5 พ.ย. 2020 เวลา 14:01 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
กำเนิด "เลขศูนย์" และ "เลขติดลบ" บนซีกโลกตะวันออก
หลายๆ ท่านคงคาดว่า...จุดเริ่มต้นของความก้าวหน้าทางด้านวิชาความรู้นั้น มาจากหลายๆ ชาติทางทวีปที่เรียกตัวเองว่า "ซีกโลกฝั่งตะวันตก" เช่น กรีก อิตาลี อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา หรือหลายๆ อารยธรรมทางเขตละตินอเมริกา เช่น อินคา มายา
และโยนบาปทวีปทางฝั่ง "ซีกโลกตะวันออก" ให้เป็นทวีปที่ล้าหลังและถูกฝรั่งดูหมิ่นดูแคลน เวลาไปต่างประเทศ คนเอเชียอย่างจีนหรืออินเดีย มักจะเป็นเหยื่ออารมณ์รายแรกๆ ที่จะถูกเหยียดเชื่อชาติจากคนที่คิดว่าตัวเองนั้นอยู่ในสังคมที่มีอารยะ!!!!!
แต่พวกเค้าอาจจะไม่รู้ว่า แท้จริงแล้ว เทคโนโลยีหลายๆ อย่าง จุดเริ่มต้นก็มาจากอารยธรรมของจีนและอินเดีย เข็มทิศนำทางพร้อมกับดินปืนที่ใช้เป็นอาวุธ ที่ชาวยุโรปใช้ครองอำนาจในยุคจักรวรรดินิยม (ยุคที่มีการล่าอาณานิคม) อุตสาหกรรมกระดาษและการพิมพ์ที่ล้ำหน้าชาวยุโรปไปไกล รวมทั้งเลขฮินดูอารบิก ทั้งหมดเป็นมรดกที่สำคัญมากๆ ของโลกที่มาจากอารยธรรมของจีนและอารยธรรมอินเดีย
ตัวเลขที่ใช้ในทางคณิตศาสตร์ "จำนวนเต็ม" เป็นจำนวนที่มนุษย์รู้จักเป็นอันดับแรกๆ
จำนวนชนิดนี้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ "จำนวนนับ" เช่น 1,2,3,4,5,6,... ซึ่งเป็นจำนวนที่เป็นรูปธรรม มองเห็นภาพได้ง่ายๆ และเกิดมาพร้อมๆ กับการเกิดของภาษาและตัวอักษร มันเลยเรียกได้อีกอย่างว่า "จำนวนธรรมชาติ (Natural Number)"
3
ส่วนอีกสองกลุ่มที่เหลือ เป็นตัวเลขที่ใช้อธิบายสิ่งที่ค่อนข้างเป็นนามธรรม "เลขศูนย์" เป็นจำนวนเต็มตัวหนึ่งที่ใช้แทน "การไม่มีอะไรเลย" "ความว่างเปล่า" และ "ไร้ตัวตน" ตัวเลขสมัยก่อนหากค่าในหลักใดหลักหนึ่งหายไป (ไม่มีค่าประจำหลัก) มันก็ยังสามารถเขียนเป็นตัวเลขได้ เช่น เลขโรมันหรือเลขบาบิโลนที่ใช้การ "เว้นวรรค" แทน
ความจริงแล้วเลขศูนย์เริ่มมีการใช้ในชนเผ่ามายาในประเทศเม็กซิโก หน้าตาของมันก็จะมีลักษณะเป็นเปลือกหอย แต่ด้วยความห่างไกลความเจริญจากทางฝั่งยุโรป เลขศูนย์ของชนเผ่ามายา จึงไม่ได้ถูกเผยแพร่ให้ชาวโลกได้เป็นที่รู้จัก
ตัวเลขของชนเผ่ามายา และ "เลขศูนย์" ที่มีรูปคล้ายเปลือกหอย
สุดท้ายเลขศูนย์ก็ได้มีตัวตนกับเขาบ้างสักที เมื่อมีหลักฐานการค้นพบเลขศูนย์ที่เขียนในลักษณะกลมๆ บนแผ่นเปลือกไม้ที่มีอายุเก่าแก่มากๆ ที่ประเทศอินเดีย!!! เลขศูนย์ตัวนี้แหละที่ถูกบรรจุอยู่ในระบบเลขฮินดูอารบิกจนได้รับความนิยมไปทั่วโลก!!!
