3 พ.ย. 2020 เวลา 03:36 • ท่องเที่ยว
การเดินทาง​มาถึงทริป​สุดท้าย​ของ​ซีรีย์​ เรื่อง​แนะนำ​การ​ท่องเที่ยว​ใน​สกลนคร
มาเที่ยว​พิพิธภัณฑ์​พระ​อาจารย์​ฝั้น​อา​จา​โร​ ด้วยกัน​น่ะครับ​
ภาพถ่ายโดยเจหนุ่มสกลคนอิสระ
บรรยากาศ​ร่มรื่น​อากาศ​ดีมาก​ๆ​เลยครับ
มาอ่านประวัติ​ความเป็นมา​ของ​พระ​อาจารย์​ฝั้น
พร้อม​ภาพ​บรรยายครับ
พิพิธภัณฑ์อาจารย์ฝั้น อาจาโร ตั้งอยู่ที่วัดป่าอุดมสมพร ตำบลพรรณานิคม อำเภอพรรณนานิคม วัดป่าอุดมพรเป็นวัดที่พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เกจิอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐานเคยจำพรรษาอยู่ ลักษณะพื้นที่ของวัดป่าอุดมสมพร เป็นสวนป่าขนาดใหญ่ เจดีย์พิพิธภัณฑ์ แห่งนี้ก่อสร้างขึ้นในปี 2523 โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จมาวางศิลาฤกษ์ แล้วเสร็จในปี 2525 โดยอาคารพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ภายในสวน ลักษณะตัวพิพิธภัณฑ์ มีความงดงามของตัวอาคารที่เป็นเอกลักษณ์เป็นรูปเจดีย์ฐานกลมกลีบ บัวสามชั้น ภายในมีรูปปั้นพระอาจารย์ฝั้นมีขนาดเท่ารูปจริง ในท่านั่งห้อยเท้า และถือไม้เท้าไว้ในมือ มีตู้กระจกบรรจุอัฐิ และแสดง เครื่องอัฐบริขารที่ท่านใช้เมื่อยามมีชีวิต รวมทั้งประวัติความเป็นมาตั้งแต่เกิดจนมรณภาพ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระเกจิชื่อดัง แห่งภาคอีสาน กำเนิดในสกุลสุวรรณรงค์ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2442 ที่ตำบลบ้านม่วงไข่ อำเภอพรรณานิคม และได้บรรพชา เป็นสามเณรเมื่ออายุ 19 ปี ณ วัดโพนทอง จนอายุครบ 20 ปี จึงอุปสมบทในพุทธศาสนาฝ่ายมหานิกาย ต่อมาได้ถวายตัวเป็นลูกศิษย์ ติดตามพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
ภาพถ่ายโดยเจหนุ่มสกลคนอิสระ
ความเป็นมาเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
ในคืนวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๐ พระอาจารย์ฝั้น ได้มรณภาพที่วัดป่าอุดมสมพร รวมอายุได้ ๗๘ ปี และหลังจากพระราชทาน เพลิงศพท่านเมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๑ ที่วัดป่าอุดมสมพร ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เป็นที่เรียบร้อย แล้วคณะศิษย์ทั้งฝ่ายบรรพชิตและฆราวาสได้มีการประชุมปรึกษาจะสร้างสิ่งก่อสร้างเป็นเครื่องระลึกถึงพระอาจารย์ฝั้น ผู้เป็นพระ ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ โดยสร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์ตรงบริเวณที่พระราชทานเพลิงศพของท่าน ความเป็นมาในการสร้าง เจดีย์พิพิธภัณฑ์ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโรได้มีพระราชกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ภายหลัง จากการสรงน้ำศพ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโรว่า ในฐานะที่เราเป็นลูกศิษย์ของพระอาจารย์ ขอให้ทุกคนได้สามัคคีกัน อย่าให้เกิดความ แตกแยกและขอให้ ยึดมั่นในคำสอนของท่านไว้ให้มั่นคง ขอให้เก็บอัฐิของท่านพระอาจารย์ไว้แห่งเดียวกัน เครื่องอัฐบริขารของท่าน อาจารย์ ถ้าสามารถ เก็บรวมรักษาไว้เป็นที่เดียวกันก็จะดี
ภาพถ่ายโดยเจหนุ่มสกลคนอิสระ
เป็น​ไงบ้าง​ครับ​ทุกคน​ชอบ​สถานที่​ท่องเที่ยว​ที่​แนะนำในวันนี้ไหมครับ​ ก่อนกลับขอเก็บ​ภาพถ่าย
โดย​รอบๆพิพิธภัณฑ์​อีกรอบครับ
ภาพถ่ายโดยเจหนุ่มสกลคนอิสระ
ขอบคุณ​สำหรับ​กำลังใจ​ที่ดี​ของ​ทุกคน​น่ะครับ​ที่ติดตาม​ผลงาน​ของผมมาโดยตลอด​ หากชื่นชอบ​กดไลค์​กดแชร์​ได้น่ะครับ.. ขอบคุณ​ครับ​
แล้วพบกัน​ใหม่​ในซีรี่ย์​เรื่อง​ใหม่​
เจหนุ่ม​สกล​คน​อิสระ​
อ้างอิง​ข้อมูล​ประวัติ​พระอาจารย์​ฝั้น​ อา​จา​โร
โฆษณา