6 พ.ย. 2020 เวลา 06:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
TELEHEALTH บริการทางการแพทย์แบบ VIRTUAL ที่บูมในช่วงวิกฤติ COVID-19
การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาที่ระบาดไปทั่วโลก ส่งผลให้บริการการแพทย์ทางไกล หรือ Telehealth ถูกยกระดับขึ้น ซึ่งทางผู้เชี่ยวชาญประเมินว่า ความก้าวหน้าด้านอุตสาหกรรมทางการแพทย์ จะมีการใช้บริการ Telehealth มากขึ้น แม้ว่าสถานการณ์ Covid-19 ในอนาคต จะบรรเทาลงแล้วก็ตาม โดย Arielle Trzcinski นักวิเคราะห์อาวุโสของ Forrester กล่าวว่า การระบาดของไวรัสโคโรนาไวรัส ทำให้มีผู้ติดเชื้อทั่วโลกประมาณ 3 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตแล้วเกือบ 200,000 คน โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาที่มีผู้ติดเชื้อ Covid-19 สูงที่สุดในโลก (มากกว่า 50,00 คน) ได้เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้บริการด้าน Healthcare ไปอย่างสิ้นเชิง อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะเป็นวิกฤติที่เกิดขึ้นทั่วโลก กระทบการใช้ชีวิตและการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่จากวิกฤติโรคระบาดครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้น เป็นการยกระดับการดูแลผู้ป่วย ที่สำคัญคือเพิ่มทางเลือกการรักษาทางการแพทย์ จากการรักษาเฉพาะแบบ Physical เท่านั้น
รูปแบบการให้บริการ Telehealth
รูปแบบการให้บริการ Telehealth เป็นการดูแลผู้ป่วยผ่าน Video ทั้งการให้บริการทั่วไป, Teleradiology และการตรวจผู้ป่วยทางไกล ซึ่งการใช้งานในปัจจุบันทาง Forrester รายงานข้อมูลว่าการใช้บริการ Telehealth ผ่านแอพฯ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนมกราคาที่ผ่านมา U.S. healthcare organizations ใช้บริการนี้เพิ่มขึ้นแค่ 24% แต่ในช่วงไม่กี่เดือนหลังจากนั้น การระบาดของโรค Covid-19 ทำให้คนหันมาใช้บริการ Telehealth กันมากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการเดินทาง ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสโคโรนาได้ ด้วยสถานการณ์ที่เกิดขึ้น บริษัทที่ประกอบธุรกิจด้าน Telehealth เห็นความต้องการตลาดที่เพิ่มขึ้น เป็นโอกาสการเติบโตของธุรกิจบริการทางการแพทย์ในรูปแบบ Virtual ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดย Daniel Ruppar กรรมการที่ปรึกษาของ Frost & Sullivan กล่าวว่า ยอดการเข้าใช้แพลตฟอร์มของบริษัทใน 1 เดือนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เทียบเท่า Traffic ใน 1 ปีเลยทีเดียว
สำหรับบริการแพทย์ทางไกล Amwell เป็นผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์ telehealth ที่มีผู้เข้าถึงเพิ่มขึ้น 2,000% จากความต้องการของผู้บริโภค นั่นทำให้บริษัทต้องพัฒนาซอฟท์แวร์แข่งขันกับการใช้งานของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการใช้งานในช่วงนี้ Mike Baird ประธานฝ่ายโซลูชั่นลูกค้า Amwell กล่าวว่า โดยปกติเราใช้เวลา 2-4 เดือนในการปรับปรุงซอฟท์แวร์เพื่อสุขภาพ แต่ปัจจุบันเราต้องพัฒนาให้เร็วยิ่งขึ้น โดยการฝัง Electronic Health Record Systems (EHR) ให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการปรับตัวการใช้งานเทคโนโลยี เป็นประสบการณ์ทั้งในฝั่งผู้บริโภคและอุตสาหกรรม แม้ว่า Telehealth จะให้บริการมาสักระยะแล้ว แต่ทาง IDC รายงานว่าผู้ป่วยที่เพิ่งเคยใช้งานเป็นครั้งแรก ประมาณ 83.9% ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
