3 พ.ย. 2020 เวลา 11:40 • ธุรกิจ
สรุป วิธีการแบ่งหุ้นในบริษัท จากซีรีส์เรื่อง START-UP
1
ถ้าเรากับเพื่อน ร่วมก่อตั้งบริษัทแห่งหนึ่งขึ้นมาด้วยกัน
การแบ่งหุ้นในบริษัทให้เราและเพื่อนเท่าๆ กัน ก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
แต่สำหรับธุรกิจ Start-up อาจไม่ได้เป็นแบบนี้เสมอไป
เพราะการแบ่งหุ้นอย่างเท่าเทียมอาจสร้างปัญหาใหญ่ตามมาในภายหลัง
19
ซึ่งเราสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการแบ่งหุ้นในธุรกิจ Start-up ได้ จากตอนที่ 6 ของซีรีส์เรื่อง “START-UP” ที่กำลังเป็นที่นิยมใน Netflix ตอนนี้
ซีรีส์เรื่องนี้สอนเรื่องการแบ่งหุ้นในบริษัทอย่างไรบ้าง
แล้วเรื่องนี้สำคัญกับคนที่กำลังจะสร้างธุรกิจ Start-up อย่างไร?
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง..
2
สำหรับใครที่ยังไม่ได้ดู ต้องขอเตือนก่อนว่า ในบทความนี้อาจมีการเปิดเผยเนื้อหาบางส่วน
4
ซีรีส์เรื่อง START-UP เป็นเรื่องราวของหนุ่มสาวที่กำลังเดินตามความฝัน ในการสร้างธุรกิจ Start-up ให้ประสบความสำเร็จ
ซึ่งตัวละครหลักในเรื่องนี้ ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัท Start-up ที่ชื่อว่า “ซัมซานเทค”
1
โดยที่ ซัมซานเทค เป็น Start-up ที่อาศัยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาพัฒนาเป็นบริการ เช่น การวิเคราะห์ใบหน้า และลายนิ้วมือ
ซึ่ง ซัมซานเทค เริ่มก่อตั้ง และมีผู้พัฒนาโปรแกรมคนสำคัญคือ “นัมโดซาน”
2
และหลังจากนั้น เพื่อนทั้งสองคนของนัมโดซาน ซึ่งก็คือ “คิมยงซาน” และ “อีชอลซาน”
ก็ได้มาร่วมสร้างและพัฒนาบริษัทนี้ด้วยกัน
3
แต่จุดอ่อนของบริษัทนี้อยู่ที่ ผู้ร่วมก่อตั้งทั้งสามคน ล้วนเป็น “นักพัฒนา” หรือ Developer เหมือนกันหมด
ทำให้ ซัมซานเทค ขาดคนที่มีทักษะด้านการบริหาร และไม่มีโมเดลธุรกิจที่ชัดเจน
นอกจากนี้บริษัทยังไม่สามารถโน้มน้าวให้นักลงทุน หรือ VC (ธุรกิจสำหรับการร่วมลงทุน) มาร่วมลงทุนได้
6
ต่อมาซัมซานเทค ก็ได้พบกับ “ซอดัลมี”
ซึ่งเธอคนนี้มีสิ่งที่ทั้งสามผู้ก่อตั้ง ซัมซานเทค ขาดหายไป
นั่นก็คือ ทักษะด้านการบริหารและการวางโมเดลธุรกิจ
3
ซึ่งต่อมา ซอดัลมี คนนี้ ก็ได้กลายมาเป็น CEO ของซัมซานเทค และได้ชักชวน “จองซาฮา” ให้เข้ามาเป็นดีไซเนอร์ของบริษัทอีกหนึ่งคน
5
Cr. K-Star-Holic
กลายเป็นว่า ในตอนนี้ ซัมซานเทค มีคนที่เข้ามามีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัทแล้วทั้งหมด 5 คนด้วยกัน
2
ซึ่งหลังจากนี้ ทั้ง 5 คนก็ต้องเข้าสู่กระบวนการ “การแบ่งหุ้นในบริษัท”
โดยเริ่มแรก พวกเขาแบ่งหุ้นให้เท่าๆ กัน อย่างเท่าเทียม ดังนี้
1
นัมโดซาน ถือหุ้น 19%
ซอดัลมี ถือหุ้น 16%
