5 พ.ย. 2020 เวลา 03:30 • ธุรกิจ
กรณีศึกษา Mo-Mo-Paradise ร้านบุฟเฟต์ชาบูญี่ปุ่นที่มีแต่คนรัก
ตอนนี้ ถ้าใครไถฟีดในโซเชียล อาจจะต้องเห็นคอนเทนต์ ชี้เป้าไอศกรีมโมโม ทานได้ไม่อั้น หรือแม้แต่ วิธีผสมน้ำจิ้มสูตรลับ
2
จริงๆ แล้ว “โมโม” หรือ Mo-Mo-Paradise คือร้านบุฟเฟต์ชาบูจากประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งเรื่องความอร่อยของอาหาร คงไม่ต้องพูดถึงมาก
เพราะหลายคนน่าจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี จนหันไปรีวิวด้านอื่นเพื่อความแปลกใหม่แทน
1
แล้วเคยสงสัยกันหรือไม่คะว่า
Mo-Mo-Paradise จากญี่ปุ่น เข้ามาสู่ประเทศไทยได้อย่างไร?
ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟังค่ะ
6
Mo-Mo-Paradise ถือกำเนิดที่ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2536
โดยสาขาแรกอยู่ที่ คาบูกิโช-ชินจูกุ กรุงโตเกียว
สำหรับประเทศไทย ผู้ที่นำแฟรนไชส์ร้านนี้เข้ามาเปิด คือคุณสุรเวช เตลาน
จะว่าไปแล้ว กว่าจะเจรจาขอซื้อแฟรนไชส์เข้ามาได้ ก็ถือว่าไม่ง่าย
ตอนนั้นคุณสุรเวช ได้มีโอกาสไปทาน Mo-Mo-Paradise ที่ประเทศญี่ปุ่น
แล้วติดใจในรสชาติ จึงอยากนำมาเปิดสาขาในไทย
แต่เจ้าของแบรนด์ไม่เคยขายแฟรนไชส์ให้กับคนแปลกหน้ามาก่อน
ปกติจะขายแฟรนไชส์ให้กับเครือญาติของตัวเองเท่านั้น
2
ดังนั้นคุณสุรเวช จึงต้องแสดงความพยายามและความตั้งใจ ให้เจ้าของแบรนด์เห็น
ซึ่งต้องใช้เวลาถึง 9 เดือน กว่าจะเอาชนะใจได้
หลังจากนั้น Mo-Mo-Paradise ก็ได้เปิดตัวสาขาแรกในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2550
1
ผ่านการดำเนินธุรกิจมานานถึง 13 ปี
ปัจจุบันมีสาขารวมแล้วทั้งหมด 19 สาขา
ตามเป้าหมายการขยายสาขาคือ ขยายปีละ 2 สาขา
เปิดมานานขนาดนี้ Mo-Mo-Paradise จะขายดีขนาดไหน?
