3 พ.ย. 2020 เวลา 13:35 • ธุรกิจ
กระบะทรายของ Startup ไทย
อยากเริ่มธุรกิจจะหาแหล่งเงินทุนจากไหนได้บ้าง?
โพสต์นี้ขอออกนอกโทนเพจ
ไปคุยเรื่องซีรีส์เกาหลีแปปนึงนะคะ
ซีรีส์เกาหลีที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในช่วงนี้ก็คงหนีไม่พ้น Start-Up เพราะนอกจากจะเล่าเรื่องเกี่ยวกับเทรนด์การทำธุรกิจในยุคนี้อย่างตรงตัวตามชื่อเรื่องแล้ว รายละเอียดต่าง ๆ จากซีรีส์ ไม่ว่าจะเป็นตัวนักแสดง คุณภาพการตัดต่อ ภาพเสียง ไปจนกระทั่งคำพูดเล็ก ๆ น้อย ๆ จากบท ทุกอย่างล้วนถูกหยิบยกมาพูดถึงทั้งสิ้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นเสียงชื่นชมที่พอได้ยินแล้วก็บอกได้เลยว่าไม่เกินจริง
โดยส่วนตัวเราติดตามซีรีส์เรื่องนี้มาตั้งแต่ตอนเห็นทีเซอร์ครั้งแรก เพราะแค่ชื่อเรื่องก็น่าสนใจแล้ว พอขึ้นในลิสต์ Coming Soon ใน Netflix ทางนี้ก็รีบกด Remind Me ไว้ทันที พอได้ดูแล้วก็ไม่ผิดหวังกับการรอคอยจริง ๆ
อย่างที่บอกไปแล้วว่าแทบจะทุกประเด็นในเรื่องที่เพิ่งดำเนินมาได้ไม่ถึงครึ่งทาง กลับมีคนหยิบไปพูดคุยจนเป็นกระแสมากมาย ซึ่งตัวเราเองก็มีประเด็นหนึ่งที่ชอบมาก ๆ จากเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน
4
ฉากใหญ่ในซีรีส์อยู่เขตนวัตกรรมที่ชื่อ Sand Box ซึ่งแปลว่า กระบะทราย แนวคิดของ Sand Box คือการช่วยเหลือคนที่ฝันอยากจะทำธุรกิจ แต่ไม่มีอะไรเลย ไม่ว่าจะเป็นเส้นสาย เงินทุน หรือแม้แต่ทีมที่ดีซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการทำธุรกิจ
4
พอไม่มีสิ่งเหล่านั้นแล้ว ผู้ประกอบการรุ่นเก่า ๆ ก็พบว่าตัวเองต้องทำธุรกิจอย่างล้มลุกคลุกคลานด้วยความเจ็บปวด Sand Box จึงเกิดขึ้นมาเพื่อไม่ให้คนมีฝันอยากจะทำธุรกิจแต่ขาดปัจจัยต่าง ๆ ไม่ให้ต้องล้มอย่างเจ็บปวดจนเกินไป ผู้ประกอบการสามารถเข้ามาเพื่อทดลองทำธุรกิจที่ Sand Box ได้อย่างเต็มที่
1
โดยแรงบันดาลใจมาจากพ่อนางเอกที่บังเอิญได้เล่าให้ ยุนซอนฮัก ผู้ก่อตั้ง Sand Box ฟังว่าได้ทำกระบะทรายไว้ให้ลูกเล่นชิงช้า เพื่อไม่ให้เวลาที่ลูกล้มลงพื้นแล้วเจ็บตัวมากเกินไป แบบนั้นลูกจึงกล้าที่จะเล่นชิงช้ามากขึ้น แถมยังตัดพ้อด้วยว่า ถ้าการทำธุรกิจมีกระบะทรายก็คงจะดี Sand Box จึงเกิดขึ้นภายใต้แนวคิดนี้
2
พอได้เห็นแนวคิดนี้เราเองก็เกิดคิดขึ้นมาเหมือนกันว่า ถ้าประเทศไทยมีแบบนี้บ้างก็คงจะดี ซึ่งในปัจจุบันอาจจะยังไม่มีพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เป็นรูปธรรมอย่าง Silicon Valley ของสหรัฐ หรือ Sand Box ในซีรีส์
แต่ความจริงแล้วไทยก็มีการส่งเสริม Startup จากทั้งเอกชนและภาครัฐ มีแหล่งเงินทุนจาก Angel และ VC ซึ่งโพสต์นี้จะเป็นลิสต์รายชื่อแหล่งทุนสำหรับ Startup ค่ะ
Angel คือกลุ่มเงินทุนส่วนตัวจากนักลงทุนรายย่อยที่มีปริมาณการลงทุนไม่สูงมาก เป็นแหล่งเงินทุนสำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น ตั้งแต่มีเพียงไอเดีย ไปจนกระทั่งเริ่มดำเนินธุรกิจไปบ้างแล้วเล็กน้อย แต่อยากได้เงินลงทุนเพิ่มเพื่อขยายขนาดธุรกิจ
1
Startup ไทยสามารถมองหา Angel ได้ที่ https://www.thaiangelinvestors.com ซึ่งเป็นศูนย์กลางการพบกันระหว่างนักลงทุนและนักธุรกิจ