คิมยงซาน ถือหุ้น 16%
อีชอลซาน ถือหุ้น 16%
จองซาฮา ถือหุ้น 16%
พ่อของนัมโดซาน ซึ่งเป็นผู้ออกทุนให้ในช่วงแรกก็ได้รับหุ้นไป 16%
ญาติของนัมโดซาน ผู้ที่เคยช่วยออกแบบและตัดต่อวิดีโอ ได้รับหุ้น 1%
9
ดูเหมือนว่า การแบ่งหุ้นอย่างยุติธรรมในสัดส่วนที่เท่าๆ กันนี้ จะทำให้ทุกฝ่ายพึงพอใจ และยังช่วยป้องกันไม่ให้ใครยึดบริษัทไปเป็นของตัวเองได้ง่ายๆ
2
แต่อย่าเพิ่งด่วนสรุปไป
เพราะสำหรับธุรกิจ Start-up การแบ่งหุ้นเช่นนี้อาจส่งผลเสียอย่างที่เราคาดไม่ถึง
3
สำหรับ Start-up ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นมาใหม่ๆ
สิ่งสำคัญที่สุด คือ การสร้างความน่าเชื่อถือ และความเชื่อมั่นให้กับผู้ที่จะเข้ามาลงทุน
Cr. workpointTODAY
เนื่องจากธุรกิจ Start-up ส่วนใหญ่จะเติบโตได้ ต้องอาศัยเงินจากนักลงทุน หรือ Venture Capital (VC)
เพื่อให้มีเงินทุนมากพอที่จะนำมาพัฒนาสินค้าและบริการของบริษัท
ดังนั้น การที่ซัมซานเทคแบ่งหุ้นให้เจ้าของแต่ละคนเท่าๆ กัน จะทำให้ผู้ลงทุนมองว่า ผู้นำของบริษัทไม่มีอำนาจที่ชัดเจน และกลายเป็นจุดอ่อนให้กับบริษัทได้
เนื่องจาก “อำนาจ” ในการบริหาร สามารถสะท้อนได้จากจำนวนหุ้นที่ถืออยู่
ยิ่งถือหุ้นอยู่มากเท่าไร อำนาจในการโหวต หรือออกเสียงก็จะมากตามไปด้วย
1
แต่หากผู้ถือหุ้นทุกคน มีสัดส่วนการถือหุ้นใกล้เคียงกัน
ถ้าในอนาคตผู้ถือหุ้นเกิดมีปัญหากันขึ้นมาแล้วตกลงกันไม่ได้
อีกทั้งต่างฝ่ายต่างก็มีเสียงโหวตเท่าๆ กัน
ในบางกรณีอาจจะจบลงด้วยการยุบบริษัทได้
และนั่นหมายความว่า เงินของผู้ที่เข้าลงทุนจะสูญเปล่าทันที
11
ดังนั้น ในซีรีส์เรื่องนี้ จึงได้เสนอทางแก้ โดยให้บริษัทเลือก “Keyman” หรือ ตัวหลัก ขึ้นมา 1 คน โดยคนที่เป็น Keyman จะต้องเป็นบุคคลที่บริษัทขาดไม่ได้ และเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดในบริษัท
10
ซึ่งหลังจากที่เลือก Keyman ได้แล้ว ก็ค่อยรวบรวมหุ้นส่วนใหญ่ไปไว้ที่คนนั้น อย่างน้อย 60% ถึง 90%
ดังนั้นในตอนหลัง ซัมซานเทค จึงได้ปรับสัดส่วนการถือหุ้น ดังนี้
2
Keyman คือ นัมโดซาน ถือหุ้น 64%
1
ซอดัลมี ถือหุ้น 7%
คิมยงซาน ถือหุ้น 7%
อีชอลซาน ถือหุ้น 7%
จองซาฮา ถือหุ้น 7%
พ่อของนัมโดซาน ถือหุ้น 7%
ญาติของนัมโดซาน ถือหุ้น 1%
3
Cr. ผู้จัดการออนไลน์
เหตุผลที่ต้องรวบรวมหุ้นจำนวนมากขนาดนี้ไปไว้ที่คนๆ เดียว
ก็เพื่อป้องกันปัญหาไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่จะมีคนเข้ามาลงทุน
1
เนื่องจากธุรกิจ Start-up จะมีสิ่งที่เรียกว่า “การเปิดรอบระดมทุน”
โดยจะมีตั้งแต่รอบ Pre-Series และ Series A, B, C และรอบต่อไปเรื่อยๆ
