นจะทำการปั๊มเลือดเพื่อส่งไปทั่วร่างกาย และอีกห้องนั้นจะช่วยให้เลือดไหลเวียน แต่มันจะหยุดทำงานถ้าหากว่าหมึกนั้นว่ายน้ำ ดังนั้นมันจึงกลายมาเป็นเหตุผลของข้อสงสัยว่าทำไมหมึกจึงเลือกที่จะคลานมากกว่าว่ายน้ำ
123RF
4. เลือดของหมึกวิวัฒนาการให้มีทองแดงเป็นส่วนประกอบ แทนที่จะเป็นธาตุเหล็กเหมือนกับมนุษย์ ประโยชน์ของวิวัฒนาการนี้ทำให้มันสามารถอยู่รอดได้ในมหาสมุทรที่ลึกแสนลึก และโปรตีนฮีโมไซยานินทำให้เลือดมันเป็นสีน้ำเงินซึ่งโปรตีนชนิดนี้ช่วยให้การขนส่งออกซิเจนท่ามกลางอุณหภูมิต่ำนั้นมีประสิทธิภาพ
5. นักวิทยาศาสตร์เคยทำการทดลองตัดหนวดหมึกออกและเมื่อพวกเขาได้ทดลองบีบหนวดที่ถูกตัดออกมาแล้วนั้นพบว่ามันยังมีการกระตุกกระดิกอยู่เป็นเพราะว่าสองในสามของเซลล์ประสาทของหมึกยักษ์นั้นอยู่ที่หนวดไม่ได้อยู่ในสมอง
123RF
6. หนวดอันที่สามทางด้านขวาของหมึกตัวผู้จะมีความพิเศษเพราะเป็นอวัยวะที่ใช้สืบพันธุ์ ในบางสายพันธุ์เราจะสังเกตเห็นได้ทันทีเพราะมันมีความแตกต่างเช่น มีตัวดูดน้อยกว่าหนวดข้างอื่นๆ เมื่อหมึกทำการผสมพันธุ์มันจะสอดหนวดพิเศษนี้ไปในท่อนำไข่ของตัวเมีย หรือบางตัวก็จะตัดหนวดข้างนั้นออกและเสียบให้ตัวเมียไว้เลย โดยตัวเมียจะเก็บหนวดข้างนั้นไว้จนกว่าจะวางไข่ หลังจากผสมพันธุ์เสร็จหมึกตัวผู้ก็จะล่องลอยตามน้ำไปเรื่อยๆ และตายหลังจากนั้นภายในเวลาไม่กี่เดือน ส่วนตัวเมียก็จะกลับไปที่รังเพื่อวางไข่และคอยเฝ้าระวังดูแลลูกน้อยจนกว่าจะฟักออกมาเป็นตัว
7. หมึกยักษ์นั้นจะอยู่ร่วมกับหมึกตัวอื่นๆ เฉพาะช่วงผสมพันธุ์เท่านั้น มันชอบที่จะอยู่โดยลำพังมากกว่า และเนื่องจากความดุร้ายหมึกในพิพิธภัณฑ์มักจะถูกเก็บไว้ในถังแยก โดยในส่วนจัดแสดงพวกเขาจะเลี้ยงหมึกยักษ์ไว้ด้านหลังกระจกของสัตว์น้ำตัวอื่นๆ
123RF
8. หนวดของหมึกสามารถงอกทดแทนที่ถูกตัดออกไปได้ใหม่ จากการวิจัยพบว่าเกิดจากการไหลเข้าของโปรตีน acetylcholinesterase ในกระบวนการงอกใหม่
9. หมึกจะพ่นหมึกเพื่อเบนความสนใจของเหยื่อป้องกันไม่ให้มันหนีไป หรือใช้ป้องกันตัวจากนักล่า ในหมึกที่พ่นออกไปนั้นจะมีเอนไซม์ที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง ส่งผลให้การรับรู้กลิ่นและรสทำงานผิดปกติ
WIKIPEDIA CC JENS PETERSEN
10. หมึกทุกตัวนั้นมีโปรตีนพิษอยู่ในตัว โดยจะเข้าสู่ร่างกายเหยื่อด้วยการกัด แต่ก็ไม่ใช่ทุกสายพันธุ์ที่จะเป็นอันตรายต่อมนุษย์ ยกเว้นหมึกตัวเล็กสีสันสดใสสวยงามชื่อว่าบลูริงหรือหมึกสายวงน้ำเงิน มันเป็นหนึ่งในสัตว์ที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก พิษของมันร้ายแรงกว่างูเห่าถึง 20 เท่า ผู้ที่ถูกกัดจะเสียชีวิตภายในเวลา 2-3 นาที
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
โฆษณา