ผนวกกับการสร้างกฎต่างๆ ของเลขศูนย์ของนักคณิตศาสตร์ชาวอินเดียที่มีชื่อว่า "พรหมคุปต์ (Brahmagupta)" เช่นการบวกลบกันระหว่างจำนวนใดๆ กับศูนย์ย่อมได้ผลลัพธ์เป็นเลขจำนวนเดิม หรือตัวเลขใดๆ ที่คูณกับเลขศูนย์ย่อมได้เลขศูนย์เสมอ ล้วนเป็นผลงานทางคณิตศาสตร์ที่มาจากดินแดนภราตะแทบทั้งสิ้น
ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านที่มีแผ่นดินกว้างใหญ่ไพศาลอย่าง "ประเทศจีน" ก็ได้ถือกำเนิดจำนวนเต็มอีกหนึ่งกลุ่มใหญ่ขึ้นมา เป็นตัวเลขที่มีค่าน้อยกว่าศูนย์เสียอีก!!!! และหนำซ้ำตัวเลขกลุ่มนี้ เกิดขึ้นก่อนการเกิดเลขศูนย์อีกครับ
"เลขติดลบ" หรือ "จำนวนเต็มลบ" เป็นตัวเลขที่ใครหลายๆ ท่านไม่อยากเจอในบัญชีธนาคารหรอก แต่ถ้าคนที่เล่นกอล์ฟจะรู้ดีว่า "แต้มที่ติดลบ" มากเท่าไหร่ กลับพาให้คนนั้นๆ ใกล้ถึงถ้วยแชมป์มากยิ่งขึ้น แท้จริงแล้วเลขพวกนี้มันมาจากประเทศจีน!!!
จำนวนเต็มลบเดิมทีแล้วถูกเขียนอยู่ในรูปตัวเลขแท่งไม้ โดยจะใช้ "สี" ในการกำหนดค่าของมัน โดยใช้สีแดงแทนจำนวนเต็มบวกหรือจำนวนนับ และใช้สีดำแทนจำนวนเต็มลบ
ระบบเลขแท่งไม้ของจีน และรูปแบบของจำนวนนับและเลขติดลบ
ประเทศจีนขึ้นชื่อเรื่องของการทำมาค้าขายและการบัญชี เลขแท่งไม้จึงมีประโยชน์มากๆ เพื่อแสดงว่าธุรกิจของเรานั้น อยู่สถานะ "กำไร" หรือ "ขาดทุน" จึงไม่แปลกใจที่เลขติดลบมีที่มาจากแผ่นดินมังกร
แล้วพรหมคุปต์ก็ได้นิยามจำนวนเต็มลบ จากการนำจำนวนเต็มบวกมาลบออกด้วยศูนย์ เช่น 0 - 3 = -3 แบบนี้ ทำให้จำนวนติดลบเริ่มเห็นตัวตนได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ประกอบกับการสร้างสมบัติต่างๆ ในการคำนวณเลขติดลบ เช่นการนำจำนวนเต็มลบมาคูณกันเอง แต่กลับมีผลลัพธ์เป็นจำนวนเต็มบวก (ลบเจอลบเป็นบวก) ก็เป็นผลผลิตที่ได้จากการดำเนินการทางคณิตศาสตร์ของชาวอินเดียด้วยนะครับ
ปัจจุบันทั้ง "เลขศูนย์" และ "เลขติดลบ" เป็นตัวเลขที่เราเห็นบ่อยมากๆ รอบตัวเรา จงพึงระลึกไว้เสมอว่า... เทคโนโลยีบางอย่างที่เกิดขึ้นมาบนโลก เราจะให้เครดิตเฉพาะฝรั่งทางฝั่งซีกโลกตะวันตกไม่ได้ หากไม่มีเลขศูนย์ของคนอินเดีย และเลขติดลบของคนจีน มันอาจจะทำให้โลกของเราตกอยู่ในความโกลาหลมากเลยนะ
ถ้าไม่เชื่อ!!! ลองคิดดูเล่นๆ ว่า ถ้าวันรุ่งขึ้นธนบัตรราคา 1000 บาทในกระเป๋าเรา เลขศูนย์ได้หายไปทั้งหมด ข้าวกะเพราไก่จานโปรดสักมื้อคงอดได้กินทั้งชีวิตแหงๆ 55555
หากอยากรู้เรื่องเกี่ยวกับ "ศูนย์และจำนวนติดลบ" สามารถดูคลิปนี้เพิ่มเติม
"ศูนย์คูณกับอะไรก็ได้ศูนย์" ใครบอกกก??? | ศูนย์และจำนวนเต็มลบ partเดียวจบ
ตามไปติดตามสาระดีๆ ทางคณิตศาสตร์ได้ที่ facebook และ youtube นะครับ
โฆษณา