ผลประกอบการ บริษัท โนเบิล เรสเตอท์รองต์ จำกัด
เจ้าของแฟรนไชส์ Mo-Mo-Paradise ในประเทศไทย
2
ปี 2560 รายได้ 400 ล้านบาท กำไร 10 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้ 530 ล้านบาท กำไร 26 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 764 ล้านบาท กำไร 50 ล้านบาท
1
ซึ่งนับวัน เราก็คงเห็นแล้วว่า Mo-Mo-Paradise ยิ่งมีฐานลูกค้าเหนียวแน่นมากขึ้น
ซึ่งเรื่องนี้ ส่วนหนึ่งก็มาจากมุมมองการทำธุรกิจของ คุณสุรเวช
ที่ยึดมั่นใน “คุณภาพ” อย่างเสมอต้นเสมอปลาย
1
และ “คุณภาพ” นี้ ก็ยังเป็นหัวใจของ Mo-Mo-Paradise
“ด้านคุณภาพอาหาร”
คุณสุรเวช ไม่เคยลดต้นทุนวัตถุดิบ มีแต่จะเพิ่มสิ่งดีๆ ให้ลูกค้า
เช่น เนื้อวัว จากเดิมใช้เนื้อวัวธรรมดา ก็เพิ่มเป็นเนื้อโคขุนออสเตรเลีย
หรือเนื้อหมูที่เคยใช้แบบธรรมดา ก็เปลี่ยนเป็นหมูคุโรบูตะ
ซึ่งแม้ว่าจะทำให้ราคาสูงขึ้น แต่ก็ทำให้รสชาติอาหารอร่อยขึ้นเช่นกัน
2
ที่น่าสนใจคือ แม้ว่าต้นทุนจะสูงขึ้น แต่ตลอด 13 ปีที่ผ่านมา
ทางร้านปรับราคาเพียงครั้งเดียว ซึ่งคิดเป็นประมาณ 10%
ซึ่งวิธีแก้ปัญหาของคุณสุรเวช คือ การบริหารจัดการต้นทุนวัตถุดิบ
แทนการผลักภาระไปให้ฝั่งลูกค้า
1
เช่น ปวยเล้ง มีราคาสูง ถ้าจัดเก็บไม่ดี จะทำให้ปลายของผักเหี่ยว
ทางร้านจึงเกิดความคิดที่จะตัดผักชนิดนี้ออกจากเมนูดีหรือไม่
สุดท้ายตัดสินใจไม่เอาออก เพราะลูกค้าชอบ
แต่ทางร้านได้หันมาเน้นเรื่องการทำระบบและบริหารจัดการ
เพื่อควบคุมการสูญเสีย และได้ของที่มีคุณภาพขึ้น
“ด้านคุณภาพการบริการ”
คุณสุรเวช ยังให้ความสำคัญกับเรื่องการบริการ
โดยเขามักบอกกับทีมงานเสมอว่า ร้านอาหารไม่ได้ขายอาหารอย่างเดียว แต่เราขายการบริการด้วย
ลูกค้าจ่ายเงินเท่าไร เราต้องบริการให้ดีที่สุด ให้เกินความคาดหมายของเขา
2
“ด้านคุณภาพทำเล”
ถ้าสังเกตดูดีๆ จะพบว่า Mo-Mo-Paradise
จะเน้นการขยายสาขาภายในห้างสรรพสินค้าเป็นหลัก
เพราะคุณสุรเวช มองว่า ในห้างฯ สามารถรองรับที่จอดรถของลูกค้าได้
เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า
 
และยังมีการคำนึงถึงความพร้อมของทีมงานเป็นหลัก
โดยจะต้องสร้างคนที่เป็นตัวแทนผู้บริหารให้ได้ก่อน ถึงกล้าที่จะตัดสินใจขยายสาขา
สรุปแล้ว หลักสำคัญในการดำเนินธุรกิจของ คุณสุรเวช ก็จำง่ายๆ ค่ะ
คุณภาพอาหาร คุณภาพการบริการ และ คุณภาพทำเล เท่านี้เอง
1
ซึ่งล่าสุด นอกจากเนื้อและสุกี้ชาบู ที่เป็นเมนูหลักของร้าน
ความอร่อยของเมนูอื่น ก็ยังกลายเป็นที่เลื่องลือไม่แพ้กัน
เริ่มต้นจากกระแสไอศกรีม ซึ่งเป็นเมนูของหวาน
ก็เกิดเป็นกระแสในโซเชียลมีเดีย จนทำให้ร้านถูกขนานนามว่า
“ร้านโมโม พาราไดซ์ ไม่ได้มีดีแค่ชาบู”
3
หรือเมนูไข่ดอง DIY ที่ทางร้านคิดค้นขึ้น
ทำให้คนที่ไปทานอาหารที่ร้าน สนุกไปกับการปรุงไข่ดองของตัวเอง
เรียกได้ว่า เป็นกิมมิกการตลาด ที่น่าสนใจทีเดียว
และด้วยคุณภาพ และการใส่ใจในรายละเอียดที่แม้จะเล็กน้อยนี้เอง
ทำให้เราหลงรัก Mo-Mo-Paradise มากขึ้นเรื่อยๆ..
References:
-กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
โฆษณา