29 ต.ค. 2020 เวลา 14:29 • ประวัติศาสตร์
กันดั้มและสงครามโลกครั้งที่ 2
เชื่อว่าทุกท่านต้องเคยได้ยินชื่อ "กันดั้ม" การ์ตูนหุ่นยนต์สุดคลาสสิคของญี่ปุ่นที่โลดแล่นอยู่บนจอทีวีถึง 40 ปีแล้ว
Life-size กันดั้มที่ญี่ปุ่น (Source: BBC)
กันดั้มทุกภาคมีเนื้อหาเกี่ยวกับสงครามอันเข้มข้น แต่ละภาคก็จะมีโฟกัสที่ต่างกันไป เช่น กันดั้มในจักรวาล "UC" (Universal Century) จะเน้นการต่อสู้ระหว่างกองทัพโลกและอาณานิคมบนอวกาศ ซีรีส์ Gundam Seed ในจักรวาล "CE (Cosmic Era) จะพูดถึงความขัดแย้งระหว่างมนุษย์ดัดแปลงพันธุกรรมกับมนุษย์ธรรมดา ในขณะที่กันดั้ม Iron-Blooded Orphans จะเล่าเรื่องราวของทหารเด็กและการคอร์รัปชั่น
บทความนี้จะพูดถึงกันดั้มภาคแรกที่ออกฉายในปี 1979 ซึ่งตรงกับปี Universal Century ที่ 0079 ในเรื่องพอดี
กันดั้ม 0079 เป็นเรื่องราวการต่อสู้ระหว่างสหพันธ์โลกผู้คุมอำนาจและจักรวรรดิซีออนผู้ต้องการให้ชาวอวกาศมีอิสระในการปกครองตนเอง โดยดำเนินเรื่องผ่านมุมมองของ "อามุโร่ เรย์" พระเอกฝ่ายสหพันธ์โลก
อามุโร่บน poster หนังกันดั้ม (Source: The Fordham Ram)
หลายคนเปรียบเทียบจักรวรรดิซีออนกับฝ่ายอักษะในสงครามโลกครั้งที่ 2 (โดยเฉพาะเยอรมนี) เพราะในช่วงเริ่มต้นของสงคราม ทั้งซีออนและฝ่ายอักษะเป็นฝ่ายได้เปรียบเนื่องจากมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ดีกว่า แต่สุดท้ายก็ต้องแพ้ให้กับสหพันธ์โลก/
ฝ่ายสัมพันธมิตร ที่มีจำนวนทหารและทรัพยากรมากกว่า
ธงซีออนและธงนาซี คล้ายกันมาก
เรื่องราวในกันดั้ม 0079 ยังมีอีกหลายมุมที่คล้ายกับเหตุการณ์จริงในสงครามโลกครั้งที่ 2
กลยุทธ์ที่คล้ายกัน
.
.
ชาวอวกาศในกันดั้ม (ในเรื่องเรียกว่า "สเปซนอยด์") ที่อาศัยอยู่ตามโคโลนี่ อพยพมาจากโลกที่ประสบปัญหาประชากรที่มากเกินไป ผู้อพยพส่วนใหญ่เป็นนักโทษการเมืองและประชาชนที่ไร้อิทธิพล กลุ่ม elite บนโลกก็กดขี่ชาวอวกาศมาเรื่อยๆ คล้ายกับการที่ชาติตะวันตกไม่ยอมรับและปฎิบัติต่อญี่ปุ่นแบบ second class population ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้ญี่ปุ่นอย่างมาก
Space Colony ของชาวอวกาศ (Source: Gundam Kits Collection)
ต่อมาจักรวรรดิซีออนได้ตั้งตัวเป็นผู้นำของชาวอวกาศ ประกาศอิสรภาพจากการปกครองของสหพันธ์โลก ฝ่ายสหพันธ์โลกตอบโต้ด้วยมาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ไม่ต่างอะไรกับการที่อเมริกาและชาติพันธมิตรภายใต้การนำของประธานธิบดี Roosevelt ตัดการส่งออกไปยังญี่ปุ่น ทำให้ญี่ปุ่นที่ต้องพึ่งพาทรัพยากรจากต่างประเทศตกที่นั่งลำบาก และนี่ก็เป็นการเร่งให้ญี่ปุ่นทำสงคราม เพื่อที่จะครอบครองแหล่งน้ำมันและแร่ในเอเชีย-แปซิฟิค
.
.
