3 พ.ย. 2020 เวลา 16:22 • การศึกษา
"นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร" มีสถานะเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ. การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 และที่แก้ไขเพิ่มเติมปี พ.ศ. 2558 ("พ.ร.บ. การจัดสรรที่ดิน") และมี "กรรมการหมู่บ้านจัดสรร" เป็นผู้แทนของนิติบุคคลหมู่บ้านฯ ในการดำเนินกิจการของหมู่บ้าน รวมถึงการติดต่อกับบุคคลภายนอก ซึ่งจะคล้ายกับกรณีของกรรมการในบริษัทนั่นเอง
1
- หน้าที่ของนิติบุคคลหมู่บ้านฯ -
2
มาตรา 48 ของ พ.ร.บ. การจัดสรรที่ดิน ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของนิติบุคคลหมู่บ้านฯ ไว้ดังนี้
1. กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในสาธารณูปโภค การอยู่อาศัย และการจราจรของหมู่บ้าน ซึ่งส่วนใหญ่จะระบุไว้ในข้อบังคับของหมู่บ้าน
2. เรียกเก็บเงินค่าบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค
3. เป็นโจทก์ในการฟ้องคดีแทนสมาชิกในหมู่บ้านกรณีมีเหตุที่ทำให้กระทบสิทธิของสมาชิกในหมู่บ้านตั้งแต่ 10 รายขึ้นไป
4. จัดให้มีบริการสาธารณะเพื่อเป็นสวัสดิการกับสมาชิกในหมู่บ้าน หรือจัดสรรเงินหรือทรัพย์สินเพื่อสาธารณประโยชน์ภายในหมู่บ้าน
5. ดำเนินการอื่นใดให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
ทั้งนี้ นิติบุคคลหมู่บ้านฯ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากมติที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกในหมู่บ้านก่อนการดำเนินการตามข้อ 1,2,5
note: ข้อบังคับของหมู่บ้านจะกำหนดหน้าที่ของนิติบุคคลหมู่บ้านฯ ไว้มากกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ก็ได้ ตราบใดที่ไม่ขัดกับกฎหมาย
- หากนิติบุคคลหมู่บ้านฯ ทำหน้าที่เกินจากที่กฎหมายกำหนดหรือขัดกับข้อบังคับของหมู่บ้านล่ะ -
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหมู่บ้านจัดสรร (พ.ร.บ. การจัดสรรที่ดิน) ไม่ได้ระบุไว้เป็นการเฉพาะว่าสมาชิกในบ้านมีสิทธิอย่างไร หรือควรปฏิบัติอย่างไรเพื่อเอาผิดกับนิติบุคคลหมู่บ้านฯ หากนิติบุคคลหมู่บ้านฯ ทำหน้าที่เกินจากที่กฎหมายกำหนดหรือขัดกับข้อบังคับและทำให้เกิดความเสียหายต่อสมาชิกในหมู่บ้าน
แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีทางออกเลย เพราะสมาชิกในหมู่บ้านก็อาจทำการฟ้องนิติบุคคลหมู่บ้านฯ และกรรมการหมู่บ้านฯ เป็นคดีแพ่งต่อศาลที่มีเขตอำนาจ ในข้อหาละเมิด ตามประมวลแพ่งและพาณิชย์ เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายได้
1
BY LAW IS IN THE AIR เพราะกฎหมายใกล้ตัวกว่าที่คิด
ฝากกดติดตาม กดไลค์ กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้เขียนด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ
โฆษณา