“Telehealth เติบโตอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับแพลตฟอร์มอื่น ๆ เช่น Zoom ที่โตอย่างรวดเร็วในช่วงวิกฤติ Covid-19” Ruppar กล่าว อย่างไรก็ตามแม้ว่าธุรกิจแพลตฟอร์มการประชุมทางไกลอย่าง Zoom จะเติบโตอย่างรวดเร็วก็จริง แต่ยังมีความเสี่ยงในด้านความปลอดภัยของการใช้งาน โดยเฉพาะข้อมูลลับของบริษัทที่อาจจะรั่วไหลระหว่างการใช้งาน ซึ่งทาง Zoom กำลังดำเนินการแก้ไข เพื่อปิดจุดเสี่ยงด้านข้อมูลของผู้ใช้งาน
ความต้องการใช้งาน Telehealth ในอนาคต
ทาง Forrester ได้ประเมินแนวโน้มการใช้งาน Telehealth ในอนาคตว่า การใช้บริการทางการแพทย์รูปแบบใหม่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยประเมินการเข้าถึงบริการผ่านแอพฯ ประมาณ 1,000 ล้านครั้งในปีนี้ ซึ่งในอนาคตแม้ว่าเราจะมีวัคซีน ป้องกัน Covid-19 ได้อย่างเด็ดขาด แต่ความสะดวกของการใช้บริการ Telehealth จะทำให้รูปแบบการบริการด้าน Healthcare เปลี่ยนไป
“พฤติกรรมการใช้บริการทางการแพทย์ที่เปลี่ยนไปนี้ มองว่าไม่ใช่จะเกิดเฉพาะวิกฤติ Covid-19 แต่จะเปลี่ยนความเปลี่ยนแปลงในระยะยาว” Ruppar กล่าว Lynne Dunbrack ประธานฝ่ายวิจัย IDC’s Health Insights Division ขยายความเพิ่มเติมว่า ในขณะเดียวกันหากผู้ป่วยคุ้นเคยกับเทคโนโลยี Telehealth มากขึ้น โอกาสที่บริการนี้จะถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายก็จะเพิ่มขึ้นด้วย ไม่เฉพาะในวิกฤตด้านโรคร้ายแรงเท่านั้น
“เชื่อว่าหลังสถานการณ์การระบาด Covid-19 ดีขึ้น จะมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่ใช้บริการ Telehealth เพื่อติดตามผลทางการแพทย์ หรือการวินิจฉัยโรค” Dunbrack กล่าวย้ำ ด้าน Baird กล่าวไปในทางสอดคล้องกันว่า การใช้บริการ Telehealth นอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ป่วยในการติดต่อโรงพยาบาลแล้ว ความนิยมการใช้บริการแบบ Virtual จะช่วยให้ผู้คนเข้าถึงการดูแลสุขภาพมากขึ้น ทำให้การดูแลสุขภาพไม่ผูกยึดกับทางใดทางหนึ่งเฉพาะ เป็นการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี
การกำกับดูแล Telehealth จะเปลี่ยนไปเช่นกัน…
และนอกจากความเปลี่ยนแปลงในด้านพฤติกรรมผู้บริโภคและอุตสาหกรรมการแพทย์แล้ว ในแง่กฎหมายหรือการกำกับดูแลโดยภาครัฐก็จะเปลี่ยนไปเช่นกัน ตามที่ทาง Centers for Medicare & Medicaid Services (CMS) ระบุว่า การใช้ระบบ Telehealth จะมีผลกับการนัดผู้ป่วย การขยายเวลาการจ่ายเงินประกัน
ตลอดจนความเป็นส่วนตัวของ Health Insurance Portability and Accountability Act of 1996 (HIPAA) ซึ่งเป็นกฎหมายสำหรับอำนวยความสะดวกให้แก่แรงงานชาวสหรัฐอเมริกาในการต่ออายุความคุ้มครองประกันสุขภาพของตนเองได้แม้จะเปลี่ยนงานหรือตกงาน ให้ถูกใช้งานผ่านโปรแกรมออนไลน์ เช่น FaceTime (Apple) ,Skype (Microsoft) ทำให้ผู้บริโภคใช้บริการได้สะดวกมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามสำหรับผู้บริโภคที่มีประกันสุขภาพ ทาง Ruppar ระบุว่า สำหรับผู้ที่มีกรมธรรม์สุขภาพของบริษัทประกันรายใหญ่ แน่นอนว่าบริการ Telehealth นี้สามารถใช้งานได้เช่นกัน
สำหรับความกังวลในด้านการกำกับดูแลในบางมาตราของกฎหมาย HIPAA อาจจะถูกปรับปรุง ขอย้ำว่าการใช้บริการ Telehealth จะไม่เปลี่ยนไปอย่างแน่นอน ทางรัฐบาลสหรัฐฯเอง ก็เห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้ จึงได้ปรับลดความซ้ำซ้อนทางกฎหมายการดูแลสุขภาพ ยกเว้นการให้บริการ Telehealth ที่พยายามเอื้อประโยชน์ให้ผู้ป่วยมากที่สุด ซึ่งสุดท้ายก็หวังว่าทางสภาฯ จะให้ความสำคัญกับบริการทางการแพทย์ Telehealth และปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในอนาคต
ติดตามช่องทางสำหรับรับข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติม ได้ที่
Youtube: Interloop Solutions & Consultancy
โฆษณา