จักรวรรดิซีออนเปิดฉากสงครามโดยใช้กลยุทธ์ surprise attack โจมตีโคโลนี่ของสหพันธ์โลกอย่างไม่ทันตั้งตัว เหมือนกับการที่กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นส่งฝูงบินเข้าถล่ม Pearl Harbour ของอเมริกา
อาวุธเด็ดของฝ่ายซีออนคือหุ่นยนต์ยักษ์ที่เราเห็นในเรื่อง ที่เรียกกันว่าโมบิลสูท มีทั้งประสิทธิภาพในการโจมตีและความเร็ว สามารถถล่มกองยานของฝ่ายสหพันธ์โลกได้อย่างราบคาบ (ในช่วงเริ่มต้นสงคราม ฝ่ายสหพันธ์โลกยังไม่ได้มีการพัฒนา
โมบิลสูทไปสู้กับซีออน)
การโจมตีด้วยโมบิลสูทที่อาศัยความแรง เร็ว และการรุกแบบประชิดอย่างต่อเนื่อง มีความคล้ายกับการรบแบบ Blitzkrieg ของกองทัพเยอรมันอย่างมาก
Blitzkrieg ที่แปลตรงตัวว่า "สงครามสายฟ้าแลบ" คือการผสมผสานระหว่างกองกำลังทางอากาศและภาคพื้นดินเข้าด้วยกันเพื่อเด็ดหัวศัตรูอย่างรวดเร็ว กองทัพอากาศ (Luftwaffe) จะเปิดฉากระดมทิ้งระเบิดใส่เป้าหมายในระยะใกล้ จากนั้นจะให้กอง
พลยานเกราะ (Panzer Division) ภาคพื้นดินเคลื่อนที่เข้าโจมตีศัตรูที่กำลังช๊อคอยู่ทันที การรบแบบ Blitzkrieg นี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เยอรมนีถือไพ่เหนือกว่าฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่ 2
.
.
นอกจากการรบด้วยโมบิลสูทแล้ว ฝ่ายซีออนยังใช้แก๊สพิษเพื่อโจมตีโคโลนี่ สะท้อนให้เห็นถึงการที่นาซีเยอรมนีใช้แก๊สพิษในการสังหารชาวยิวในค่ายกักกัน
จุดเปลี่ยนในสงครามที่คล้ายกัน
.
.
เมื่อได้รับชัยชนะในอวกาศ จักรวรรดิซีออนก็ยกทัพมาบุกโลก เช่นเดียวกับการที่นาซีเยอรนีและจักรวรรดิญี่ปุ่นขยายดินแดนออกไปเรื่อยๆ
ในกันดั้ม 0079 จุดเปลี่ยนของสงครามคือ Battle of Odessa ที่ฝ่ายสหพันธ์โลกบุกโจมตีเหมืองแร่
โอเดสซ่าในยุโรปตะวันออกซึ่งเป็นฐานผลิตอาวุธของซีออน การต่อสู้กินเวลาสามวัน กองทัพสหพันธ์โลกสามารถโค่นกองทัพซีออนได้ในที่สุดแต่ต้องสูญเสียกำลังพลเป็นจำนวนมาก
เหตุการณ์นี้เป็นจุดเปลี่ยนของฝ่ายซีออนซึ่งเคยได้รับชัยชนะอย่างรวดเร็วมาตลอด คล้ายกับการรบที่สตาลินกราด (Battle of Stalingrad) ระหว่างสหภาพโซเวียตและนาซีเยอรมนี ซึ่งถือว่าเป็นสมรภูมิที่เลือดสาดที่สุดในสงครามโลกครั้งที่ 2
ที่สตาลินกราด กองทัพแดงของโซเวียตสามารถต้อนให้กองทัพเยอรมันทำสงครามยืดเยื้อนานถึงเกือบ 6 เดือนและเอาชนะได้ในที่สุด มีการสูญเสียทหารและพลเรือนทั้งสองฝ่ายรวมกันประมาณ 2 ล้านคน
.
.
ความแตกต่างระหว่างสตาลินกราดและศึกโอเดสซ่าในกันดั้ม เห็นได้อยู่สองข้อ
.
.
1. กองทัพโซเวียตไม่ได้เป็นฝ่ายบุกเหมือนกองทัพสหพันธ์โลก แต่เป็นฝ่ายตั้งรับที่รู้จักตัวเมืองและภูมิประเทศดีกว่า
ฝ่ายเยอรมันเปิดฉากใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดทำลายเมืองสตาลินกราดจนราบเป็นหน้ากลอง ตามสูตร Blitzkrieg แต่ซากปรักหักพังของอาคารกลับกลายเป็นอุปสรรคในการส่งกองพลยานเกราะเข้าไป
ทหารเยอรมันต้องเดินเท้าเข้าไปเคลียร์ตามซากตึก ซึ่งเป็นการเดินเข้าไปในดงศัตรูจังๆ เพราะทหารโซเวียตใช้ซากอาคารเป็นที่กำบังของเหล่าสไนเปอร์และวางกับระเบิด
.
.
