30 ต.ค. 2020 เวลา 11:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
สรุปรายการลดหย่อนภาษี ปี2563
(ข้อมูล ณ วันที่ 30 ต.ค. 63)
1
หลายคนน่าจะพอทราบกันบ้างแล้วว่ารายการลดหย่อนภาษีมีอะไรบ้าง เราได้ทำสรุปมาให้ทวนอีกที เผื่อบางคนอาจจะลืมกันแล้ว
และในก็ปีเพิ่มรายการลดหย่อนภาษีเข้ามาบ้างแล้ว รวมถึงบางรายการก็ได้ลดจำนวนค่าลดหย่อนภาษี เนื่องจากสถานการณ์ Covid-19 เช่น ประกันสังคม
สำหรับคนที่ต้องลดหย่อนภาษี อย่าลืมวางแผนคำนวณภาษีกันอย่างรอบคอบ และศึกษารายละเอียดอย่างถี่ถ้วน จะได้ไม่ผิดพลาด
รายการลดหย่อนภาษี แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้
1. กลุ่มลดหย่อนทั่วไป
🔸ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
🔸ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท
🔸ค่าลดหย่อนบุตร คนละ 30,000 บาท ไม่จำกัดจำนวนบุตร (ถ้าเป็นบุตรคนที่ 2 เป็นต้นไปและเกิดในปี 2561 เป็นต้นไป ได้คนละ 60,000 บาท)
🔸ค่าลดหย่อนบิดามารดา คนละ 30,000 บาท
🔸ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท
🔸ค่าฝากครรภ์และทำคลอด ตามจริง สูงสุดไม่เกินท้องละ 60,000 บาท
2. กลุ่มประกันชีวิตและการลงทุน
🔸เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป/เงินฝากแบบมีประกันชีวิต ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
🔸เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปต้องไม่เกิน 100,000 บาท (ปีนี้เบี้ยประกันสุขภาพตนเองได้ปรับเพิ่มขึ้น เนื่องด้วยสถานการณ์ COVID-19)
🔸เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
🔸ประกันสังคม ปีนี้ได้ปรับลดเงินที่นำส่งประกันสังคมเป็นเวลา 6 เดือน ทำให้ในปีนี้เราจะจ่ายประกันสังคม 5,850 บาท
🔸กองทุนรวมเพื่อการออมระยะยาว (SSF) ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30% ของรายได้และไม่เกิน 200,000 บาท
🔸กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30% ของรายได้และไม่เกิน 500,000 บาท
🔸กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (PVD)/กบข./กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้และไม่เกิน 500,000 บาท
🔸กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 13,200 บาท
🔸เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้และไม่เกิน 200,000 บาท
❗กองทุน SSF + กองทุน RMF + กบข. + กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ + กองทุนครูโรงเรียนเอกชน + กองทุนการออมแห่งชาติ + ประกันชีวิตแบบบำนาญ เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
🔸กองทุน SSF Extra (ได้เพิ่มเข้ามาในปีนี้ เนื่องด้วยสถานการณ์ COVID-19) ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
3. กลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจ
🔸ดอกเบี้ยซื้อที่อยู่อาศัย ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
🔸โครงการบ้านหลังแรก ปี2559 ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท
🔸ค่าธรรมเนียมจากการรับชำระเงินด้วยบัตรเดบิต ตามที่จ่ายจริง
🔸ช้อปดีมีคืน ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท
4. กลุ่มเงินบริจาค
🔸เงินบริจาคพรรคการเมือง ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
🔸เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ ได้ 2 เท่าของเงินบริจาคตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
🔸เงินบริจาคทั่วไป ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าลดหย่อน
ส่วนใครที่สงสัยเงื่อนไขอันไหน คอมเม้นท์ไว้ใต้โพสนี้ หรือจะ Inbox ผ่านทาง Facebook page มาถามก็ได้ค่ะ พวกเรายินดีให้คำปรึกษาค่ะ ☺️
ข้อมูลจากเว็บไซต์กรมสรรพากร และ itax
#Cashury #Investment #FinancialAdvisor #Finance #ลงทุน #การเงิน #กองทุน #เริ่มต้นลงทุน #มือใหม่เริ่มต้นลงทุน #พื้นฐานการลงทุน #ออมเงิน #ภาษี #ลดหย่อนภาษี #ภาษีบุคคลธรรมดา #วางแผนภาษี #คำนวณภาษี #วางแผนการเงิน #รายการลดหย่อนภาษี
โฆษณา