1
แต่ถ้าหากคุณมองหาสเกลการลงทุนที่ใหญ่กว่านั้น VC คือคำตอบค่ะ
Venture Capital หรือที่เรียกกันว่า VC คือแหล่งเงินทุนที่จะเข้ามาลงทุนตั้งแต่ระดับ Series A ขึ้นไป เป็นช่วงที่ธุรกิจเริ่มมีรายได้เข้ามาแล้ว และต้องการใช้เงินทุนในการปรับปรุงสินค้า บริการ เพื่อต้องการขยายกิจการ ขยายฐานลูกค้าให้กว้างขึ้น หรือการเข้าสู่ตลาดใหม่ ๆ
1
โดยทั่วไป VC จะมีระยะเวลาลงทุนประมาณ 3-5 ปี นานสุดไม่เกิน 10 ปี โดยจะมีการลงเงินเป็นรอบ ๆ ตาม Stage ของธุรกิจ (ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) ซึ่ง VC ในไทยก็ได้แก่
กองทุน 500 TukTuks
กองทุนในเครือ 500 ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งช่วยเหลือและลงทุนใน Tech - Startup
3
True Incube
บริษัทร่วมทุนขององค์กรที่ลงทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลงทุนในช่วงต้นขั้นตอนการเริ่มต้นธุรกิจ B2B ในหลายภาคส่วนรวมถึง Adtech, Agritech/ Foodtech, Big Data, Deep Tech (AI และหุ่นยนต์), การเพิ่มประสิทธิภาพซัพพลายเชน, อีคอมเมิร์ซ B2B / B2C, Fintech, IoT, Medtech เป็นต้น
AIS The StartUp
โครงการส่งเสริมพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจระหว่างบริษัท AIS และธุรกิจสตาร์ทอัพที่สามารถขยายการเติบโตทางธุรกิจ ซึ่งเน้นส่งเสริมธุรกิจ Gaming, VDO and Streaming, Digital Payment, InsurTech, HealthTech, EdTech (อ่านเพิ่มเติม https://thestandard.co/ais-the-startup-monthly-pitching/ )
ในไทยเคยมี VC อยู่หลายเจ้า แต่ล่าสุดที่เช็คดูมีหลายแห่งที่ไม่มีข่าวสารความเคลื่อนไหวมาไม่ต่ำกว่าสองปีแล้ว เลยไม่แน่ใจว่าในปัจจุบันยังมีการลงทุนอยู่หรือไม่ แต่จะแนบลิงก์ไว้ให้เผื่อใครสนใจนะคะ
1
แหล่งทุนจากภาครัฐ
DELTA — Angel Fund for Startup
สนับสนุนธุรกิจที่ส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นต้นว่าระบบอัตโนมัติอุตสาหกรรม การจัดการพลังงาน หรือนวัตกรรมใหม่ ๆ
Start-up & Innovation
โครงการประกันสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการ SMEs (Small and Medium Enterprises) รวมไปถึง Startup ที่ไม่มีหลักทรัพย์ หรือมีหลักทรัพย์ค้ำประกันไม่เพียงพอในการขอสินเชื่อจากธนาคาร เพื่อให้ได้วงเงินสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นตามความต้องการ (ข้อมูลจากบสย.)
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)
ให้การสนับสนุนทั้ง SME และ Startup เชิงนวัตกรรม โดยจะได้รับการสนับสนุนส่วนแรกในรูปแบบเงินให้เปล่า หรือที่เรียกว่า Grants ให้แก่ 9 กลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งผู้สนับสนุนคือสำนักงานนวัตกรรม (NIA) ส่วนที่ 2 คือ Startup Voucher เงินสนับสนุนการต่อยอดด้านการตลาด หน่วยงานที่สนับสนุนคือ สวทช. และในส่วนที่ 3 การแปลงเทคโนโลยีเป็นทุน พัฒนาธุรกิจให้มีนวัตกรรมลอกเลียนแบบยาก
ลิสต์รายชื่อทั้งหมดมาจากบทความใน Medium ตามลิงก์ข้างล่าง ซึ่งเราเอามาตรวจสอบ อัพเดต และเพิ่มเติมข้อมูลอีกทีค่ะ ต้องขอขอบคุณต้นฉบับด้วยนะค้า
แชร์โพสต์นี้ทางเฟสบุ๊คได้ที่
โฆษณา