ซึ่งในแต่ละรอบ จำนวนเงินลงทุน และผู้ถือหุ้นหน้าใหม่ ก็อาจเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
2
ดังนั้น หาก Keyman ถือหุ้นในสัดส่วนที่ต่ำ หรือน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง
ก็อาจทำให้หลังจากการเปิดรอบระดมทุนไปแล้ว หุ้นส่วนใหญ่จะตกไปอยู่ในมือของนักลงทุนมากกว่า Keyman ได้
1
ซึ่งนี่อาจสร้างปัญหาตามมามากมาย
ทั้งการสูญเสียสิทธิ์ในการบริหาร และความเป็นเจ้าของบริษัท
หรือไม่แน่ว่า บรรดาผู้ถือหุ้นรายเล็กอาจร่วมมือกับนักลงทุนรายอื่น เพื่อทำการยึดบริษัท และปลด Keyman ออกจากตำแหน่งในการบริหาร ก็เป็นไปได้เช่นกัน
4
ที่สำคัญคือ กรณีแบบนี้ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วจริงๆ
เช่น กรณีของ คุณพาเวล ดูรอฟ ผู้ก่อตั้ง และ Keyman ของ VK.com แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียของประเทศรัสเซีย
โดยเริ่มแรกเขาถือหุ้นอยู่ในบริษัทเพียง 20%
2
Cr. The Moscow Times
ต่อมาบริษัทอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ของรัสเซียอย่าง Mail.ru
ได้กว้านซื้อหุ้นของ VK.com จนมีสัดส่วนการถือหุ้นมากกว่าคุณพาเวล ดูรอฟ
และได้ร่วมกับผู้ถือหุ้นรายเล็ก เพื่อบีบเขาออกจากตำแหน่งได้สำเร็จ
1
อีกเรื่องที่น่าสนใจ คือ วิธีการแบ่งหุ้นแบบที่ในซีรีส์เรื่องนี้เสนอไว้นั้นใกล้เคียงกับวิธีการแบ่งหุ้นที่เรียกว่า Dynamic Equity Split หรือ DES
ซึ่งวิธีการแบ่งหุ้นแบบ DES กำลังได้รับความนิยมในบริษัท Start-up มากขึ้น
วิธีการแบ่งหุ้นแบบ DES ไม่แนะนำให้เราแบ่งหุ้นให้ทุกคนเท่าๆ กัน
แต่จะแนะนำให้แบ่งตาม “ผลงาน”
2
โดยผลงานจะประเมินจากหลากหลายปัจจัย เช่น เวลาที่ทุ่มเทให้บริษัท, เงินทุน, ไอเดีย, สำนักงานและอุปกรณ์, เครือข่ายทางธุรกิจ และอื่นๆ
2
อย่างไรก็ตาม สัดส่วนในการถือหุ้นอาจมีการเปลี่ยนได้ในอนาคต
โดยจะขึ้นอยู่กับทักษะและความสามารถในการทำงาน หรือ จำนวนผู้ถือหุ้นที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น
4
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการแบ่งหุ้น ก็คือ ความชัดเจน
ไม่ว่าจะเป็นบริษัทใดๆ ก็ตาม การแบ่งหุ้นต้องระบุชัดเจน เป็นลายลักษณ์อักษร
เพื่อป้องกันความคลุมเครือ และขัดแย้งกัน ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
4
ทั้งหมดที่เราได้สรุปไปในบทความนี้ เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ของซีรีส์เรื่อง START-UP เท่านั้น
สำหรับใครที่กำลังท้อแท้ หรืออยากหามุมมองใหม่ๆ ให้กับตัวเอง
ลองเข้าไปดูเรื่องนี้ใน Netflix ได้เลย
3
รับรองว่า นอกจากจะได้ความบันเทิงครบรสแล้ว
ยังจะได้ทั้งข้อคิดทางธุรกิจ และการใช้ชีวิตกลับมาเพียบเลย
โฆษณา