2. ซีรีส์กันดั้มไม่ได้มีการพูดถึงอุปสรรคด้านสภาพอากาศและ logistics
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้กองทัพเยอรมันแพ้คือเสบียงที่ไม่เพียงพอ การบุกประเทศที่กว้างใหญ่อย่างรัสเซียต้องใช้เส้นทางการส่งเสบียงและกำลังบำรุงที่ยาวเหยียด ยิ่งในฤดูหนาวการขนส่งยิ่งลำบาก (ต้องเจอกับ Russian winter สุดโหด!) สุดท้ายแล้วกองทัพ
เยอรมันก็โดนตัดสายการขนส่งและเป็นฝ่ายโดยล้อมเสียเอง
.
.
สตาลินกราดและศึกโอเดสซ่าเป็นบทเรียนว่า อย่ามั่นใจอะไรจนเกินไปเพราะเกมส์สามารถพลิกได้เสมอ.....
1
แรงจูงใจในการทำสงครามที่คล้ายกัน
.
.
กิเรน ซาบี้ ผู้นำของซีออนแทบจะถอดแบบมาจากฮิตเลอร์เป๊ะๆ ทั้งคู่เป็นเผด็จการที่มีคาริสม่า มีความสามารถในการพูดโน้มน้าวใจคนเป็นเลิศ และที่สำคัญคือกิเรนและฮิตเลอร์มีความเชื่อเรื่องชาติพันธุ์ที่คล้ายกัน
กิเรนเชื่อว่าชาวอวกาศมีวิวัฒนาการเหนือมนุษย์โลก เช่นเดียวกับฮิตเลอร์ที่ที่เชื่อว่าชาติพันธ์ุอารยัน (Aryan) ที่เป็นต้นตระกูลของชาวเยอรมัน เป็นชาติพันธ์ุที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
เพราะฉะนั้น สงครามในมุมมองของกิเรนและ
ฮิตเลอร์คือ apocalyptic war เพื่อกำจัดสิ่งที่เป็นอันตรายต่อความบริสุทธิ์ของชาติพันธ์ุที่ยิ่งใหญ่ และทั้งคู่ก็ใช้วิธีขยายดินแดน (Expansion) เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
ส่วนใหญ่ สงครามที่มีเป้าหมายใหญ่เกินไป ไม่มี clearly-defined objective มักจะจบแบบไม่สวย.....
จักรวรรดิซีออนเล็กๆของกิเรนที่มีทรัพยากรจำกัดไม่มีทางต่อกรกับสหพันธ์โลกได้ในระยะยาว
เช่นเดียวกัน เป็นเรื่องยากที่ฮิตเลอร์จะชนะสงครามสองด้าน (two-front war) ในยุโรปตะวันตกและตะวันออก กองทัพเยอรมันพยายามคิดหาวิธีเลี่ยงการทำสงครามสองด้านมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว (เช่น Schlieffen Plan ที่ล้มเหลวในสงครามโลก
ครั้งที่ 1) เพราะรู้ว่าการทำสงครามสองด้านเหมือนการรนหาที่ตาย
สุดท้ายแล้ว สิ่งที่กิเรนและฮิตเลอร์ทำ เป็นแค่การเดิมพันและฝันลมๆแล้งๆเท่านั้น
โยชิยูกิ โทมิโนะ ผู้สร้างซีรีส์กันดั้ม ได้ยืนยันว่าเหตุการณ์ในกันดั้มมีต้นแบบมาจากเหตุการณ์จริงในสงครามโลกครั้งที่ 2
อย่างไรก็ตามโทมิโนะกล่าวว่าจุดประสงค์ของซีรีส์นี้ไม่ใช่การ glorify สงคราม แต่เป็นการแสดงให้เห็นถึงความโหดร้ายและความสูญเสีย ซึ่งไม่ควรจะเกิดขึ้นอีก
Reference List:
Dhar, Ankur. “Suiting Up”. Kuroshio Magazine. Published January, 10, 2019. https://www.kuroshiomag.com/2019/01/10/suiting-up/.
Gundam Wiki. “One Year War”. Accessed October 29, 2020. https://gundam.fandom.com/wiki/One_Year_War.
Higgs, Robert. “How U.S. Economic Warfare Provoked Japan’s Attack on Pearl Harbor”. Independent Institute. https://www.independent.org/news/article.asp?id=1930.
Imperial War Museums. “The German ‘Lightning War’ Strategy of the Second World War”. Accessed October 29, 2020. https://www.iwm.org.uk/history/the-german-lightning-war-strategy-of-the-second-world-war.
Johnson, Ian. “Stalingrad at 75, the Turning Point of World War II in Europe”. The Ohio State University. http://origins.osu.edu/milestones/august-2017-stalingrad-75-turning-point-world-war-ii-europe.
โฆษณา